'อนุชา' แนะเกษตรกรชาวอุบลฯเลี้ยงโค ยกระดับรายได้ เห็นผลสำเร็จแล้วที่สุโขทัย-ชัยนาท

“อนุชา” แนะเกษตรกรอุบลเลี้ยงโค ย้ำเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ครัวเรือน ชี้ผลผลิตจากโคสามารถสร้างเม็ดเงินให้ชุมชนได้มหาศาล

10 พ.ค.2566 - เวลา 13.00 น. ณ กองทุนหมู่บ้านสนามชัย หมู่ 9 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เป็นประธานเปิดงาน “สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างชาติมั่นคง” ภายใต้โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมี นางสาวทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมงาน

นายอนุชา กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำให้รัฐบาลส่งเสริมการกระจายความมั่งคั่งในระบบเศรษฐกิจระหว่างกันอย่างเป็นระบบ โดยการส่งเสริมให้เศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจครัวเรือนมีความเข้มแข็งส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศมีความแข็งแกร่งขึ้นตามลำดับ เช่นเดียวกับโครงการ “โคล้านครอบครัว” ซึ่งรัฐบาลได้อนุมัติให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริงได้มีการทดลอง ศึกษา และค้นคว้า ลงมือทำจริง และมีผลสำเร็จเป็นรูปธรรม จากการทดลองนำร่องโครงการโคล้านครอบครัวในพื้นที่ จ.สุโขทัย และ จ.ชัยนาท รวมถึงพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พบว่าประชาชนมีรายได้ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการเลี้ยงโค

ที่สำคัญหลายครัวเรือนได้ยกระดับตนเองสู่การเป็นผู้ประกอบธุรกิจในชุมชน มีอาชีพที่มั่งคง มีรายได้หมุนเวียนทั้งในครัวเรือนและชุมชน อีกทั้งเป็นมรดกตกทอดสู่รุ่นลูกหลานได้โดยไม่ต้องส่งลูกหลานไปทำงานต่างถิ่น สามารถสร้างอาชีพ สร้างงาน สร้างความร่ำรวยในชุมชนได้

“โค เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ให้ประโยชน์แก่มนุษย์อย่างกว้างขวาง ทั้งแรงงาน เนื้อ นม หนัง อีกทั้งกระดูกและเลือดยังใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง รวมถึงมูลโคยังใช้ทำปุ๋ยอินทรีย์ได้อีกด้วย โคเลี้ยงง่าย คืนทุนได้เร็ว อดทนเลี้ยงเพียง 3 ปี สามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นกำไรให้ประชาชนได้ ที่สำคัญอาชีพเลี้ยงโคยังต่อยอดสู้อาชีพอื่นๆ ที่สร้างรายได้ สร้างเม็ดเงินได้อย่างไม่สิ้นสุดอีกด้วย เช่น การปลูกหญ้าตลอดถึงพืชตระกูลถั่วจำหน่ายให้พี่น้องเกษตรกรเพื่อใช้เลี้ยงโค การจำหน่ายมูลโคเพื่อทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยโคขับถ่ายมูลสดออกมาปีละ 5,000 - 7,000 กก. ต่อหนึ่งตัว หรืออาจมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของโคแต่ละตัว

ส่วนโคเนื้อสามารถขายได้ตลอดเวลา ในช่วงที่ราคาโคตกต่ำก็สามารถที่จะชะลอไว้ก่อนได้ รอให้ราคาโคเหมาะสมแล้วค่อยนำจำหน่าย ถือเป็นข้อได้เปรียบของการเลี้ยงโค เพียงแค่เกษตรกรใส่ใจ เสริมองค์ความรู้ ศึกษาจากคนที่ประสบความสำเร็จจริง มั่นพัฒนาศักยภาพ พัฒนาทักษะ ศึกษาความต้องการของตลาด ให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น” นายอนุชา กล่าว

สำหรับ การจัดงาน “สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างชาติมั่นคง” ครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดงานครั้งที่ 8 โดยมี กลุ่มเป้าหมายหลัก จากสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ฯ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, อำนาจเจริญเข้าร่วมกิจกรรมอัพเดทองค์ความรู้มากมาย ได้แก่ กิจกรรมเสวนาโดยกองทุนหมู่บ้านต้นแบบ "ทำแล้ว ทำง่าย ทำได้...ไม่ยาก” โดยกองทุนหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้านบ้านสนามชัย หมู่ที่ 9 ตำบลโพธิ์ไทร อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Up Skill เรื่อง“โคล้านครอบครัว” รวมถึงกิจกรรม Business Matching และยังมีนิทรรศการให้ความรู้จาก กทบ. อีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติ่งลิซ่า! 'พวงเพ็ชร' ห้อย 'ลาบูบู้' เข้าทำเนียบ เตือนปชช.ตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อ

ที่ทำเนียบรัฐบาล นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี โดยได้

'พวงเพ็ชร' นำแถลงจับบุหรี่ไฟฟ้ากว่า 1.2 หมื่นชิ้น

'พวงเพ็ชร' แถลงข่าวร่วม สคบ.จับกุมผู้ลักลอบขาย 'บุหรี่ไฟฟ้า' ใกล้สถานศึกษา โซน กทม. ยึดของกลางกว่า 12,000 ชิ้น มูลค่า 3.6 ล้านบาท ตะลึง!! พบแพ็คเกจลักษณะคล้ายโลโก้พรรคการเมืองดัง

'รัฐบาล' ยกระดับคนรุ่นใหม่ ทำปศุสัตว์จับเงินล้าน

"รัดเกล้า" เผย กระทรวงเกษตรฯ ผนึกพันธมิตรเครือข่ายมหาลัยภาคเหนือ ผุดโครงการ “ยุวเกษตรกรเงินบาทแรกของแผ่นดิน” มุ่งเป้าพัฒนาลูกหลานไทยยุคใหม่ ทำปศุสัตว์จับเงินล้าน ดันไทยสู่ครัวโลก

'อนุชา' ไล่บี้ 'องค์การสะพานปลา' เร่งแก้ปัญหาเก็บค่าเช่าที่

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมหารือแนวทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านชุมชนสะพานปลาจังหวัดชุมพร