สส.มัลลิกา แนะทบทวนใหม่ ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อฯ


7 ก.พ.2566 - นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาครั้งที่ 8 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2เป็นพิเศษบรรุจุวาระวันอังคาร ที่ 7 ก.พ.นั้น เป็นการที่ทั้งสองสภาจะต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.... ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอและเป็นการค้างมาจากการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 โดยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่เสนอต่อประธานรัฐสภาเพื่อบรรจุนั้นลงลายมือเสนอโดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และเป็นร่างพระราชบัญญัติที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบให้กรมประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลเป็นเจ้าภาพดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 บัดนี้ผ่านเข้าสู่ปีที่ 6 แล้วก็นำเข้าสู่การพิจารณาอย่างรวบรัดทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาอย่างกว้างขวางรวมทั้งแวดวงสื่อมวลชนด้วย

" ที่เห็นได้ชัดคือสมาคมนักข่าวและโทรทัศน์ไทย ออกมาคัดค้านกฎหมายนี้และเรียกว่ากฎหมายควบคุมสื่อ ส่วนสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยก็ออกแถลงการณ์เสนอให้ถอนร่างนี้ออกไปและให้เอาไปชี้แจงต่อสาธารณะเสียก่อนด้วย

เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่และสมาชิกจำนวนมากแสดงออกอย่างชัดเจนโดยการไม่เข้าร่วมประชุมส่วนด้านนอกสภาก็มีการออกแถลงการณ์ ก็ชัดเจนว่าการนำเสนอกฎหมายฉบับนี้ของรัฐบาลนั้นเป็นเรื่องนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นที่ถกเถียงอย่างกว้างขวางไม่ตกผลึกทางความคิดที่สำคัญที่สุดคือใช้เวลาร่างที่ยาวนานขณะที่บริบทของสังคมและบริบทของสื่อและนวัตกรรมของสี่อก็เปลี่ยนแปลงไปไกลแล้ว" นางมัลลิกา กล่าว

นางมัลลิกา กล่าวด้วยว่า ทุกฝ่ายแสดงความห่วงใยเรื่องนี้รวมทั้งตนด้วยเพราะในฐานะที่เคยประกอบวิชาชีพนักสื่อสารสื่อมวลชน ก็มีความกังวลประเด็นการเปิดช่องให้รัฐใช้อำนาจแทรกแซงความอิสระของสื่อมวลชนและทำลายกลไกการกำกับดูแลกันเอง ซึ่งตรงจุดนี้คือเกียรติยศของนักสื่อสารมวลชนและจุดนี้เองที่เรียกว่าจริยธรรมคุณธรรมแต่ในกฎหมายไม่สามารถนิยามสาระสำคัญนี้ได้ จึงไม่แปลกใจที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะนักสื่อสารมวลชนจะไม่ยอม

โดยเฉพาะที่มาของคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน และที่มาของรายได้สภาวิชาชีพสื่อมวลชน เพราะร่างพ.ร.บ.ระบุในบทเฉพาะกาลให้อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นคณะกรรมการในวาระเริ่มแรกรวมทั้งให้รัฐบาลจ่ายเงินให้ทุนประเดิมและจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่าย รวมถึงเงินที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมปีละไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท ที่มาเหล่านี้ล้วนจะนำไปสู่การเข้าควบคุมสื่ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตนจึงเห็นว่าอะไรก็ตามที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งควรจะนุติและกลับไปทบทวน

นางมัลลิกา กล่าวว่า อย่างไรก็ตามก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับคณะรัฐมนตรีในชุดปัจจุบันด้วยเช่นกันอันเนื่องมาจากว่ากฎหมายฉบับนี้ร่างมาตั้งแต่ปี 2560 คือก่อนที่จะมีรัฐบาลชุดปัจจุบันแล้วร่างมาต่อเนื่องทะลุมิติจนถึงรัฐบาลนี้ ขณะที่ผู้รับผิดชอบหลัก คือ นายกรัฐมนตรีคนเดียวกัน คือ พล เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้เซ็นเสนอมาตอนที่เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งคกก.สอบ ส.ส.เล่นพนันในสภาฯ ชี้หากพบผิดจริงต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย

ว่าที่ร.ต.ยุทธนา สำเภาเงิน ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ในฐานะโฆษกประจำสำนักงานเลขาธิการสภาฯ ชี้แจงกรณีที่ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร

'ธัญญ์' ฟาดกรณีดราม่า 'ยุ้ย' ลั่นเดี๋ยวนี้ใครมีมือถือก็เป็นนักข่าวได้!

หลังจากที่นางเอกสาว ยุ้ย-จีรนันท์ มะโนแจ่ม ออกมาเผยผ่านคลิปทั้งน้ำตาว่าตนไม่เคยออกปากหรือให้สัมภาษณ์กับสื่อไหนว่าจะช่วยเหลือดูแล ป้าแมว-รุ่งกานดา เบญจมาภรณ์ ตลอดชีวิต เพียงแค่เคยโพสต์ภาพป้าแมวและเลขบัญชีในอินสตาแกรม เผื่อใครอยากช่วยเหลือก็สามารถโอนเงินไปช่วยป้าแมวได้เลย ซึ่งตนต้องการเป็นเพียงแค่กระบอกเสียงในการช่วยเหลือป้าแมวเท่านั้น

หยัน 'บิ๊กตู่' หน้าไม่บางพอรับผิดชอบ 'พ.ร.ก.อุ้มหาย' โดนคว่ำส่งท้าย

จับตา  พ.ร.ก.อุ้มหาย ศึกประลองกำลังเกมการเมืองนัดส่งท้าย “ชลน่าน”  หยัน “บิ๊กตู่”หน้าไม่บางพอรับผิดชอบ เล็งส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

‘สว.สมชาย’ ปัดแจงสรุปผลสอบ ‘ส.ต.ท.หญิงโหด’ อ้างความลับ

ความคืบหน้าการตรวจสอบข้อร้องเรียนของนายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กรณีการแต่งตั้ง ส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ บัวแย้ม เข้ารับราชการ และการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วุฒิสภา โดยมี นายธานี อ่อนละเอียด ส.ว.เกี่ยวข้องด้วย