ลอยกระทงหงอยคนไทยยังกังวลโควิด-19กลัวเกิดคลัสเตอร์ใหม่

14 พ.ย. 2564 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “คนไทยกับเทศกาลลอยกระทงในยุคโควิด-19” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,139 คน สำรวจระหว่างวันที่ 6-12 พฤศจิกายน 2564 พบว่า กรณีที่นายกฯ อนุมัติให้จัดงานลอยกระทงในปีนี้ได้ประชาชนก็ยังรู้สึกกังวลเรื่องโควิด-19 กลัวเกิดคลัสเตอร์ใหม่ ร้อยละ 60.04 ยังไม่สนใจไปร่วมเทศกาลลอยกระทง ร้อยละ 43.94 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 30.68 ถ้าได้ไปลอยกระทงจะลอยกระทงออนไลน์ ร้อยละ 33.50 รองลงมาคือ ใช้กระทงวัสดุธรรมชาติ ร้อยละ 26.99 โดยยังไม่ค่อยมั่นใจต่อมาตรการป้องกันโควิด-19 ในเทศกาลลอยกระทงปีนี้ ร้อยละ 40.86 อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเข้มงวด ร้อยละ 86.82 สิ่งที่แตกต่างของการลอยกระทงในปีนี้กับปีที่ผ่านๆมา คือ งดเว้นการไปสถานที่แออัด ร้อยละ 68.04 และสิ่งที่อยากลอยไปกับกระทงในปีนี้ คือ โควิด-19 ร้อยละ 87.84 รองลงมาคือ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ร้อยละ 59.10

สัญญาณการจัดงานรื่นเริงเริ่มชัดเจนมากขึ้นในหลายประเทศ จะเห็นได้จากบรรยากาศงานฮาโลวีนที่ผ่านมา ผู้คนเข้าร่วมอย่างครึกครื้นมีเงินสะพัดจำนวนมาก ดังนั้นการที่รัฐบาลไทยประกาศให้จัดงานลอยกระทงก็เพื่อกระตุ้นท่องเที่ยวและดันเม็ดเงินในช่วงสุดท้ายของปี โดยกำชับให้มีมาตรฐานสาธารณสุขที่เข้มงวดในการจัดงาน แต่ประชาชนก็ยังรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจและกังวลโควิด-19 ทว่าผลโพลนั้นเป็นการสะท้อนความรู้สึกของประชาชนในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะเมื่อพิจารณาจากการออกมาใช้ชีวิตของประชาชนตามสถานที่ต่าง ๆ ก็พบว่ามีมากขึ้น จึงต้องรอดูกันว่าในช่วงเทศกาล ลอยกระทงไปจนถึงปีใหม่จะคักคักหรือไม่เพียงใด

อาจารย์อัครพล ไวเชียงค้า อาจารย์ประจำหลักสูตรคหกรรมศาสตร์ โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต “คนไทยกับเทศกาลลอยกระทงในยุคโควิด-19” จากผลสำรวจยังพบว่าประชาชนก็ยังรู้สึกกังวลเรื่องโควิด-19 กลัวเกิดคลัสเตอร์ใหม่ เนื่องด้วยจากสถานการณ์ที่ผ่านมาประชาชนยังประสบปัญหากับการระบาดของโควิด-19 กังวลการไปร่วมกิจกรรมในสถานที่ต่างๆ ซึ่งกิจกรรมการลอยกระทงรูปแบบออนไลน์นั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ โดยมีความคาดหวังอยากให้โรคระบาดในครั้งนี้ลอยไปกับกระทง ซึ่งผลสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า ประชายนยังให้ความสำคัญและสนใจในประเพณีลอยกระทง ซึ่งเป็นงานเทศกาลประเพณีดั้งเดิมของไทยที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สวยงาม ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 'พิธา' เรตติ้งนำ 'เศรษฐา' ปชช.เห็นใจปมยุบพรรค

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,254 คน

'สวนดุสิตโพล' เผยดัชนีการเมืองไทยเดือนก.พ.เฉลี่ย 5.16 คะแนน ลดลงเล็กน้อย

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,335 คน

ดัชนีครูไทยปี66 ปชช.เชื่อมั่นเพิ่มขึ้น จุดด้อยมีปัญหาหนี้สิน 66.56%

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้จัดทำดัชนี “ความเชื่อมั่นครูไทย” เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ 19 สำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ

ดุสิตโพล เปิดผลเหตุการณ์ที่สุดแห่งปี 2566 เรื่อง ก้าวไกล ชนะเลือกตั้งนำอันดับ 1

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2566” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 7,398 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม)

'ดุสิตโพล' ชี้คนไทยกังวลปัญหาฝุ่น PM 2.5

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง“คนไทยกับฝุ่น PM 2.5” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,123 คน สำรวจระหว่างวันที่ 12-15 ธันวาคม 2566 พบว่า กลุ่มตัวอย่างค่อนข้างวิตกกังวลกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ร้อยละ 48.89 โดยมองว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5