7 องค์กรสื่อฯไม่อยู่เฉยตั้งกรรมการสอบนักข่าวรับเงินบิ๊กโจ๊ก

27 ก.ย. 2566 – สืบเนื่องจากกรณีที่รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนว่ามีการจ่ายเงินให้สื่อมวลชนเพื่อเป็นค่าข่าว และช่วยเหลือด้านต่างๆ เนื่องจากเห็นว่านักข่าวเงินเดือนน้อย ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข่าวต่อสาธารณะออกไปอย่างแพร่หลายนั้น

องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน 7 องค์กร ประกอบด้วย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย และสมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ร่วมประชุมกันและขอแสดงจุดยืนต่อสาธารณะว่า สื่อมวลชนที่รับเงินจากแหล่งข่าวเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการใดๆ ถือเป็นเรื่องที่ละเมิดจริยธรรมวิชาชีพอย่างร้ายแรง ไม่สามารถยอมรับได้

ดังนั้น ที่ประชุม 7 องค์กรวิชาชีพ จึงมีมติร่วมกันดังนี้

1. เห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความกระจ่างชัดในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อสาธารณชนโดยคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากสภาวิชาชีพสื่อมวลชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง (ประเทศไทย) ซึ่งทำหน้าที่ดูแลเรื่องจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนขององค์กรสมาชิก องค์กรละ 2 คน (เป็นคนในวิชาชีพ 1 คน และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1 คน) รวมเป็น 6 คน และให้สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาเป็นประธานคณะกรรมการอีก 1 คน รวมเป็น 7 คน

2. ขอให้องค์กรต้นสังกัดที่ถูกระบุว่ามีนักข่าวรับเงิน รวมทั้งองค์กรสื่อมวลชนอื่นๆ ดำเนินการตรวจสอบว่านักข่าวในสังกัดว่ามีพฤติกรรมตามที่ถูกระบุหรือไม่ และพร้อมแจ้งผลการดำเนินการแจ้งต่อสาธารณะให้ทราบ ส่วนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่มีต้นสังกัด และกระทำการเป็นนักข่าวเพื่อส่งข่าวต่อไปยังสำนักข่าวต่างๆ แต่มีพฤติกรรมละเมิดจริยธรรมวิชาชีพนั้น ขอให้ทุกองค์กรสื่อมวลชน พิจารณายุติการซื้อข่าวจากบุคคลหรือกลุ่มดังกล่าว

3. กรณีที่มีนักข่าวมีส่วนพัวพันหรือไปเกี่ยวข้องกับการรับเงินในธุรกิจที่ผิดกฎหมาย คณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นโดยสภาวิชาชีพข้างต้น จะดำเนินการตรวจสอบด้านจริยธรรมวิชาชีพเช่นกัน  ส่วนความผิดตามกฎหมายนั้น เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย

4. องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ขอเรียกร้องให้บุคคลกลุ่มบุคคลที่เป็นอดีตนักข่าว และทำหน้าที่ส่งข่าวให้สำนักข่าวต่างๆ แสดงตัวตนให้ชัดเจนว่าการรับเงินดังกล่าวเป็นค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนในการทำข่าวและส่งประชาสัมพันธ์ โดยไม่แอบอ้างตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน แต่หลีกเลี่ยงการถูกกำกับดูแลด้านจริยธรรมจากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน

จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน

สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ

สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย

สมาพันธ์สื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

27 กันยายน 2566

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' กลับทำเนียบฯ ทักสื่อ 'อย่าเพิ่งเหยียบสนามหญ้า'

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาลทันที ภายหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศ โดยทันทีที่มาถึง นายเศรษฐา ได้ลดกระจกรถยนต์และทักทายสื่อมวลชน เมื่อผู้ส่งข่าว

'ศิริกัญญา' ลั่น 44 สส. ไม่หวั่น พร้อมสู้คดี ชี้มีเวลาปั้นแกนนำรุ่นใหม่

'ศิริกัญญา' ลั่น 44 สส. ก้าวไกล พร้อมสู้คดีจริยธรรม ปมลงชื่อแก้ ม.112 ยันไม่กังวล ชี้มีเวลาวางตัวแกนนํารุ่นใหม่ หากถูกศาลฟัน เชื่อส่งต่ออุดมการณ์พรรคได้

เอาให้สะเด็ดน้ำ! ธีรยุทธร้อง กกต.ให้ยุบก้าวไกลพรุ่งนี้ยื่น ป.ป.ช.ฟันจริยธรรม

'ธีรยุทธ' ร้องกกต.ส่งศาลยุบก้าวไกล ไม่หวั่นสร้างความขัดแย้ง เป็นเรื่องปัจเจก ตะเพิดนักวิชาการกลับไปอ่านคำวนิจฉัยหลายๆ รอบ ศาลไม่ได้ปิดประตูตายแก้ ม.112 เล็งยื่น ป.ป.ช.ฟันจริยธรรม

ร้อง ป.ป.ช. ฟันจริยธรรมร้ายแรง 'เศรษฐา - สส.เพื่อไทย'

นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ได้เดินทางมายื่นคำร้องให้ตรวจสอบนายกรัฐมนตรีและ สส.เพื่อไทย หลังหลุดปากพูดต่อหน้าที่ประชุม สส. เพื่อไทย