กต.สหรัฐฯ หนุน 'ธรรมศาสตร์' เป็นศูนย์กลางอาเซียน ยกระดับความปลอดภัยทางไซเบอร์

“ธรรมศาสตร์” เดินหน้าเปิดศูนย์อบรมด้าน “Cybersecurity” เสริมองค์ความรู้ให้หน่วยงานดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ “ไฟฟ้า-พลังงาน-อื่นๆ” ของประเทศ หลัง ก.ต่างประเทศสหรัฐฯ-PNNL สนับสนุนเป็นศูนย์กลางของไทยและอาเซียน

20 มิ.ย.2565 - รศ.ดร.จิรพล สังข์โพธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกออนไลน์กลายเป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตและการทำงานของทุกคน รวมถึงทุกองค์กร และนั่นจึงทำให้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) กลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในเวลานี้ เพื่อที่จะปกป้องอุปกรณ์ ข้อมูล ตลอดจนทรัพย์สินทางดิจิทัลต่างๆ ซึ่งล้วนมีโอกาสเสี่ยงในการตกเป็นเป้าของการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากยิ่งขึ้น

รศ.ดร.จิรพล กล่าวว่า ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ ล่าสุด มธ. ได้รับความไว้วางในการเป็นศูนย์กลางด้าน Cybersecurity สำหรับระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ (Critical Infrastructure) ของประเทศไทย และในประเทศประชาคมอาเซียน (ASEAN) ด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (US Department of State) ผ่านห้องปฏิบัติการแห่งชาติแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ หรือ Pacific Northwest National Laboratory (PNNL)

สำหรับเป้าหมายสำคัญของศูนย์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางความรู้ การให้คำปรึกษา และการอบรมให้แก่บุคลากรของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เช่น ระบบไฟฟ้า พลังงาน หรือระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ ของประเทศไทย และประเทศในอาเซียน โดยได้มีการทำพิธีเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 พร้อมผู้บริหารของ มธ. และ PNNL เข้าร่วม

ในส่วนของความร่วมมือนี้ ทางธรรมศาสตร์จะดำเนินการใน 3 เรื่องได้แก่ 1. สร้างทักษะด้าน grid cybersecurity ให้กับคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2. ดำเนินการจัดอบรม Pilot training ให้กับหน่วยงานที่ดูแลระบบไฟฟ้าของประเทศใน ASEAN และ 3. ดำเนินการพัฒนา business plan เพื่อให้ศูนย์ดังกล่าวเป็นศูนย์ที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ในอนาคต

รศ.ดร.จิรพล กล่าวว่า การดำเนินงานที่ผ่านมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดการอบรม Thammasat-PNNL Cybersecurity Workshop ไปแล้ว ในช่วงระหว่างวันที่ 7-14 มิถุนายน 2565 เพื่อสร้างทักษะด้าน Cybersecurity Framework for Electric Utilities ด้วยเครื่องมือ Facility Cybersecurity Framework (FCF) ให้แก่คณาจารย์ ที่ผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ PNNL จำนวน 23 ท่าน เพื่อให้คณาจารย์เหล่านี้ได้นำทักษะไปให้ความรู้และคำปรึกษาต่อหน่วยงานที่ดูและระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ

“การสร้างศักยภาพด้าน Cybersecurity นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อประสิทธิภาพในการให้บริการ โดยเฉพาะหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย และในภูมิภาคอาเซียน เพราะปัจจุบันการจัดการความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ จะมีผลโดยตรงต่อความยั่งยืนของเมืองและประเทศ” รศ.ดร.จิรพล กล่าว

รศ.ดร.จิรพล กล่าวอีกว่า ในเบื้องต้นความร่วมมือนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรของทั้งการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมถึงหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ด้วยรูปแบบของการจัดการความเสี่ยงและทรัพยากรความรู้ต่างๆ ที่พัฒนาโดย PNNL ซึ่งจะช่วยให้การจัดการต่อภัยคุกคาทางไซเบอร์ของไทย และประเทศอาเซียนนั้นสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานที่สนใจยกระดับศักยภาพในการจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ให้แก่บุคลากร สามารถติดต่อได้ที่ 02-564-4440 ต่อ 1102

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดเบื้องลึก! กว่าจะได้นั่งเก้าอี้ 'อธิการ มธ.'

รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อยู่ในระหว่างการสรรหาอธิการบดีคนใหม่

ดร.นิว เฮลั่น! หยั่งเสียงเลือกอธิการบดีมธ. 'ปริญญา' ได้ที่โหล่

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า "โชคดีของ

ดร.นิว ยันมธ.ไม่ได้ล้มเจ้าทุกคน แต่ข้องใจบางคนสาละวนกับเครือข่ายล้มล้างการปกครอง?

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา