ธ.ก.ส. ลุยตรวจสุขภาพหนี้เกษตรกรแก้ปัญหาภาระหนี้สินครัวเรือน

ธ.ก.ส. เร่งช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ราคาผลผลิตตกต่ำ ภัยธรรมชาติ โดยมอบนโยบายให้สาขาเข้าพบลูกค้าทุกรายเพื่อสอบถามข้อมูลการประกอบอาชีพและรายได้ พร้อมกำหนดแนวทางบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของลูกค้าแต่ละราย ควบคู่การเติมสินเชื่อใหม่ ในการฟื้นฟูอาชีพอย่างยั่งยืน

11 ก.พ. 2565 นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน ซึ่ง ธ.ก.ส. ในฐานะธนาคารของรัฐ พร้อมช่วยเหลือลูกค้าเงินกู้ ทั้งเกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาผลผลิตการเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ราคาผลผลิตตกต่ำ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือมีรายได้ไม่สอดคล้องกับแผนการชำระหนี้เดิม
เพื่อกำหนดกระบวนการการบริหารจัดการหนี้อย่างยั่งยืน เริ่มจากการมอบนโยบายให้พนักงานในพื้นที่ไปพบลูกค้าทุกราย โดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวน 4.83 ล้านราย เพื่อสอบถามข้อมูลการประกอบอาชีพ ที่มาของรายได้มาประเมิน โดยวิเคราะห์ศักยภาพสมรรถนะและความสามารถในการประกอบอาชีพ ความสามารถในการชำระหนี้

จากนั้นจัดกลุ่มลูกหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนด โดยแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่มตามศักยภาพ เช่น กลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูง กลุ่มศักยภาพปานกลาง กลุ่มมีเหตุผิดปกติ เป็นต้น เพื่อทำการบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การปรับตารางกำหนดการชำระหนี้ใหม่ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้และการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามศักยภาพของลูกหนี้ การเติมสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูอาชีพ รวมถึงพิจารณาช่วยเหลือลูกค้าที่มีหนี้สินเป็นภาระหนัก เนื่องจากรายได้ครัวเรือนลดลงหรือไม่ได้มีรายได้เพียงพอเพราะเหตุผิดปกติ เช่น เสียชีวิต เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เป็นต้น เพื่อพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเป็นรายกรณีต่อไป

นอกจากบรรเทาความเดือดร้อนและลดความกังวลในเรื่องภาระหนี้สินแล้ว ธ.ก.ส. ยังเสริมสภาพคล่องในการลงทุนและการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ผ่านโครงการชำระดีมีคืน วงเงินงบประมาณ 1,200 ล้านบาท ให้กับลูกค้าที่นำเงินมาชำระหนี้ โดยจะทำการคืนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากลูกค้าโดยตรง ร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ไม่เกินรายละ 1,000 บาท ล่าสุดมีการคืนดอกเบี้ยไปแล้วกว่า 622 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 850,000 ราย และโครงการนาทีทองลดดอกเบี้ยสู้โควิด โดยจะลดดอกเบี้ยที่ค้างชำระรวมถึงเบี้ยปรับสูงสุด ไม่เกินร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ระยะเวลาตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มีนาคม 2565 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินที่กำหนด โดยมีการช่วยเหลือไปแล้วกว่า 1,110 ล้านบาท

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ธ.ก.ส. หนุนธุรกิจชุมชน อัดฉีดสินเชื่อดอกเบี้ยถูกวงเงิน 50,000 ล้านบาท

ธ.ก.ส. จัดสินเชื่อโครงการธุรกิจชุมชนสร้างไทย ระยะที่ 2 ตามนโยบายรัฐบาล หนุนผู้ประกอบการเป็นหัวขบวนขับเคลื่อนธุรกิจชุมชน และสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ในชุมชน สู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน อัดฉีดวงเงิน 5 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปีใน 3 ปีแรก โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3.50 ต่อปี สามารถติดต่อขอรับสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568

ธ.ก.ส.ปักหมุดเติมทุน 3 หมื่นล้านอัดสินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร

“ธ.ก.ส.” ปักหมุดเติมทุน 30,000 ล้านบาท ผ่านสินเชื่อ SME เสิรมแกร่ง เคาะดอกเบี้ย 4% หนุนเอสเอ็มอีเกษตรดำเนินธุรกิจภายใต้หลัก BCG โมเดล

เตรียมเงินเลย 'ธ.ก.ส.' เปิดรับฝากสลาก 3 หมื่นล้าน

ธ.ก.ส. เปิดรับฝากสลากผ่านแอปพลิเคชัน A-Mobile Plus หน่วยละ 50 บาท วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ฝากครบ 2 ปี ได้รับดอกเบี้ยหน่วยละ 0.07 บาท พร้อมลุ้นรางวัลที่ 1 สูงสุด 5 ล้านบาท และรางวัลอื่น ๆ รวมกว่า 16 ล้านบาทต่อเดือน พร้อมยกเว้นภาษีดอกเบี้ยสำหรับบุคคลธรรมดา ดีเดย์เปิดรับฝาก 17 พ.ย.65

รอซื้อได้เลย 'ธ.ก.ส.' จ่อขายสลากออมทรัพย์ 2.2 หมื่นล.

“ธ.ก.ส.” เปิดรับฝากสลากออมทรัพย์ ชุดเกษตรกรมั่งคั่ง 7 ช่วงที่ 2 หน่วยละ 100 บาท วงเงินรวม 2.2 หมื่นล้านบาท ชูลุ้นรางวัลที่ 1 สูงสุด 10 ล้านบาท ฝากครบ 3 ปีรับดอกเบี้ยหน่วยละ 0.18 บาท เคาะเปิดขาย 2 ช่วง ลูกค้าเกษตร 19-21 ก.ย. ส่วนลูกค้าทั่วไป 22 ก.ย. 2565

ธ.ก.ส.โชว์โอนเงินประกันภัยข้าว-ข้าวโพดยอด 1.5 พันล้าน ช่วยเกษตรกร 1.1 แสนราย

‘ธ.ก.ส.’ เดินเครื่องโอนเงินค่าสินไหมทดแทนให้เกษตรกรในโครงการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 กว่า 1.5 พันล้านบาท ช่วยบรรเทาความเสียหายและลดความเสี่ยงด้านการผลิตแก่เกษตรกรกว่า 1.1 แสนราย พื้นที่การเกษตร 1.2 ล้านไร่