กมธ.ติดตามงบฯ พบช่องโหว่โครงการบีซีจี อุดหนุนศูนย์พันธุ์ข้าว 829 ล้านบาท

15 ก.พ.2567 - เมื่อเวลา 14.00 น. ที่รัฐสภา นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการเชิญอธิบดีกรมการข้าวและกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เข้าชี้แจงในที่ประชุมกมธ.ฯ เกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ ว่า โดยในส่วนของกรมการข้าวได้พิจารณาการใช้งบประมาณของโครงการที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยทางอธิบดีได้ชี้แจงในที่ประชุมว่าได้ใช้งบประมาณไปซื้อปุ๋ยที่เข้าโครงการบัญชีนวัตกรรมภาครัฐ และงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์ข้าว การจัดงานวันข้าว ซึ่งโครงการที่กมธ.ฯต้องพิจารณาคือ โครงการบีซีจี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยหัวใจสำคัญของงบประมาณโครงการนี้เป็นงบอุดหนุนลงไปยังศูนย์พันธุ์ข้าวกว่า 200 ศูนย์ งบประมาณรวม 829 ล้านบาท เมื่อเป็นเงินอุดหนุนและถูกโอนไปยังบัญชีธนาคารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ของศูนย์ข้าวต่างๆ แต่ละศูนย์จะดำเนินการซื้ออุปกรณ์ทางการเกษตร อย่างไรนั้นไม่ได้อยู่ภายใต้ระเบียบพัสดุหรือระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ดังนั้น อาจจะทำให้มีข้อห่วงใยว่าผู้อำนวยการอาจมีความใกล้ชิดกับคนขายอุปกรณ์ทำให้ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างโดยตรง

นายณัฐพงษ์ กล่าวต่อว่า ในที่ประชุมอธิบดีได้ชี้แจงว่าเป็นข้อห่วงใยที่ยังมีช่องโหว่และทางกมธ.ฯส่งข้องสังเกตนี้ไปยังกระทรวงเกษตรฯ กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทางกระทรวงมีข้อชี้แจงว่าจะสามารถออกระเบียบในการกำกับดูแลการใช้เงินอุดหนุนอย่างไรได้บ้าง

“สำหรับกรณีเทียบเคียง เงินอุดหนุนที่ได้ส่งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการใช้เงินส่วนนี้จะต้องปฏิบัติตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างอย่างเคร่งครัด ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย แต่ในส่วนของศูนย์ข้าวชุมชน ยังมีข้อห่วงใยในเรื่องนี้”นายณัฐพงษ์ กล่าว

นายณัฐพงษ์ กล่าวต่อว่า การใช้งบประมาณของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรมีส่วนที่น่าห่วงใยคือไม่เข้าข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งโครงการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องบินมีการเชิญชวนผู้เข้าร่วมประมูลถึง 3 ครั้ง ในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนม.ค. - พ.ย. ซึ่ง 3 ครั้งนี้ไม่มีผู้ยื่นซองแม้แต่รายเดียว ทำให้มีการปรับทีโออาร์และเงื่อนไขใหม่เพื่อให้มีผู้เข้าร่วมประมูลเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการปรับเงื่อนไขและทีโออาร์ในครั้งที่ 4 ตามคำชี้แจงอธิบดีกรมฝนหลวง ไม่ได้มีการปรับลดสเปคเครื่องบินที่จำเป็น เพียงแต่ปรับเงื่อนไขให้มีผู้เข้าร่วมเท่านั้น โดยปัจจุบันเจ้าที่ประมูลชนะโครงการนี้ซื้อเครื่องบิน 2 ลำ มูลค่า 1,188 ล้านบาท ซึ่งเอกชนรายนี้เคยเชิญผู้บริหารของกรมฝนหลวง ไปดูงานที่โรงงานผลิตเครื่องบิน ณ สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งปรากฏเป็นข้อเท็จจริงแล้วแต่พบว่างบประมาณที่ใช้ไปศึกษาดูงานเป็นงบที่บริษัทเอกชนออกให้ โดยราชการที่ไปศึกษาดูงานได้ใช้สิทธิ์การลาของราชการ ดังนั้น เป็นสิ่งที่กมธ.ฯ ตั้งข้อสังเกต ซึ่งตามคำชี้แจงได้รับฟังน้ำหนักและข้อเหตุผลทั้ง 2 ข้าง

“ทางอธิบดีกรมฝนหลวงได้ชี้แจงว่าก่อนที่จะซื้อเครื่องบินมูลค่าสูงขนาดนี้ ต้องแน่ใจก่อนว่าเครื่องบินที่จะจัดซื้อจัดจ้างมาใหม่ สามารถใช้งานได้จริง คิดว่าเหตุผลก็ฟังขึ้น ขณะเดียวกันมีหน่วยงานอย่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้าร่วมด้วย กมธ.ฯจึงสอบถามว่าลักษณะแบบนี้อาจเข้าข่ายการขัดกันของผลประโยชน์หรือไม่ เพราะการไปศึกษาดูงานไม่ได้ใช้งบหลวง ไม่ได้ออกไปดูงานตามระเบียบของส่วนราชการ แต่ใช้งบของเอกชน จึงได้ตั้งข้อสังเกตส่งไปยัง ป.ป.ช. เพื่อให้ป.ป.ช. ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช.ต่อไป“นายณัฐพงษ์ กล่าว

ประธานกมธ.ติดตามงบฯ กล่าวต่อว่า ในอนาคตทั้ง 2 ส่วนนี้ ในส่วนของกรมการข้าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนเรื่องนี้แล้ว โดยจะสิ้นสุดวันที่ 14 มี.ค. ซึ่งมติในที่ประชุมกมธ.ฯ เห็นพ้องว่าจะให้กลไก คณะกรรมการในกระทรวงทำงานก่อน และจะเรียกผลการสอบ หลังวันที่ 14 มี.ค. ส่วนกรมฝนหลวงวันที่ 21 ก.พ.นี้ ทางกรมฝนหลวงจะต้องเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการสอบสวนภายใน อย่างไรก็ตามทางกมธ.ฯจะติดตามทั้ง 2 กรมต่อไป

เมื่อถามว่าภายในที่ประชุมได้มีการสอบถามกรณีการตบทรัพย์ของอธิบดีกรมการข้าวหรือไม่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ได้ใช้พื้นที่สื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ออกมาให้สัมภาษณ์ไปหลายครั้งแล้ว ซึ่งเนื้อหาหลักต้องการจะโฟกัสไปที่การใช้งบประมาณ​ในโครงการต่างๆ และเชื่อว่าหากโครงการเหล่านี้มีการตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา ด้วยความโปร่งใส เรื่องการตบทรัพย์ก็ไม่ต้องกังวล ตอนนี้สิ่งที่กมธ.ฯต้องการศึกษาคือการใช้งบของทั้ง 2 โครงการถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ ส่วนเนื้อหาของการตบทรัพย์บางคนที่ถูกพาดพิง ก็ได้เข้ามาชี้แจงด้วยเช่นกัน แต่ไม่ได้เป็นสาระสำคัญในการพิจารณาครั้งนี้ ทั้งนี้ จากการพูดคุยในกรมการข้าวอาจไม่ได้เห็นถึงความเชื่อมโยงของคดีตบทรัพย์แต่อย่างใด แต่ส่วนที่เป็นช่องโหว่คือในโครงการบีซีจี ซึ่งจะขอให้ทางกระทรวงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชงไทยบี้เมียนมา งดขายน้ำมันให้ เจรจาสันติภาพ

"โรม" เสนอให้ไทยงดขายน้ำมันให้ "เมียนมา" ปูดใช้ไทยฟอกเงินเครือข่ายซื้ออาวุธที่ใช้ปฏิบัติการ เตือนถูกดึงไปเอี่ยวร่วมฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

สส.ระยอง ก้าวไกล ตั้งข้อสงสัยวางเพลิงโรงงานเก็บสารเคมี 'วิน โพรเสส' จี้รัฐบาลตรวจสอบ

นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.ระยอง พรรคก้าวไกล แถลงข่าวกรณีไฟไหม้โรงงานเก็บสารเคมีของบริษัท วินโพรเสส จำกัด ว่า ในฐานะเจ้าของพื้นที่ ตนได้ลงพื้นที่จุดหลังเกิดเหตุตั้งแต่ช่วงเช้าถึงเวลา 22.00 น.

'ก้าวไกล' ชูร่างกฎหมายจัดระเบียบกลาโหม ปฏิรูปกองทัพ คืนอำนาจให้รมต.

ร.ท. ธนเดช เพ็งสุข สส.กทม.พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงแนวคิดการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม และกฎหมายศาลทหาร

'ธนาธร' ปลุกหนักมาก! ชวนลงสมัคร 'สว.ประชาชน' เข้าไปรื้อรัฐธรรมนูญ

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า แถลงเปิดตัวแคมเปญ ‘สว.ประชาชน’ ของคณะก้าวหน้า ว่า คณะก้าวหน้าเห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง สว.ในเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่จะมาถึง จึงอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนให้มาร่วมกันลงสมัคร สว.