วางเป้าส่งออก 'อาหารไทย' ทุบสถิติ 1.2 ล้านล้านบาท ในปี 2565

สถาบันอาหารดันเป้าส่งออก อาหารไทย ปีนี้ทุบสถิติ 1.2 ล้านล. หวังปัจจัยเศรษฐกิจฟื้นช่วยหนุน เผยปี 64 ส่งออกโต 11.5%

25 ม.ค. 2565 นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่าสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้บูรณาการข้อมูลประเมินแนวโน้มการส่งออกสินค้า อาหารไทย ปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่า 1,200,000 ล้านบาท ขยายตัว 8.4% ซึ่งหากเป็นไปตามคาดจะเป็นสถิติส่งออกสูงสุดครั้งใหม่ (นิว ไฮ) ของการส่งออกอาหาร

โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจหลังจากประชากรโลกได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครอบคลุมมากขึ้น ความอันตรายของโรคลดต่ำลง ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งร้านอาหารและโรงแรมค่อยๆ ฟื้นตัวหลังความกังวลโควิด-19 เริ่มลดลง ประเทศต่างๆ มีมาตรการผ่อนคลายมากขึ้น และเงินบาทอ่อนค่าส่งผลดีความสามารถการแข่งขันด้านราคา โดยเฉพาะอาหารเป็นสินค้าที่พึ่งพิงปัจจัยการผลิตในประเทศเป็นหลักจะได้รับประโยชน์

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามเรื่องราคาวัตถุดิบภาคเกษตร บรรจุภัณฑ์ น้ำมัน เพิ่มสูงขึ้นมาก กระทบต่อต้นทุนการผลิตและขนส่งของภาคอุตสาหกรรมอาหาร การขาดแคลนแรงงาน กระทบต่อการเพิ่มผลผลิตและรับคำสั่งซื้อ และกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางและระดับล่าง อ่อนตัวลงจากภาวะเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจะมีบทบาทมากที่สุดในการกดดันภาคอุตสาหกรรมอาหาร เนื่องจากจะบั่นทอนกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยตรง

นางอนงค์ กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับปี 2564 การส่งออกสินค้าอาหารของไทยมีมูลค่า 34,890 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 11.5% คิดเป็นมูลค่าในรูปเงินบาท 1,107,450 ล้านบาท ขยายตัว 11.8% เป็นการเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ โดยไทยยังคงเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารอันดับที่ 13 ของโลก ด้วยส่วนแบ่งตลาดโลกที่ 2.3% ลดลงจากปีก่อน 2.32%

เนื่องจากความกังวลโควิด-19 คลายตัวลง ประเทศคู่ค้าผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลทำให้สินค้าส่งออกที่มีตลาดในกลุ่มธุรกิจบริการร้านอาหารและโรงแรมปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับได้รับปัจจัยบวกจากเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลดีต่อกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารที่เน้นผลิตเพื่อการส่งออก

“ตลาดส่งออกอาหารของไทยปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับที่ 1 ของไทย มีสัดส่วนส่งออก 24.5% มูลค่าการส่งออก 271,674 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อน 50% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจากการส่งออกผลไม้สดและแป้งมันสำปะหลังเป็นหลัก รองลงมา ได้แก่ ซีแอลเอ็มวี(กัมพูชา ลาว เมียนมาและเวียดนาม) เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 2 ในสัดส่วน 12.4% และญี่ปุ่น อันดับ 3 ในสัดส่วน 11.5% อีกทั้งการส่งออกอาหารไปประเทศอินเดียยังขยายตัวสูงถึง 219.7% จากการส่งออกน้ำมันปาล์มเป็นหลัก ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐ แอฟริกา โอเชียเนีย และสหราชอาณาจักรลดลงจากสินค้าทูน่ากระป๋องและข้าวเป็นสำคัญ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘คลัง’ อัดฉีดสินเชื่ออุ้มยางพาราชี้ ปี 66 ส่งออกโตพุ่งไม่ต่ำ 5%

“คลัง” เข็นอัดฉีดสินเชื่อ 2,000 ล้านบาท อุ้มอุตสาหกรรมยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ หวังช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ด้านเอกชนลุ้นปี 2566 ส่งออกยางพาราโตแจ่ม 5% ชูตลาดตะวันออกกลางมาแรง

ศูนย์วิจัยกสิกร ชี้ส่งออกติดลบงานหินรัฐบาลใหม่ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า  การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกกดดันส่งออกไทยหดตัวมากขึ้นที่ -7.6% (YoY) ในเดือน เม.ย.66 โดยระยะข้างหน้าทิศทางการค้าระหว่างประเทศของไทยจะเป็นอีกโจทย์สำคัญในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ 

ส่งออก เม.ย. 66 ลด 7.6% ลบต่อเนื่อง 7 เดือนติดต่อกัน

ส่งออก เม.ย. 66 ลด 7.6% ลบต่อเนื่อง 7 เดือนติดต่อกัน เหตุเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เผยสินค้าอุตสาหกรรมลด 11.2% สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่ม 8.2% รวมยอด 4 เดือนลบ 5.2% คาดเดือนต่อไปยังลด เหตุคู่ค้าสต๊อกสูง แต่จะเริ่มดีขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง ชี้เศรษฐกิจโลก เงินเฟ้อสูง ปัญหาสถาบันการเงิน ยังเป็นตัวกดดัน เผยตลาดจีน เริ่มดีขึ้น ภัยแล้งหนุนส่งออกสินค้าเกษตร มั่นใจทั้งปีโตได้ 1

นายกฯ ปลื้ม 'ทุเรียนไทย' ฮอตต่อเนื่องในจีน ลุยส่งออกผ่านรถไฟจีน-ลาว

นายกฯ ยินดี “ทุเรียนไทย” ได้รับความนิยมต่อเนื่องในจีน หน่วยงานภาครัฐ – เอกชน นำเสนอทุเรียนไทย 5 สายพันธุ์ พร้อมส่งเสริมการส่งออกผ่านทางรถไฟจีน - ลาว คงคุณภาพทุเรียนไทย

โอกาส ความท้าทาย และแนวทางปรับตัวของไทย หลังสหรัฐฯ-จีนเปิดศึกแยกห่วงโซ่อุปทาน

สนค. เผยผลระดมสมองผลการแยกห่วงโซ่อุปทานหลังเกิดความขัดแย้งสหรัฐฯ กับจีน ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ พบไทยมีทั้งโอกาสและความท้าทาย