เขื่อนเจ้าพระยาเร่งระบายน้ำ 'สทนช.' ประกาศเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง 3-7 ต.ค.นี้

เขื่อนเจ้าพระยา กลับมาเพิ่มระบายน้ำขึ้นอีก ด้าน สทนช.ประกาศเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง 3-7 ต.ค.นี้ คาดจะมีน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,200-1,400 ลบ.ม./วินาที น้ำท้ายเขื่อนจะสูงขึ้น 1.50 เมตร

1 ต.ค.66 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ตอนบนบริเวณแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยวันนี้ เมื่อเวลา 08.00 น. ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ มีปริมาณ 1,290 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 235 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณ 1,244 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 106 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำระบายท้ายเขื่อน 917 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 113 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อน ที่ อ.สรรพยา สูงขึ้นจากเมื่อวาน 49 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 10.61 เมตร(รทก) ต่ำกว่าตลิ่ง 5.73 เมตร

ด้าน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกประกาศฉบับที่ 1/2566 ให้เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่มและน้ำล้นตลิ่ง เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในวันที่ 3-6 ตุลาคม 2566 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดย สทนช. ได้วิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ โดยในช่วงวันที่ 3-7 ตุลาคม 2566 ให้เฝ้าระวังพื้นเสี่ยงหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ระวังน้ำหลากดินถล่ม และเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำเจ้าพระยา

สำหรับแม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,200-1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 1 เมตร ถึง 1.50 เมตร บริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือทันที และวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยปรับแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และระบบชลประทาน เพื่อเป็นการหน่วงน้ำที่ไหลมาสมทบแม่น้ำสายหลักให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งจัดการจราจรทางน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณแม่น้ำยมและแม่น้ำเจ้าพระยา และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการขนของขึ้นที่สูง หรืออพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สทนช. ตั้ง“วอร์รูม” แก้ปัญหาน้ำเค็มรุกคลองประเวศบุรีรมย์ ลงพื้นที่ทำงานเชิงรุกเร่งฟื้นฟู ขีดเส้นภายใน เม.ย. กลับสู่ภาวะปกติ

สทนช.ตั้ง “วอร์รูม” เฉพาะกิจผนึกกำลังบูรณาการวางแผน สั่งการ แก้ปัญหาทำนบดินชั่วคราวพังทลาย น้ำเค็มทะลักเข้าคลองประเวศบุรีรมย์และคลองสาขา ในพื้นที่   จ.ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ลงพื้นที่เร่งติด ตามการดำเนินงานในเชิงรุก หวังลดผลกระทบที่เกิดขึ้น มั่นใจสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติได้ภายในเดือนเม.ย.นี้อย่างแน่นอน

สทนช. เร่งหน่วยงานด้านน้ำคลอดแผนปฏิบัติการรองรับฤดูฝน เตรียมรับมือ “ลานีญา” คาดฝนตกหนัก มิ.ย. - ส.ค. 67

สทนช. มั่นใจ 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 รับมือสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเห็นผลเป็นรูปธรรมเร่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้มาตรการรับมือฤดูฝน

ห่วงปชช. 7 จ. ริมน้ำโขง หลังสารเคมีรั่ว สั่ง สทนช. เฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

'สมศักดิ์' ห่วงชาวไทย-ลาว หลังสารเคมีรั่วลงแม่น้ำโขง สั่ง สทนช. เกาะติดใกล้ชิด แจงตรวจคุณภาพน้ำ จ.เลย ใช้ได้ปกติ แต่ยังเฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

เปิดงบฯขับเคลื่อนแผนบูรณาการฯทรัพยากรน้ำปี 67 สทนช.เผยผลงานปี 66 การันตีผลสัมฤทธิ์ที่คุ้มค่า

สทนช. โปร่งใสเปิดแผนบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ 2567 กว่า 56,000 ล้านบาท จะถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่า สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ

สทนช. เดินหน้าสรรหาคนไทยคนแรก นั่งCEO สำนักงานเลขาฯคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง

สทนช. เดินหน้าสรรหาคนไทยคนแรกเพื่อดำรงตำแหน่ง CEO สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เพื่อสนับ สนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง 4 ประเทศ ผ่านการบูรณาการความร่วมมือในทุกมิติ สู่เป้าหมายการบริหารจัดการลุ่มน้ำโขงตอนล่างให้เกิดความยั่งยืนและเท่าเทียมอย่างเป็นธรรม

สทนช.เกาะติดพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง 2 จังหวัดภาคตะวันออก บูรณาการแก้ปัญหาเร่งด่วน-ระยะยาว มั่นใจรอดแล้งนี้

สทนช.ลงพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง จ.จันทบุรี-ตราด ทั้งพื้นที่ต้นน้ำและปลายน้ำ เร่งประสานหน่วยงานเกี่ยวข้อง ขับเคลื่อนแผนแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำเค็มรุกล้ำในระยะเร่งด่วน