นายกฯ รับสนองงานวิจัย 'ยาโมลนูพิราเวียร์' รักษาโควิด สั่ง สธ. เร่งศึกษาเพื่อคนไทย

นายกฯ รับสนองผลงานพระราชทานทางวิทยาศาสตร์ ด้านการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีการสังเคราะห์ตัวยาโมลนูพิราเวียร์ สั่งการ สธ. ดำเนินการตั้งคณะกรรมการศึกษา ต่อการพัฒนายาเพื่อการรักษา ให้แก่ประชาชนคนไทยทุกคน

24 ธ.ค.2564 - นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ได้พระราชทานเทคโนโลยีการสังเคราะห์ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่ทรงประสบความสำเร็จ ให้กับรัฐบาลเพื่อนำไปสู่การวิจัยพัฒนานำไปสู่การผลิต เพื่อให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถในด้านความมั่นคง ยาและเวชภัณฑ์ นับเป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ในการนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับสนองผลงานพระราชทานทางวิทยาศาสตร์ ด้านการวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีการสังเคราะห์ตัวยาโมลนูพิราเวียร์ โดยสั่งการให้กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตั้งคณะกรรมการศึกษาต่อการพัฒนายาเพื่อการรักษา ให้แก่ประชาชนคนไทยทุกคน

อนึ่ง วานนี้ (23 ธ.ค.64) สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒ วรขัตติยราชนารี เสด็จออก ณ ห้องประชุม ชั้น 5 หอศิลป์พิมานทิพย์ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา พระราชทานพระวโรกาสให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และคณะ เข้าเฝ้า เพื่อทรงหารือถึงแนวทางการนำเทคโนโลยีการสังเคราะห์ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่ทรงประสบความสำเร็จ ไปใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนายาเพื่อการรักษา เนื่องจากขณะนี้ เชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์ได้รวดเร็วอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดน้อยลงได้ การเร่งพัฒนายาเพื่อรักษาโรคติดเชื้อโควิด-19 จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน ในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ทั้งด้านเคมีและด้านวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ จึงได้พยายามหาวิถีทางเพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาล โดยทรงเริ่มโครงการวิจัยเพื่อเร่งพัฒนายาในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับรักษาโรคโควิด-19 โดยเร็วที่สุด และได้ทรงเลือกยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่จะมีประสิทธิภาพในการรักษาได้มากขึ้น ซึ่งได้ประสบความสำเร็จโดยอาศัยวิธีการ 2 วิธี

วิธีที่ 1 เป็นการสังเคราะห์โดยการใช้สารเคมีในกระบวนการทางอินทรีย์เคมีสังเคราะห์เพียง 3 ขั้นตอน ในเวลา 3 วัน จากสารตั้งต้นที่หาซื้อได้ในราคาไม่แพง โดยคำนวณค่าใช้จ่ายในการผลิตประมาณ 750 บาท ต่อ 1 คอร์ส ของการรักษา คือ 5 วัน ในขณะที่ยาที่ประกาศขายในต่างประเทศขณะนี้ มีราคาประมาณ 700 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 23,000 บาทต่อ 1 คอร์ส

วิธีการแบบที่ 2 เป็นการใช้เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ขั้นตอนเพียง 2 ขั้น เพื่อเติมหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่จำเป็นเท่านั้น และใช้เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งขั้นตอนนี้ลดความซับซ้อนในการจัดการกับปฏิกิริยาอีกด้วย ดังนั้น ความสำเร็จนี้จะทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตตัวยาได้ภายในประเทศ

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒ วรขัตติยราชนารี พระราชทานเทคโนโลยีการสังเคราะห์ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ที่ทรงประสบความสำเร็จทั้ง 2 วิธี แก่นายกรัฐมนตรี โดยขอมอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำไปต่อยอดการผลิตในระดับอุตสาหกรรมให้แก่ประชาชนคนไทยทุกคน

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีเป้าหมายสูงสุดในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ความร่วมมือกันระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การเภสัชกรรม และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะทำให้เกิดเป็นผลงานที่เป็นรูปธรรม และเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางยา เวชภัณฑ์ ให้แก่ประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤตซึ่งเกิดจากโรคอุบัติใหม่ในอนาคต

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอชัย' สยบข่าวเปลี่ยนตัวโฆษกรัฐบาล ยันนายกฯไม่ส่งสัญญาณ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงโฆษกรัฐบาล ว่า ไม่มีนะ ตนไม่เคยได้ยินข่าว และขอย้ำว่าไม่มีตนกองเชียร์ไม่เยอะ

'ทนายมือหนึ่ง' เผยคนฝากให้กำลังใจนายกฯเยอะ หลังถูก 'บิ๊กโจ๊ก' เอาคืน

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชิต ชื่นบาน ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีมีชื่อเป็นรัฐมนตรี ว่า วันนี้ต้องให้กำลังใจนายกรัฐมนต

จะเอาให้ได้! 'เศรษฐา' เรียก 4 แบงก์ยักษเข้าทำเนียบฯ คุยลดดอกเบี้ย หลังธปท.ไม่เล่นด้วย

ที่ทำเนียบรัฐบาล ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ได้เรียก 4 ธนาคารเข้าพบ