
17 มี.ค. 2568 – นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลห่วงใยสุขภาพประชาชน เตือนเรื่องการใช้ยาที่ไม่ระวัง เสี่ยงไตวายเพราะโรคไต เป็นอีกหนึ่งโรคที่น่ากังวล เนื่องจากเป็นโรคที่ป่วยแล้วส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันผู้ป่วยเป็นโรคไตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และหนึ่งในสาเหตุการเกิดโรค คือ ปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล โดยข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นทุกปีมากถึง 1.12 ล้านคน ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจกว่า 1.6 ล้านล้านบาทต่อปี
นายคารม แนะวิธีเลี่ยงไตวายด้วยการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ป้องกันการเกิดโรคไตจากการใช้ยา โดยยาที่มักก่อให้เกิดอันตรายต่อไต มีดังนี้ กลุ่มยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นต้น กลุ่มที่ก่อให้เกิดปัญหามากที่สุด ยาต้านจุลชีพบางชนิด เช่น อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาได้อีก โดยเฉพาะยาชุดที่ผิดกฎหมายมักมียาที่เป็นพิษต่อไตอย่างสเตียรอยด์หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์รวมอยู่ รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ซึ่งมักลักลอบใส่สารที่อันตรายยาไม่เหมาะสม สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายต่อไต
นอกจากยาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์ที่แอบอ้างสรรพคุณว่าบำรุงไตหรือล้างไต ซึ่งไม่สามารถโฆษณาสรรพคุณนี้ได้ถือว่าผิดกฎหมาย ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แม้จะไม่ได้เป็นพิษต่อไตโดยตรง แต่อาจสร้างปัญหาได้ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยละเลยการดูแลไต จนโรคลุกลามได้ ส่วนการสังเกตอาการโรคไตนั้น วิธีที่ได้ผลชัดเจนที่สุดคือการเจาะเลือดตรวจ แต่เราสามารถสังเกตอาการสัญญาณเตือนโรคไตได้ ดังนี้ เหนื่อยง่าย บวม ปวดสีข้างด้านหลัง ปัสสาวะน้อยมากหรือปัสสาวะมีฟอง แต่เพื่อให้มั่นใจควรทำการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของไต ขอแนะการป้องกันการเกิดโรคไตจากการใช้ยา 1.หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาแก้ปวดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ 2.หลีกเลี่ยงการใช้ยาเอง แนะนำปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา 3.ไม่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ยา อาหารเสริมหรือยาจากสมุนไพรที่ผิดกฎหมายไม่ได้ขึ้นทะเบียน โอ้อวดสรรพคุณ รวมถึงยาชุด
“รัฐบาลเน้นย้ำให้ประชาชนเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และผู้สูงอายุ โรคไตเรื้อรัง คือ สภาวะที่ไตถูกทำลายนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน มักไม่มีอาการชัดเจนในระยะแรกทำให้หลายคนไม่รู้ตัวจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะไตวาย การตรวจคัดกรองโรคไตตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการชะลอความเสื่อมของไตและลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน” รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สวนแรง! ลูกนอนใส่แว่นโชว์ไข้-พ่อปางตายอยู่ รพ. 6 เดือนไม่มีรูป
แพทองธาร ชินวัตร นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล สวมแว่น–ใส่น้ำเกลือ บอกพ่อปางตายยังไม่มีภาพ ลูกเป็นไข้โชว์ซะเต็มตา
พปชร. เย้ยไม่บ้าลงเรือใกล้ล่ม รู้ทัน 'ทักษิณ' ห่วงลูกโดนสอย ไม่กล้าทิ้ง ภท.
'ชัยวุฒิ' เปรียบรัฐบาลเหมือนเรือใกล้ล่ม ใครคิดจะไปลงก็บ้าแล้ว ย้ำ พปชร. ชัดเจนไม่เอากาสิโน 'ทักษิณ' ห่วงลูกโดนสอย ยังไม่กล้าทิ้ง ภท. รอจับมือพรรคส้มเลือกตั้งครั้งหน้า
พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า ร้อนสลับฝน พายุฤดูร้อนกระหน่ำยาว
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 25 เม.ย. - 9 พ.ค. 68
เตือนไม่ฟัง! สามีโพสต์ภาพ 'อิ๊งค์' นอน รพ. ให้น้ำเกลือ
นายปิฎก สุขสวัสดิ์ สามี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้โพสต์สตอรี่ไอจีเป็นภาพนายกฯ ที่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจากอาการป่วยไข้สูง โดยนายกฯนอนอยู่บนเตียง
โวยรัฐบาล 2 ปี ไร้น้ำยาแก้ปากท้อง ขายปาล์ม 1 กิโล ซื้อขายไข่ไม่ได้สักฟอง
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อนิจจา!!! คนจนจะอดตาย ขายปาล์ม 1 โล ซื้อไข่ไม่ได้สักฟอง
เช็กเลย! 'พายุฤดูร้อน' ถล่มจังหวัดไหนบ้าง 26 เม.ย.-1 พ.ค.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568) ฉบับที่ 3 โดยมีใจความว่า