ประกาศ ฉ.1 เตือนน้ำทะเลหนุน-น้ำเค็มรุกเจ้าพระยา 14-18 ก.พ.นี้

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ออกประกาศเตือนประชาชนฉบับ1 ให้เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและความเค็มรุกตัวบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างวันที่ 14-18 ก.พ.2565

13 ก.พ.2565-กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 1/2565 เรื่อง  เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและความเค็มรุกตัวบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ระบุว่า กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามข้อมูลระดับน้ำทำนายสูงสุด – ต่ำสุด ปี 2565  ของ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ คาดการณ์จะเกิดน้ำทะเลหนุนสูงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน 2565โดยข้อมูลฐานน้ำขึ้นสูงสุดแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าสถานีป้อมพระจุลจอมเกล้า จะเกิดภาวะน้ำทะเลขึ้นเต็มที่ ในช่วงวันที่ 14 – 18 กุมภาพันธ์ 2565 ระดับน้ำอยู่ที่ +1.40 ม.รทก.  ในช่วงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2565 ระดับน้ำอยู่ที่ +1.50 ม.รทก. และในช่วงวันที่ 16 – 18 มีนาคม 2565 ระดับน้ำอยู่ที่ +1.25 ม.รทก. ประกอบกับอิทธิพลของลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ในช่วงดังกล่าวนี้เกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูง คาดว่าจะทำให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมส่งผลกระทบต่อบริเวณพื้นที่ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ รวมทั้งเกิดน้ำเค็มรุกตัวเข้าสู่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำใช้อุปโภคบริโภค และการใช้น้ำเพื่อการเกษตรได้

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โปรดดำเนินการ ดังนี้1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำ และเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำตามริมแม่น้ำทราบล่วงหน้า

2. เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที 3. ติดตามสถานการณ์น้ำทะเลหนุนในช่วงเวลาดังกล่าว และตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และประตูระบายน้ำ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและเร่งผลักดันน้ำเค็มโดยเร็ว

4. ปรับแผนการผลิตน้ำประปาเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อคุณภาพน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการน้ำใช้อุปโภคบริโภค และรวมทั้งการใช้น้ำเพื่อการเกษตรบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้แก่ประชาชนทราบล่วงหน้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำทั้งประเทศ เร่งกักเก็บรับมือ 'เอลนีโญ'

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศประจำวันว่า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

24 จว.เช็กด่วน! ‘กอนช.’ เตือนช่วง 5-10 ก.ย.เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก

กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง

นายกฯ ติดตามพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม-แล้ง ล่วงหน้า 6 เดือน พร้อมรับมือสถานการณ์ได้ทันท่วงที

นายกฯ ติดตามประเมินวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม-แล้ง ล่วงหน้า 6 เดือน ตามปริมาณฝนคาดการณ์ ONE MAP ย้ำประชาชนติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ได้ทันท่วงที

'บิ๊กตู่' กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ

นายกฯ เตรียมพร้อมรับมือผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับฟังปัญหา เพื่อนำมาปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง