ปิดดีล ‘FTA ไทย–ศรีลังกา’ เตรียมลงนามเดือน ก.พ.

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยผลการเจรจา FTA ไทย–ศรีลังกา รอบที่ 9 ประสบความสำเร็จ สามารถปิดดีลได้ตามเป้า ทั้งการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เดินหน้าชง ครม. เคาะลงนามความตกลง ช่วงต้นเดือน ก.พ.67 นับเป็น FTA ฉบับที่ 15 ของไทย และยังเป็นความสำเร็จตามนโยบาย Quick Win ของพาณิชย์ ระบุสินค้า บริการ การลงทุนไทย ได้ประโยชน์เพียบ

28 ธ.ค. 2566 – น.ส.โชติมา เอี่ยมสวัสดิกุล อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการประชุมเจรจา FTA ไทย-ศรีลังกา รอบที่ 9 ระหว่างวันที่ 18-20 ธ.ค.2566 ที่ผ่านมา ณ กรุงโคลัมโบ โดยมีนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในฐานะที่ปรึกษาหัวหน้าคณะเจรจา FTA นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ว่า ที่ประชุมสามารถสรุปผลการเจรจา FTA ไทย-ศรีลังกา ได้ตามเป้าหมาย โดยครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และหลังจากนี้ แต่ละฝ่ายจะดำเนินกระบวนการภายใน เพื่อนำไปสู่การลงนามความตกลงฯ ต่อไป

ทั้งนี้ ในส่วนของไทย กระทรวงพาณิชย์จะนำเสนอผลการเจรจาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบให้มีการลงนามความตกลงฯ ในช่วงการเดินทางเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ตามคำเชิญของประธานาธิบดีศรีลังกาในช่วงต้นเดือน ก.พ.2567

“การสรุปผลการเจรจาครั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จของกระทรวงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นหนึ่งในนโยบาย Quick Win ที่ต้องทำให้สำเร็จภายใน 99 วันเเรกของรัฐบาล โดยเป็น FTA ฉบับแรกของรัฐบาลชุดนี้ และนับเป็น FTA ฉบับที่ 15 ของไทย”น.ส.โชติมากล่าว

น.ส.โชติมา กล่าวว่า แม้ศรีลังกาจะเป็นประเทศขนาดเล็ก มีประชากรเพียง 22 ล้านคน แต่มีจุดเด่นด้านที่ตั้ง ซึ่งเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย โดยเป็นจุดยุทธศาสตร์ของการขนส่งทางเรือ และมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เช่น แร่รัตนชาติ แร่แกรไฟต์ และสัตว์ทะเล โดยสินค้าไทยที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ยานยนต์  สิ่งทอ อัญมณี โลหะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็ก กระดาษ ถุงมือยาง อาหารปรุงแต่ง อาหารสัตว์ เมล็ดข้าวโพด ภาคบริการที่ได้รับประโยชน์ เช่น การเงิน ประกันภัย คอมพิวเตอร์ ก่อสร้าง ท่องเที่ยว และวิจัยและพัฒนา และด้านการลงทุนที่ได้รับประโยชน์ ได้แก่ สาขาการผลิตอาหารแปรรูป การผลิตรถยนต์และส่วนประกอบ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์การแพทย์

ในช่วง 10 เดือนของปี 2566 (ม.ค.-ต.ค.) การค้าระหว่างไทยและศรีลังกา มีมูลค่า 320.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกไปศรีลังกา มูลค่า 213.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้าจากศรีลังกา มูลค่า 106.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ยางพารา ผ้าผืน อัญมณีและเครื่องประดับ เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และสินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เครื่องเพชรพลอยและอัญมณี เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช และเคมีภัณฑ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขอนแก่นเริ่มคึกคัก เสื้อลายดอกขายดีรับสงกรานต์ แม่ค้าสต๊อกแน่น

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศซื้อขายเสื้อลายดอกในเขตเทศบาลนครขอนแก่น โดยเฉพาะที่ร้านขายเสื้อลายดอก ถ.กัลปพฤกษ์

หนุนภาครัฐ-เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในศรีลังกา

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ย้ำ “ประเทศไทยเปิดแล้ว” พร้อมรับการลงทุน เดินหน้า ส่งเสริมศักยภ

‘เศรษฐา’ ปลื้มผลสำเร็จเยือนศรีลังกา เตรียมดันเอกชน-ปตท. ลงทุนพลังงานสะอาดข้ามชาติ

รัฐบาลนี้ได้ลงนามเป็นครั้งแรก ต้องขอบคุณกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศที่ทำงานหนักในทุกมิติ  และการเดินทางเยือนศรีลังกา

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลง สนับสนุนใช้ประโยชน์จาก FTA ไทย-ศรีลังกาอย่างเต็มที่

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถ้อยแถลงในงาน Sri Lanka – Thailand Business Networking โดยมีนายรานิล วิกรมสิงเห ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา เข้าร่วมงานด้วย

นายกฯ เข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ พร้อมประชุมเต็มคณะ ความร่วมมือไทย-ศรีลังกา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ จากนั้นในเวลา 15.15 น. นายกรัฐมนตรีพบหารือแบบ Four Eyes กับนายรานิล วิกรมสิงเห (H.E. Mr. Ranil Wickremesinghe) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

‘ภูมิธรรม’ เตรียมลงนาม FTA ไทย – ศรีลังกา หลังปิดดีล FTA ฉบับ 15 สำเร็จ

‘ภูมิธรรม’ เตรียมเดินทางลงนาม FTA ไทย - ศรีลังกา ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา 3 – 4 ก.พ.นี้ หลังปิดดีล FTA ฉบับที่ 15 ของไทย พร้อมจัดทัพผู้ประกอบการไทยกว่า 20 ราย นำ 7 สินค้า 4 บริการศักยภาพ โชว์ในงาน Sri Lanka – Thailand Business Networking เชื่อจะช่วยดันการค้าสองฝ่ายขยายตัว ปักหมุดฐานการลงทุนเชื่อมไทยสู่เอเชียใต้ ตะวันออกลาง และยุโรป ชี้! เป็น FTA ทวิภาคีฉบับแรกของรัฐบาลชุดนี้