
‘คลัง’ กางผลงานแจกเงิน 10,000 บาท เฟส1 ฟุ้งกระจายทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เม็ดเงินลงจังหวัดยากจนเต็มพิกัด แจง 82% คนใช้เงินเกลี้ยงภายใน 3 เดือน ร้านค้าชุมชน-ร้านค้าขนาดเล็กรับอานิสงส์ทั่วถึง โวช่วยลดเหลื่อมล้ำเร็วขึ้นถึง 3 ปี
10 ก.พ. 2568 – นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.การคลัง เปิดเผยถึงผลโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 หรือเงินหมื่น เฟส 1 จากการประมวลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ว่า เม็ดเงินจากโครงการสามารถกระจายถูกฝาถูกตัว โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ได้รับเงินสูง คือ จังหวัดยากจน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวต่ำ (GPP per Capita) ส่วนภูมิภาคที่รับเงินมาก อยู่ในภาคเหนือ ภาคอีสาน และกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งทำให้ภูมิภาคเหล่านี้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมากที่สุด
นอกจากนี้ จากข้อมูลพบว่า เม็ดเงินในโครงการได้กระจายทั่วถึงทุกพื้นที่ ครอบคลุมครบทุกตำบลทั่วประเทศไทย ไม่มีตำบลใดเลยที่ไม่ได้รับเงิน ขณะเดียวกันเม็ดเงินยังพุ่งสู่ร้านค้าขนาดเล็ก ร้านในชุมชนเป็นหลัก โดยสัดส่วนสูงถึง 68% นำเงินไปใช้จ่ายในร้านค้าชุมชน/ร้านขายของชำ ร้านหาบเร่แผงลอยทั่วไป/ร้านค้าในตลาด ส่วนอีก 30% นำไปใช้จ่ายในร้านสะดวกซื้อและ Modern Trade และที่เหลืออีกราว 2% ใช้จ่ายในร้านอื่น ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าการเกษตร ร้านออนไลน์ เป็นต้น
ทั้งนี้ พบอีกว่าประชาชนส่วนใหญ่ หรือราว 82% ใช้เงินหมดภายใน 3 เดือน ขณะที่มีประชาชนราว 21% ใช้เงินหมดภายใน 1 เดือน และประชาชนอีกราว 61% ใช้เงินหมดภายใน 1-3 เดือน
สำหรับตัวชี้วัดเศรษฐกิจนั้น มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก สะท้อนจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 56.9 ในไตรมาสที่ 4/2567 สูงขึ้นกว่าไตรมาสที่ 3/2567 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.5 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่น MSMEs ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 53.0 ในไตรมาสที่ 4/2567 จากระดับ 49.6 ในไตรมาสที่ 3/2567 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภูมิภาคปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค การท่องเที่ยว การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (หักนำเข้า หักเงินเฟ้อ) และรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น
“ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเพิ่มขึ้นในไตรมาสที่ 4/2567 โดยเฉพาะในเดือน ต.ค. 2567 ที่เงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจเต็มเดือน” รมช.การคลัง ระบุ
อย่างไรก็ดี จากการศึกษาดัชนี GINI (ซึ่งใช้วัดความเหลื่อมล้ำ หากลดลงแปลว่ามีความเท่าเทียมเพิ่มขึ้น) ของกระทรวงการคลัง พบว่า ช่วยลดระดับดัชนี GINI ได้ 0.01 จุด ทั้งดัชนี GINI ด้านรายได้ และดัชนี GINI ด้านรายจ่าย สะท้อนว่า เม็ดเงินจากโครงการฯ สามารถลดระดับความเหลื่อมล้ำลงได้ และหากเปรียบกับกรณีที่ไม่มีโครงการนี้ การที่ดัชนี GINI ลดลงได้ 0.01 จุดดังกล่าว มักใช้เวลานานถึง 3 ปี อ้างอิงตามแนวโน้มการพัฒนาการเศรษฐกิจในอดีต ดังนั้นโครงการนี้ช่วยร่นระยะเวลาลดความเหลื่อมล้ำประเทศเร็วขึ้น 3 ปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วันนอร์' แนะดูข้อมูลรอบด้านทั้ง 'อุดมการณ์-ความเป็นจริง' ก่อนผุดกาสิโน
'วันนอร์' ไม่ได้หนุนหรือเชียร์ ให้ทำ Entertainment Complex อยากให้คิดรอบด้าน มองความเป็นจริง ปฏิเสธไม่ได้ประเทศไทยมีบ่อนทุกจังหวัด ลั่นคนไทยชอบเสี่ยง
บิ๊กไทยสร้างไทย ชี้สหรัฐฯคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทย สัญญาณอันตรายต่อเศรษฐกิจและการทูตไทย
นายเทพฤทธิ์ สีน้ำเงิน รองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการดังกล่าว โดยระบุว่า รัฐบาลไทยอาจไม่ต