กรมชลฯ เร่งระบายน้ำแจ้งเตือนลุ่มเจ้าพระยาอาจได้รับผลกระทบ

กรมชลฯ แจ้งเตือนลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 4 เพิ่มระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา จาก 1,500 เป็น 1,800 ลบ.ม./วินาที พื้นที่ท้ายเขื่อนเฝ้าระวังน้ำสูงขึ้นจากเดิมอีก 80 ซ.ม. อาจกระทบชุมชนบางพื้นที่

8 ต.ค.66 – นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน ออกหนังสือแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ฉบับที่ 4 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2566 ให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และ แม่น้ำน้อย เฝ้าระวังระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 20-80 เซนติเมตร เนื่องจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ร่องมรสุมทำให้เกิดฝนตกหนักสะสมทั้งประเทศไทย ทำให้มีน้ำในลำน้ำเพิ่มมากขึ้น โดยคาดการณ์ในช่วงวันที่ 8-11 ตุลาคม 2566 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สทนช.ได้วิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้น้ำลันตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ ในช่วงวันที่ 9-15 ตุลาคม 2566 โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ ซึ่งเขื่อนเจ้าพระยาต้องเพิ่มการระบายน้ำในอัตรามากกว่า 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้คาดการณ์ปริมาณน้ำที่ สถานีวัดน้ำท่า C.2 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 1,800-1,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขามีปริมาณประมาณ 200-300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณระหว่าง 2,000-2,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งกรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งประมาณ 350-400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 1,500-1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที่ ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีก 20-80 เซนติเมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำและควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ กรมชลประทานได้แจ้งเตือน 11 จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกาศประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ขอให้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป

สำหรับ สถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา วันนี้ เมื่อเวลา 06.00 น. น้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณ 1,841 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 21 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ที่จังหวัดชัยนาท มีปริมาณ 1,920 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 55 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำระบายท้ายเขื่อน มีปริมาณ 1,498 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 19 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน ที่ อ.เมืองชัยนาท สูงขึ้น 23 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 16.65 เมตร(รทก) ระดับน้ำท้ายเขื่อน ที่ อ.สรรพยา สูงขึ้น 7 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 12.82 เมตร(รทก) ต่ำกว่าตลิ่ง 3.52 เมตร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลเชิญชวนเกษตรกร-ประชาชน สมัครร่วมโครงการจ้างงาน ช่วงว่างเว้นทำเกษตร

ช่วยเกษตรกรฤดูแล้ง! 'รัฐบาล' เชิญชวนเกษตรกร-ประชาชน สมัครร่วมโครงการจ้างงานกับกรมชลฯ สร้างรายได้ทดแทนช่วงว่างเว้นจากการทำการเกษตร

ลูกศิษย์วัดดังย่านพระประแดง คิดสั้นกระโดดสะพาน ศพโผล่ลอยกลางแม่น้ำเจ้าพระยา

ร.ต.อ.วิทยา นามทอง รองสารวัตรสอบสวน สภ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ รับแจ้งมีผู้พบศพลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณใกล้ท่าเรือกำนันขาว ซอยเพชรหึงษ์ 33 หมู่ 3 ต.บางกระเจ้า อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ หลังรับแจ้งจึงพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

นักวิชาการชี้โครงการ 'ผันน้ำยวม' มูลค่าแสนล้านเสี่ยงผิดกม. สร้างหนี้รัฐมหาศาล ไม่คุ้มค่า

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมชลประทาน ซึ่งได้มีการรับฟังความคิดเห็นโครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม โดยมี ดร.ศิตางศุ์ พิลัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ชาวร้อยเอ็ด จัดเวทีใหญ่ 2.4 พันคนลงชื่อไม่เห็นด้วยสร้างเขื่อนกั้นน้ำชี

ชาวบ้านลุ่มน้ำชีและเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีกว่า 350 คน ได้ร่วมเวทีนำเสนอข้อมูล เพื่อให้กรมชลประทานยกเลิกโครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำ-ประตูระบายน้ำ(เขื่อน)กั้นแม่น้ำชี ที่มีแผนดำเนินการศึกษาและก่อสร้างบริเวณหมู่บ้านไชยวาน ต.นาเลิง อ.เสลภูมิ