สภาพัฒน์จ่อถกคลัง-แบงก์ชาติหามาตรการแก้ปม ‘หนี้ครัวเรือน’

“สภาพัฒน์” จ่อถกคลัง-แบงก์ชาติ งัดมาตรการดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือน ระบุไม่ใช่พักหนี้ หวั่นลูกหนี้เสียวินัยทางการเงิน ด้าน “คลัง” ระบุยังไม่น่าเป็นห่วง เหตุส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อประกอบอาชีพ สร้างความมั่งคั่ง พร้อมโวเศรษฐกิจ 64 โตแกร่งกว่าคาดการณ์ อานิสงส์บริโภค-ลงทุนฟื้นตัว ชมเปาะรัฐบาใช้เงินกู้อย่างเป็นประโยชน์ หนุนทุกส่วนฟื้นตัว

21 ก.พ. 2565 – นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ฯ เปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง เพราะมีผลต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งสภาพัฒน์เตรียมจะหารือกับกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่ออกมาตรการดูแลให้เหมาะสมที่สุด แต่คงไม่ใช่มาตรการพักหนี้ เพราะกังวลว่าจะทำให้ลูกหนี้เสียวินัยทางการเงิน

ทั้งนี้ มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนจะต้องพุ่งเป้าหมายไปให้ตรงกลุ่ม ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ โดยต้องดูข้อมูลให้ชัดเจนเสียก่อน

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนไทยในปัจจุบันยังไม่อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เพราะส่วนใหญ่เป็นการกู้มาเพื่อประกอบอาชีพ เป็นหนี้ที่สะสมความมั่งคั่ง ซื้อสินทรัพย์ ประกอบอาชีพให้รายได้เพิ่ม ขณะที่หนี้เพื่อการบริโภคนั้นยังมีจำนวนไม่มากนัก

“สภาพัฒน์คงเป็นห่วงว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ จะทำอย่างไรให้คนที่มีหนี้ มีรายได้เพียงพอเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและชำระหนี้ได้ เพื่อไม่ให้เกิดเป็นดินพอกหางหมู โดยคาดว่าสภาพัฒน์คงจะเข้ามาหารือกับกระทรวงการคลังในประเด็นนี้” นายพรชัย กล่าว

อย่างไรก็ดี ในไตรมาส 3/2564 สัดส่วนหนี้จีดีพีของประเทศไทย อยู่ที่ 14.34 ล้านล้านบาท ขยายตัว 4.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ไม่มีนัยยะสำคัญอะไร เนื่องจากเป็นการเติบโตจากฐานต่ำ โดยในจำนวนนี้คิดเป็นหนี้ครัวเรือนเพื่อสะสมทรัพย์สิน และประกอบอาชีพมากว่า 65% ขณะที่หนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2.8-2.9% ต่อจีดีพี โดยแบ่งเป็นหนี้ครัวเรือนที่เกิดจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ อยู่ที่ 34.5%, หนี้ที่เกิดจากการซื้อรถยนต์-รถจักรยานยนต์ 12.4%, หนี้ที่ก่อเพื่อการประกอบอาชีพโดยตรง เกือบ 20%

โดยในจำนวนนี้คิดเป็นหนี้ครัวเรือนเพื่อสะสมทรัพย์สิน และประกอบอาชีพมากกว่า 65% ขณะที่หนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2.8-2.9% ต่อจีดีพี

สำหรับภาพรวมการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2564 ที่ขยายตัวได้ 1.9% นั้น และทั้งปี 2564 จีดีพีขยายตัว 1.6% สูงกว่าคาดการณ์ที่ 1.2% นั้น สะท้อนความสามารถในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของรับบาลได้อย่างชัดเจน มีทั้งแผนการดำเนินงานด้านการป้องกัน และรักษา รวมถึงการใช้เงินกู้ให้เกิดประโยชน์ในการดูแลทุกส่วน ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4/2564 การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน ขณะที่การลงทุนภาครัฐก็ขยายตัวได้มากกว่าคาดการณ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีขึ้น! 'กสิกรไทย' ชี้ครัวเรือนไทยกังวลค่าใช้จ่ายและราคาสินค้าลดลง

ดัชนี KR-ECI เดือนก.พ. 66 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันครัวเรือนไทยมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและราคาสินค้าลดลง

ปปช.โชว์บัญชีทรัพย์สิน 9 อดีต ส.ส. บางรายเหลือเงินติดบัญชี 10,036 บาท

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เผยแพร่บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายราย โดยมีกรณี ส.ส.พ้นตำแหน่ง ได้แก่

อู้ฟู่ 'ปปช.' เปิดเซฟ 2 พี่น้องตระกูล 'สงฆ์ประชา' หลังพ้นตำแหน่ง ส.ส.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เผยแพร่บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่ง

รู้ยัง! ผู้กู้ยืม 'กยศ.' สามารถแจ้งขอลดการหักเงินเหลือ 100 บาทต่อเดือนได้

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนมา

รองโฆษก อสส. แนะเป็นหนี้อย่าคิดสั้น อัยการมีวิธีหาทางออกให้

รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “เป็นหนี้…อย่าคิดสั้น  หนี้เงินไม่ใช่หนี้ชีวิต ไม่ต้องเอาชีวิตไปใช้หนี้ใคร..?”