‘ชัชชาติ’ เล็งใช้ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร เปิดสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้ ปชช.ดู

‘ชัชชาติ’ บอก แก้ปัญหาสายสีเขียวคืบหน้า เล็งเปิดสัญญาให้ปชช.รู้ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ชี้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต้องชัด เพราะเป็นตัวกำหนดค่าโดยสาร

4 ก.ค.2565-นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่า คืบหน้าไปพอสมควร เพราะเราได้รู้ประเด็นแล้วว่าจุดไหนมีปัญหา และต้องลงในรายละเอียดระหว่างกรุงเทพธนาคมกับบริษัทเอกชน ที่จะต้องเจรจาว่าสามารถลดอะไรได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนกทม.เองก็ต้องดูเรื่องหนี้เป็นหลักตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ว่าจะต้องกลัดกระดุมเม็ดแรกให้ได้ก่อน อย่างไรก็ตามหนี้ของเรามี 3 ส่วน คือ หนี้ระหว่างกทม.กับรัฐ ตรงนี้ไม่ได้กังวลมาก เพราะถึงอย่างไรก็กระเป๋าซ้ายกระเป๋าขวา, หนี้เรื่องค่า หนี้ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล, และหนี้เรื่องค่าเดินรถโดยเฉพาะในส่วนสัญญาที่ 2 ซึ่งต้องดูว่าสัญญาขบวนการมันครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ครบก็ต้องทำให้ครบเสียก่อนที่จะเริ่มจ่ายหนี้ เราก็ต้องเอาให้ชัดเจนเสียก่อน ทำอย่างตรงไปตรงมา และต้องไปดูเรื่องสัญญาจ้างบีทีเอสเดินรถส่วนต่อขยาย ปี 2572-2585

“อย่างที่ผมบอกอยากเปิดเผยให้ประชาชนทราบ แต่ต้องเอาเรื่องกฎหมายให้ชัดเจนก่อน เนื่องจากในสัญญาเขียนไว้ว่าห้ามเปิดเผยต่อสาธารณะเว้นแต่กฎหมายบังคับ และบังเอิญว่าองค์กรผู้บริโภคขอมาแล้วจะเอาตรงนี้เป็นจุดที่จะบอกว่าสามารถเปิดเผยได้หรือไม่ โดยจะอ้างอิงจากพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวของสารราชการ ถ้าข้อมูลใดที่ประชาชนขอมา ให้ได้ก็ต้องให้ เพราะประชาชนเป็นเจ้าของเงินที่เราต้องจ่ายเอกชนอยู่แล้ว เป็นเงินภาษีประชาชน และถ้าเปิดเผยได้จะสรุปให้เสร็จเลยว่า ค่าใช้จ่ายการเดินรถเป็นเท่าไหร่ ซึ่งการเปิดเผยดังกล่าวคงไม่ต้องหารือกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากเป็นสัญญาระหว่าง กทม.คือกรุงเทพธนาคม กับเอกชน”

ถามว่าหากจะเปิดข้อมูลต้องให้คู่สัญญายินยอมด้วยหรือไม่ นายชัชชาติ กล่าวว่า คงต้องปรึกษากันอีกครั้ง เพราะคู่สัญญาของกทม.ไม่ใช่บริษัทเอกชน เราต้องถามกรุงเทพธนาคมก่อน แล้วกรุงเทพธนาคมกับคู่สัญญาก็ไปว่ากันอีกที เพราะเราก็ขอเอกสารในฐานะผู้ถือหุ้นของกรุงเทพธนาคม เราขอเอกสารในนามผู้ถือหุ้น การเซ็นสัญญาเกิดขึ้นระหว่างกรุงเทพธนาคม กับเอกชน ไม่ใช่กทม.เป็นคนเซ็น แต่เราต้องรับผิดชอบจึงต้องดูให้ละเอียดและได้สรุปตัวเลข และค่าใช้จ่ายไว้แล้ว เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นตัวเลขที่นำมาพิจารณาเรื่องค่าโดยสาร เราต้องเก็บค่าโดยสารให้ครอบคลุมกับค่าใช้จ่ายที่เรามีสัญญากับเอกชนไว้ ดังนั้นค่าใช้จ่ายจึงมีความสำคัญ เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายจึงมีความสำคัญว่าเท่าไหร่ ดังนั้นเราจะบอกว่าค่าโดยสารจะ 20 บาท 30 บาท สุดท้ายขึ้นอยู่กับว่าเราจะต้องจ่ายเขาเท่าไหร่ ตรงนี้เป็นจุดสำคัญ

ถามว่าจะใช้เวลาอีกนานหรือไม่กว่าจะเคลียร์ตรงนี้ได้ นายชัชชาติ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา เพราะเรื่องนี้เริ่มปี 2572-2585 ยังมีเวลา ยกเว้นส่วนที่เดินรถในปัจจุบันคือส่วนหนึ่งและส่วนสอง ส่วนหนึ่งคงแก้ไขอะไรได้ยากเพราะมีสัญญาระหว่าง กทม.กับกรุงเทพธนาคม และ กรุงเทพธนาคม กับเอกชน แต่ส่วนสอง เรามอบหมาย กรุงเทพธนาคม แล้วกรุงเทพธนาคมไปจ้างเอกชน ก็ต้องมาดูความเชื่อมโยงว่าครบถ้วนหรือไม่ เรื่องเวลาจึงไม่ใช่เงื่อนไข ทั้งนี้เวลามีเงื่อนเดียวคือเรื่องหนี้เพราะเป็นหนี้ที่ดอกเบี้ยเดินอยู่แต่เรื่องสัญญาเดินรถ จริงๆแล้วหัวใจคือสัญญาสัญญาจ้างบีทีเอสเดินรถส่วนต่อขยาย ปี 2572-2585 ซึ่งปัจจุบันเรายังมีเวลาอีก 6-7 ปี

เมื่อถามว่าเรื่องรถไฟฟ้าจะนำเข้าคณะรัฐมนตรีได้เมื่อใด นายชัชชาติ กล่าวว่า ก็ต้องแล้วแต่ครม.แต่ทางเราก็ต้องให้ความเห็นประกอบไป เชื่อว่าอีกไม่นานเพราะตอนนี้ทุกอย่างเริ่มชัดเจนแล้วเพราะทำงานมา 1 เดือนแล้ว

ถามว่ากรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เคยระบุว่ามีความหนักใจตอนนี้เบาใจขึ้นบ้างหรือไม่ นายชัชชาติ กล่าวว่า ที่หนักใจคือหนักใจว่าภาระตกไปที่ประชาชนเพราะมีเงื่อนของการเซ็นสัญญาอยู่แล้วจะเป็นอย่างไรจะพูดคุยได้มากน้อยแค่ไหนเพราะบางอย่างเราไม่ได้เป็นคนทำแต่สัญญาเซ็นไปแล้วก็จะมีขบวนการของกฎหมายอยู่ว่าจะทำอย่างไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ศิลปะกลางแจ้งย่านเก่า หนุนกรุงเทพฯ เมืองที่ดีที่สุด

กรุงเทพฯ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก หลังนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดัง DestinAsian ประกาศให้กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุด (Best Cities 2024)  ในประเภทเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (Destination) ในเอเชียแปซิฟิก