กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำทั้งประเทศ เร่งกักเก็บรับมือ 'เอลนีโญ'

8 ก.ย. 2566 – กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศประจำวันว่า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.พิษณุโลก (125) จ.ตราด (89) จ.มุกดาหาร (72) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (48) จ.สงขลา (47) จ.ลพบุรี (46)

ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,919 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 45,212 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) (56%)

กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 17/2566 ในช่วงวันที่ 5-10 ก.ย. 66 บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก แพร่ น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ และกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ มุกดาหาร นครพนม และนครราชสีมา ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ภาคกลาง จ.อุทัยธานี และกาญจนบุรี ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช ระนอง และภูเก็ต และเฝ้าพื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา จ.น่าน

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำกำลังพลพร้อมยานพาหนะเครื่องจักรกล รยบ.เทท้าย จำนวน 2 คัน และรถขุดตัก จำนวน 1 คัน ร่วมกับ อบต.หนองสูงใต้ หน่วยงานราชการ ประชาชนในพื้นที่ ดำเนินการขุดลอกวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน และกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตรในช่วงหน้าแล้ง บริเวณห้วยลำแสด บ้านดอนกลาง ม.2 ต.หนองสูงใต้ อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

กอนช. เร่งกักเก็บน้ำไหลเข้าเขื่อนจากฝนตกเพิ่มในช่วงนี้พร้อมส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรทดแทนการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำ กอนช. ในช่วงนี้มีปริมาณฝนตกที่เพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ส่งผลดีในเรื่องของการเติมน้ำต้นทุนให้แก่แหล่งน้ำต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันภาพรวมฝนของประเทศยังคงต่ำกว่าค่าปกติอยู่ 18% ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศลดลงจากต้นฤดูฝนจากผลกระทบของสภาวะเอลนีโญ ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำในการช่วยเหลือการเพาะปลูกของเกษตรกรจนกว่าจะถึงช่วงเก็บเกี่ยว ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ ใหญ่ทั้งประเทศ สะสม 1,201 ล้าน ลบ.ม.และเนื่องจากปัจจุบันยังคงมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น จึงคาดการณ์ว่าจะมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือบริเวณชายขอบและตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันตก รวมถึงภาคกลางที่ปัจจุบันยังคงมีฝนน้อยมากด้วย และคาดว่าจะมีน้ำไหลเข้าอ่างฯ ใหญ่ ในสัปดาห์หน้าเพิ่มอีก 3,205 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะต้องกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการส่งเสริมอาชีพทดแทนในพื้นที่ควบคุมไม่ให้มีการเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง โดยจะมีการจัดทำเมนูอาชีพทางเลือกต่างๆ รวมทั้งแผนงาน โครงการ และงบประมาณ เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการควบคุมการเพาะปลูกเพื่อสงวนปริมาณน้ำไว้ให้เพียงพอสำหรับฤดูแล้งที่จะมาถึง ซึ่งจะยังคงอยู่ในสภาวะเอลนีโญอย่างต่อเนื่อง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า ระวังฝนฟ้าคะนอง ยิ่งร้อนพายุยิ่งแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชั่วโมง : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 18 เม.ย. - 2 พ.ค. 68

อุตุฯ เตือนอากาศร้อน ฝนฟ้าคะนอง 50 จังหวัด ลมกระโชกแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีอากาศร้อน ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง

สทนช. ออกประกาศหลายจังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 15-17 เม.ย.

นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติฉบับที่ 1/2568เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากช่วงวันที่ 15-17 เม.ย. นี้

ฝนถล่มน้ำป่าหลาก แพแม่น้ำปิงถูกกระแสน้ำซัดเสียหายหนัก

นายเกื้อกูล มานะสัมพันธ์สกุล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกอย่างหนักตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 13 เม.ย. จนถึงช่วงเช้าวันนี้(14 เม.ย.) โดยเฉพาะคืนที่ผ่านมา

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ระวังจัดกิจกรรมสงกรานต์กลางแจ้ง

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่จนถึงวันที่ 14 เมษายน 2568) ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนพายุฝนฟ้าคะนอง 37 จังหวัด ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคเหนือและภาคกลาง ยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่