อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์สถานการณ์โควิด แนวโน้มสูงกว่าที่คาด

18 ธ.ค.2566-รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก วิเคราะห์การระบาดของไทยระบุว่า ตัวเลขรายงานรายสัปดาห์ 10-16 ธันวาคม 2023 จำนวนป่วยนอนโรงพยาบาล 514 ราย

เสียชีวิต 6 ราย เพิ่มขึ้นกว่าเดิม โดยที่สัปดาห์ก่อนเสียชีวิต 5 ราย ปอดอักเสบ 114 ราย สูงกว่าสัปดาห์ก่อน 21.3% ใส่ท่อช่วยหายใจ 58 ราย สูงกว่าสัปดาห์ก่อน 18.4% คาดประมาณการติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันอย่างน้อย 3,672-5,100 ราย

ถือว่าจำนวนมากที่สุดในรอบ 5 เดือน หรือนับตั้งแต่ 15 กรกฎาคมเป็นต้นมา การตรวจด้วย ATK ในช่วงวันแรกๆ หลังจากที่เริ่มมีอาการนั้นมีความไวลดลงเหลือ 30-60% จึงมีโอกาสที่จะทำให้ตรวจได้ผลลบปลอม ทั้งๆ ที่ติดเชื้ออยู่ โดยไวรัสจะพีคช่วงวันที่ 4-5 หลังมีอาการ ดังนั้นหากป่วยและตรวจในช่วง 3 วันแรกแล้วได้ผลลบ อย่าชะล่าใจ ควรตรวจซ้ำในช่วงวันที่ 4-5 ด้วย

ในสถานการณ์ข้างต้น จำนวนติดเชื้อจริงในแต่ละวัน ประเมินว่าจะมีแนวโน้มที่สูงกว่าเดิมที่คาดประมาณข้างต้นราวเท่าตัว

การติดเชื้อ ทั้งติดใหม่ และติดซ้ำ มีมากขึ้นชัดเจนในช่วงปลายปีนี้ BA.2.86.x มาแทนที่สายพันธุ์เดิมที่ระบาดเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง JN.1 (คือสายพันธุ์ BA.2.86.1.1 นั่นเอง) ซึ่งมีการกลายพันธุ์ต่อยอดจาก BA.2.86 โดยเกิดการเปลี่ยนกรดอมิโนที่ตำแหน่ง L455S ทำให้ดื้อต่อภูมิคุ้มกันอย่างมาก จนทำให้การแพร่ระบาดเป็นไปมากขึ้น

ปลายปีถือเป็นช่วงเทศกาล มีกิจกรรมสังสรรค์กันมาก หากไม่ป้องกันตัว จะติดเชื้อแพร่เชื้อจนป่วยกันได้มาก เสี่ยงปอดอักเสบ ตาย และ Long COVID อีกด้วย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบล่าสุดทะลุกว่า 100 รายไปแล้ว ถือว่ามากที่สุดในรอบ 3 เดือน และจำนวนผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ เกินกว่า 50 ราย สูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคมเป็นต้นมา  ควรป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ

ยิ่งหากหน้าเทศกาล ไปแวะเยี่ยมผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว ยิ่งควรป้องกันตัวให้ดี จะได้ไม่ไปแพร่ให้ท่าน ความใส่ใจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล

อาจารย์หมอ วิเคราะห์การระบาดโควิด มาจาก โอมิครอน สายพันธุ์ JN.1 เป็นหลัก

แม้ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ไทยจะเป็นขาลง แต่จำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันยังมีจำนวนไม่น้อย จึงควรใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท