‘หมอธีระ’ เผยผลวิจัยสรุปอาการของฝีดาษลิง จาก 16 ปท.ทั่วโลก

24 ก.ค. 2565 –รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กสรุปอาการของฝีดาษลิงจาก 16 ประเทศทั่วโลกระบุว่า Thornhill JP และคณะได้เผยแพร่ผลการศึกษาอาการฝีดาษลิง ในผู้ป่วย 528 คนจาก 16 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่เมษายนถึงมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ระดับโลก New England Journal of Medicine เมื่อ 21 กรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมา สาระสำคัญคือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกย์ และไบเซ็กชวล (มีเพศสัมพันธ์กับทั้งเพศชายและเพศหญิง) มีถึง 41% ที่ติดเชื้อเอชไอวีอยู่ด้วย อายุเฉลี่ย (ค่ามัธยฐาน) 38 ปี (วัยทำงาน) 95% มีประวัติที่คาดว่าติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ 95% จะเกิดผื่นตามผิวหนังหลังจากติดเชื้อฝีดาษลิง โดยผื่นจะพบบริเวณทวารหนักหรืออวัยวะเพศราวสามในสี่ (73%) อาการผิดปกติอื่นๆ ที่พบบ่อยก่อนเกิดผื่นคือ ไข้ (62%) ต่อมน้ำเหลืองโต (56%) อ่อนเพลีย (41%) ปวดกล้ามเนื้อ (31%) และปวดหัว (27%)

มีราวหนึ่งในสาม (29%) ที่พบว่าติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วย เช่น หนองใน ซิฟิลิส เริม ระยะเวลาฟักตัว (ตั้งแต่เริ่มติดเชื้อจนถึงเริ่มเกิดอาการป่วย) เฉลี่ย 7 วัน โดยเป็นได้ตั้งแต่ 3-20 วัน ที่สำคัญคือ จากการตรวจน้ำอสุจิ 32 คน สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสฝีดาษลิงได้ถึง 29 คน สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของไวรัสในลำคอ และจมูก ได้ถึงหนึ่งในสี่ (26%) และยังตรวจพบในเลือดและปัสสาวะได้ในบางคน

ฝีดาษลิงได้รับการประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ โดยองค์การอนามัยโลก ประชาชนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ติดตามสถานการณ์ เพื่อให้รู้เท่าทัน และป้องกันตัวให้ห่างไกลจากฝีดาษลิง  ระมัดระวังการสัมผัสคลุกคลีใกล้ชิดกับคนแปลกหน้า หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานด้านบริการ ดูแลรักษา  รวมถึงแหล่งบันเทิงท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมทางเพศ ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเดินทางระหว่างประเทศ และการท่องเที่ยวเสรี โอกาสมีการติดเชื้อแฝงในชุมชน และแพร่ระบาดย่อมมีสูง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’

ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย

'หมอธีระวัฒน์' แนะกลยุทธ์ 'สมองใส'

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กลยุทธ์ สมองใส

อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์สถานการณ์โควิด แนวโน้มสูงกว่าที่คาด

ปลายปีถือเป็นช่วงเทศกาล มีกิจกรรมสังสรรค์กันมาก หากไม่ป้องกันตัว จะติดเชื้อแพร่เชื้อจนป่วยกันได้มาก เสี่ยงปอดอักเสบ ตาย และ Long COVID อีกด้วย