สปสช. จัด 858 สถานพยาบาลในกทม.รองรับผู้ถือบัตรทอง 9 รพ.เอกชน

10ต.ค.2565- พญ.ลลิตยา กองคำ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า วันที่10 ต.ค.65 เป็นวันแรกที่ สปสช.ได้เริ่มเปิดให้ผู้ใช้สิทธิ์บัตรทองในพื้นที่ กทม. จำนวน 2.3 แสนรายที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกสัญญาระหว่าง สปสช.กับโรงพยาบาลเอกชน 9 แห่งเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการหรือสถานพยาบาลประจำแห่งใหม่ได้ ประชาชนผู้ใช้สิทธิ์สามารถใช้เวลาตรวจสอบและเลือกเฟ้นหาหน่วยบริการที่ถูกใจได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องรีบร้อนลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำ เพราะ สปสช.ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และสภาเภสัชกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมหน่วยบริการปฐมภูมิใน กทม. ไว้อย่างเพียงพอ

ล่าสุดขณะนี้มีหน่วยบริการปฐมภูมิที่พร้อมร้องรับดูแลผู้มีสิทธิบัตรทองที่ได้รับผลกระทบแล้วจำนวน 858 แห่ง แยกเป็นประเภทหน่วยบริการศูนย์บริการสาธารณสุข (ศบส.) 69 แห่ง คลินิกชุมชนอบอุ่น 214 แห่ง ร้านยา 526 แห่ง และคลินิกเวชกรรม 49 แห่ง เพื่อให้ประชาชนได้เลือกหน่วยบริการที่ต้องการเข้ารับบริการเองตามความสะดวกของท่านเอง โดยหน่วยบริการปฐมภูมิทั้งหมดจะมีแม่ข่ายส่งต่อเข้ารับการรักษาในกรณีที่เจ็บป่วยรุนแรงหรือเป็นโรคซับซ้อน

โดยเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการได้ในวันนี้ (10 ต.ค. 65) เป็นวันแรก ซึ่งสามารถเลือกผ่าน 4 ช่องทาง ดังนี้ 1.สายด่วน สปสช. 1330 กด 6 2.ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. 3.ไลน์ สปสช. พิมพ์ไลน์ไอดี @nhso หรือคลิก https://lin.ee/zzn3pU6เลือกเมนู เปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง 4.แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนูลงทะเบียนเปลี่ยนหน่วยบริการ

อย่างไรก็ตาม ผู้มีสิทธิ์บัตรทองในกลุ่มดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องรีบลงทะเบียน ในระหว่างที่ยังไม่ได้เลือกหน่วยบริการ สปสช.ให้สิทธิเป็น VIP กล่าวคือสามารถไปรับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ในระบบ สปสช.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ สั่ง 'สปสช.-สปส.' ร่วมยกระดับหลักประกันสุขภาพ

นายกฯ สั่งการเดินหน้าบูรณาการการทำงาน สปสช.- สปส. ร่วมมือการทำงาน เริ่ม 1 เม.ย.2567 ยกระดับหลักประกันสุขภาพตรวจสุขภาพเพิ่มเติมตามกลุ่มช่วงอายุ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

สปสช.ยังค้างจ่ายเงินโรงเรียนแพทย์ร่วม 1,000 ล้านบาท แจงยิบติดค้างรพ.ละเท่าไหร่

รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ประธานคณะกรรมการอำนวยการเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) กล่าวถึงกรณี รองเลขาฯ สปสช.ชี้แจงค้างจ่ายเงินโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ที่ไม่สามารถเรียกเก็บได้ รวม 369 ล้านบาท ว่าเกิดจากการเรียกเก็บค่าชดเชย ที่ติดรหัส C และติดรหัส DENY นั้น ไม่ครบถ้วน