กฟผ.ลั่นโครงการปลูกป่าล้านไร่ ปลูกจริง ! พร้อมรับการตรวจสอบจากทั้งหน่วยงานภายในและภายนอก หากพบข้อร้องเรียนสั่งสอบทันที


20 ก.พ. 2567 – นายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน ในฐานะรองโฆษกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึง โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วมเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2565 ร่วมกับพันธมิตรและประชาชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเป็นการปลูกป่าในพื้นที่ของกรมป่าไม้และกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ด้วยการปลูกฟื้นฟูสภาพป่า (200 ต้นต่อไร่) เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตอบสนองนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศ โดยในช่วงปี 2565 – 2566 สามารถดำเนินการปลูกป่าและบำรุงรักษาป่าคิดเป็นพื้นที่กว่า 188,692 ไร่ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมปลูกป่าแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการทำสัญญาจ้างปลูกและบำรุงรักษาป่าโดยตรงกับประชาชนในพื้นที่ เสริมสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม เกิดความหวงแหนป่า และสร้างเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนในพื้นที่

“กฟผ. ยึดมั่นและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม โปร่งใสตลอดมาโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกมิติ รวมถึงพร้อมรับการตรวจสอบจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก สำหรับเรื่องที่มีผู้ร้องเรียนเข้ามา กฟผ. มิได้นิ่งนอนใจ โดยมีการตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงและอยู่ระหว่างกระบวนการสอบหาข้อเท็จจริงอย่างเร่งด่วน”นายชัยวุฒิ กล่าว

สำหรับการคัดเลือกประชาชนในพื้นที่มาเป็นผู้รับจ้างปลูกและบำรุงรักษาป่าในโครงการนี้ดำเนินการผ่านการทำประชาคมหมู่บ้าน และกรมที่เป็นเจ้าของพื้นที่จะออกหนังสือรับรองความเชี่ยวชาญในการปลูกและบำรุงรักษาป่าของผู้รับจ้าง กฟผ. จึงจะลงนามสัญญาจ้างบุคคลดังกล่าวได้ จากนั้นผู้รับจ้างก็ดำเนินการปลูกและบำรุงรักษาป่าตามรายละเอียดที่กำหนดในเงื่อนไขงานจ้าง ส่วนการลงพื้นที่ตรวจรับงานปลูกและบำรุงรักษาป่าจะต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลพิกัดพื้นที่และเอกสารประกอบการตรวจรับงานจ้าง พร้อมประสานนัดหมายผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งการลงพื้นที่เพื่อตรวจรับงานทุกครั้งต้องประกอบด้วย 3 ฝ่าย ร่วมกันลงพื้นที่ ดังนี้ 1.  หน่วยงานกรมเจ้าของพื้นที่ (เจ้าหน้าที่ประจำแปลงซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากอธิบดีกรมฯ ที่เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่) 2.  ผู้รับจ้าง (คู่สัญญา) ซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่ และ 3.  ผู้แทน กฟผ. (กรรมการตรวจรับ และทีมสนับสนุนการตรวจรับ)

โดยการตรวจรับงานเป็นการสุ่มตรวจในพื้นที่ดำเนินการปลูกหรือบำรุงรักษาป่าทุกแปลงจำนวนไม่น้อยกว่า 1% ของพื้นที่ พร้อมสุ่มตรวจอัตราการรอดตายของต้นไม้ต้องไม่น้อยกว่า 85% ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของทั้ง 3 ฝ่าย และสอดคล้องกับแนวทางการตรวจแปลงสำรวจและเก็บข้อมูลโครงการประเภทป่าไม้ในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) ซึ่งการเบิกจ่ายค่าจ้างปลูกและบำรุงรักษาป่าจะจ่ายตามผลงานที่เกิดขึ้นจริงโดยจ่ายตรงกับประชาชนที่เป็นคู่สัญญากับกฟผ. แต่หากพื้นที่ใดไม่มีการปลูกป่าจริงก็จะถูกยกเลิกสัญญา 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เขื่อนอุบลรัตน์ประกาศเฝ้าระวังระดับน้ำ

กฟผ. เฝ้าระวังระดับน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล โดยชะลอการระบายน้ำตามมติคณะกรรมการลุ่มน้ำชี ในขณะที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมบริหารจัดการตามแผนฉุกเฉินเมื่อระดับน้ำเข้าสู่ภาวะวิกฤตเพื่อความปลอดภัยของประชาขน ย้ำเตือนติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

กฟผ. เปิดบ้านพลังงานสีเขียวรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

กฟผ. เปิดบ้านพลังงานสีเขียว โชว์ศักยภาพการใช้งานครบวงจร ตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้ไฟฟ้าที่หลากหลาย รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงาน สะอาด

กฟผ.ประกาศปิดประตูยืดหนี้หวั่นสะเทือนกระแสเงินสด

“กฟผ.” ลั่นไม่ยืดหนี้ คงจ่ายคืนงวดสุดท้าย เม.ย. 68 ยันมีภาระต้องดูแล หวั่นกระทบสภาพคล่อง-เรตติ้ง ทำดอกเบี้ยลงทุนแพง ส่งผลค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค. อยู่ที่ 4.45 บาท/หน่วย

กฟผ. รับมือภัยแล้งน้อย ปรับแผนการกักเก็บและระบายน้ำ

กฟผ. ร่วมพันธมิตร บริหารจัดการน้ำและโรงไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เฝ้าระวังเขื่อนที่เสี่ยงน้ำน้อย ปรับแผนการกักเก็บและระบายน้ำ พร้อมเตรียมปริมาณสำรองเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค รับสภาวะเอลนีโญ

กฟผ. เปิดตัวเครื่องอัดประจุไฟฟ้า DC Fast Charger สัญชาติไทย

อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส บริษัทในกลุ่ม กฟผ. เปิดใช้งานเครื่องอัดประจุไฟฟ้า DC Fast Charger สัญชาติไทยที่ผลิตและรับรองมาตรฐานโดยคนไทยรายแรกที่โรงไฟฟ้าวังน้อย ภายใต้สถานี EleX by EGAT มุ่งเสริมศักยภาพการแข่งขันของผู้ผลิต DC Fast Charger ภายในประเทศ พร้อมสร้างความมั่นใจ และประหยัดเวลาในการเดินทางให้แก่ผู้ใช้ EV