โพลค้าน 'ทรู' ควบรวม 'ดีแทค' หวั่นผูกขาด ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก

15 ม.ค.2565 - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เสนอผลสำรวจ เรื่อง โพล ควบรวม ทรู ดีแทค กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,331 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5 – 14 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 คัดค้านการควบรวมกิจการทรู กับ ดีแทค ในขณะที่ร้อยละ 16.1 เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการ ตามลำดับ

ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงระดับความรู้ความเข้าใจมากถึงมากที่สุดของประชาชนต่อ การควบรวมธุรกิจ ทรู กับ ดีแทค พบว่า เกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.6 ระบุ ประเทศไทยและประชาชนจะตกอยู่ในมือนายทุนผูกขาด รองลงมาคือ ร้อยละ 50.3 หรือประมาณครึ่งหนึ่งระบุ จะเกิดการผูกขาดธุรกิจ ของ กลุ่มนายทุน ร้อยละ 45.7 ระบุ ค่าบริการจะแพงขึ้น หลังการควบรวมกิจการธุรกิจ ร้อยละ 41.4 ระบุ เกิดความไม่เป็นธรรม ในข้อตกลงสัญญา กับผู้บริโภค ร้อยละ 40.8 ระบุ การควบรวมกิจการธุรกิจของ ทรู กับ ดีแทค จะกลายเป็นการผูกขาดธุรกิจให้เหลือน้อยราย ลดทางเลือกของผู้บริโภคลง และร้อยละ 40.8 เท่ากัน ระบุจะเกิดการกีดกันการค้าของผู้ประกอบการรายย่อย และร้อยละ 39.7 เข้าใจว่า การควบรวมกิจการธุรกิจ ของ ทรู กับ ดีแทค จะส่งผลเสียต่อผู้บริโภค ตามลำดับ

นอกจากนี้ เมื่อถามถึงผลกระทบในอนาคตจากการควบรวมธุรกิจ ทรู กับ ดีแทค พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 51.3 ระบุ ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ร้อยละ 49.8 ระบุ ไม่เกิดการแข่งขัน ร้อยละ 49.2 ระบุ ราคาค่าบริการจะสูงขึ้น ร้อยละ 36.7 ระบุ เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภค ร้อยละ 24.3 ระบุ คุณภาพบริการจะแย่ลงและร้อยละ 17.2 ระบุ ประเทศสูญเสียรายได้ ตามลำดับ

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่คัดค้านการควบรวมกิจการทรูกับดีแทค ด้วยความรู้ความเข้าใจของประชาชนว่าประเทศไทยและประชาชนจะตกอยู่ในมือนายทุนผูกขาดและก่อให้เกิดการสูญเสียผลประโยชน์ทั้งผลประโยชน์ชาติและของประชาชนแต่ละคนโดยมีความคิดว่าการควบรวมจะทำให้ค่าบริการแพงขึ้น เกิดความไม่เป็นธรรมในข้อตกลงสัญญากับผู้บริโภค รวมทั้งเป็นการลดทางเลือกของผู้บริโภคและเกิดการกีดกั้นการค้าผู้ประกอบการรายย่อยที่ส่งผลเสียโดยรวมต่อผู้บริโภคเพราะจะเกิดผลกระทบในอนาคตในหลายมิติได้แก่ ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ไม่เกิดการแข่งขัน ราคาค่าบริการจะสูงขึ้น เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภค คุณภาพการบริการจะแย่ลง และประเทศจะสูญเสียรายได้ ที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้ไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจที่จะก่อให้เกิดความสมดุลในตลาดการค้าเสรีที่ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์มากขึ้นหลักการเปลี่ยนแปลงหรือคงสภาพที่เป็นอยู่ในเวลานี้

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ซูเปอร์โพล' การันตี 'ทักษิณ' เป็นผู้มีบารมี ปชช.วอนแก้ปากท้อง

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง จับกระแสโพล ทักษิณ ชินวัตร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ

กระทรวงทรัพยากรฯ ซีพี และทรู คอร์ปอเรชั่น จัดงานมอบรางวัล พร้อมเชิญชวนสัมผัสคุณค่าของธรรมชาติและสัตว์ป่า ในนิทรรศการภาพถ่าย “สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ” ประจำปี 2565 - 2566

กรุงเทพฯ 11 เมษายน 2567 – มุ่งมั่นเดินหน้าปลูกจิตสำนึกเยาวชนและคนไทยทั้งประเทศ สร้างแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์สัตว์ป่าและป่าไม้ ผ่านการประกวดภาพถ่าย ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 29

ทรู - ดีแทค คว้าคว้า 'ไป่ ทาคน' นายแบบสุดฮอตขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์ เจาะตลาดเมียนมา - กัมพูชา

ทรู คอร์ปอเรชั่น คว้า “ไป่ ทาคน” นายแบบสุดฮอตชาวเมียนมา ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์ทรู-ดีแทคเครือข่ายอันดับ 1 เพื่อพี่น้องชาวเมียนมา และกัมพูชาในไทย ชู ซิมเมียนมา คุ้มสุด 49 บาท เล่นเน็ตฟรี โซเซียล และเกมส์ฮิต

ไทยเฉยมาแรง! ไม่ยึดติดขั้วการเมือง เทใจให้ตามทิศผลประโยชน์

เปิดผลโพลความต้องการของประชาชน ต้องการเดินหน้าเงินดิจิทัล หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ แก้ปัญหาปากท้อง ขณะการเมือง ไม่ยิดติด พร้อมหนุนกลุ่มทำดี มีผลประโยชน์