ประสานกองทัพพม่า-กะเหรี่ยงเจรจาหยุดรบ KNU ตั้งเงื่อนไขถอนทหารหม่องออกก่อน

29 ธ.ค.2564 - แหล่งข่าวด้านความมั่นคงชายแดนไทยในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เปิดเผยถึงสถานการณ์การสู้รบระหว่างกองทัพพม่ากับกองกำลังของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (Karen National Union- KNU)บริเวณตอนใต้ของเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่าซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับอำเภอแม่สอด ทำให้มีผู้อพยพหลายพันคนข้ามแม่น้ำเมยมาหลบภัยในฝั่งไทย ว่าล่าสุดได้มีการประสานงานจากฝ่ายความมั่นคงของไทยเป็นตัวกลางติดต่อไปยังพลเอกมูตู เส่โพ ประธาน KNU เพื่อขอให้มีการเจรจากับกองทัพพม่า เนื่องจากขณะนี้กองทัพพม่าได้รับความเสียหายอย่างหนัก ขณะที่ไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากการสู้รบรุนแรงขึ้นตามลำดับ

แหล่งข่าวกล่าวว่า ท่าทีของพลเอกมูตู เส่โพ นั้นเห็นด้วยการตั้งโต๊ะเจรจามาตั้งแต่เริ่มต้นที่ทหารพม่าเปิดการรบกับทหารกะเหรี่ยง KNU กองพล 6 แต่เนื่องจาก พลเอกมูตู ไม่สามารถสั่งการไปยังหน่วยปฎิบัติได้ ดังนั้นการสู้รบจึงยืดเยื้อมาตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคมจนถึงปัจจุบัน ทำให้มีชาวกะเหรี่ยงและชาวพม่านับหมื่นคนต้องหนีออกจากบ้านมาหลบซ่อนและข้ามมาประเทศไทย

“ยังไม่แน่ว่าทหารกะเหรี่ยงกองพล 6 จะยอมเจรจาด้วยหรือไม่ เพราะกองทัพพม่าเป็นผู้ที่บุกโจมตีเขาก่อน แต่ตอนนี้ทหารพม่าเองก็เสียหายหนักและมีทหารเสียชีวิตนับร้อยคน ทำให้เขาเริ่มเห็นด้วยกับการเจรจา ซึ่งคงไปคุยกันที่กรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของพม่า” แหล่งข่าว กล่าว และว่าความต้องการของกองทัพพม่าคืออยากให้ KNU กองพล 6 กลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพ (Nationwide Ceasefire Agreement-NCA) เนื่องจากก่อนหน้าเกิดรัฐประหาร กองพล 6 และกองพล 7 ของ KNU อยู่ในกระบวนการ NCA แต่เมื่อเกิดรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทั้ง 2 กองพลได้ออกจากกระบวนการเจรจาดังกล่าว

ด้านพะโด่ซอตอนี (Padoh Saw Taw Nee) ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศ KNU กล่าวว่าขณะนี้ผลกระทบจากการสู้รบเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ แต่ตนยังไม่ได้ยินว่าทางการไทยจะขอให้มีการเจรจา แต่การอพยพของประชาชนที่หนีภัยการสู้รบนั้น มีความเป็นห่วงจากหลายฝ่าย และที่ผ่านมาหลายกลุ่มขอให้มีการเจรจาเพื่อยุติการสู้รบ แต่จากประสบการณ์ของ KNU ในการเจรจากับทหารพม่านั้น พบว่ากองทัพพม่า ไม่สามารถเชื่อถือได้ หากจะมีการเจรจาจริงต้องมีหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อให้มีการเจรจาเป็นไปอย่างยุติธรรม

“ที่ผ่านมาเจรจากันไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ แต่ก็ไม่เกิดผลใดๆ สุดท้ายทหารพม่าก็ก่อรัฐประหารในประเทศของตัวเอง สิ่งที่เราต้องการคือสันติภาพ สิ่งแรกคือทหารพม่าต้องถอนกองกำลังออกจากพื้นที่สู้รบทั้งหมดในทันที และต้องยุติการเข่นฆ่าทำร้ายประชาชน การกระทำที่ใช้อาวุธ ทิ้งระเบิดโดยเครื่องบิน ต้องยุติทั้งหมด หากยุติสิ่งเหล่านี้ได้ การเจรจาอาจเป็นขั้นต่อไปได้” พะโด่ซอตอนี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'บ้านแม่ปอคี' จ.ตาก เตรียมจัดงานสถาปนาพื้นที่คุ้มครองชุมชนกะเหรี่ยง

นายประหยัด เสือชูชีพ กลุ่มเยาวชนบ้านแม่ปอคี อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เปิดเผยว่าในวันที่ 26 เมษายน 2567 ชุมชนบ้านแม่ปอคีจะจัดงานสถาปนาพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์บ้านแม่ปอคี (ขุนแม่เหว่ย) เพื่อรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนไว้ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บข้อมูลศึกษาวิจัย

'ปานปรีย์' นำคณะเฉพาะกิจฯมาถึงแม่สอด ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการ (รมว.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และประธานกรรมการเฉพาะกิจเฉพาะกิจบริหารสถานการณ์อันเนื่องมาจากความไม่สงบในเมียนมา พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย (มท.)

'หมอมิ้ง' เผยนายกฯ ยกเลิกไปแม่สอด มอบ 'ปานปรีย์' ลงพื้นที่แทน

น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์ในเมียนมา บริเวณชายแดนไทยว่า ในฐานะรัฐบาล เรากำหนดจุดยืนชัดเจนว่า 1.การสู้รบกันระหว่างทหารพม่าและกองกำลังติดอาวุธ จะไม่ให้มีการล้ำเข้ามาในดินแดนประเทศไทย

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

‘ปานปรีย์’ ขีดเส้นชัดกองทัพทหารเมียนมาห้ามรุกล้ำอธิปไตยไทย

‘ปานปรีย์’ กำชับกองทัพทหารเมียนมา ห้ามรุกล้ำอธิปไตยและดินแดนไทย รวมทั้งห้ามมีลูกหลงการสู้รบมาฝั่งไทยด้วย เผย เตรียมประชุมวอร์รูมก่อนประชุม ครม. อังคารนี้ ก่อนนายกบินแม่สอด ติดตามสถานการณ์