'บิ๊กป้อม' ส่ง 'ธรรมศักดิ์' ผนึกกำลังทีมไทยแลนด์ เร่งแก้ค้ามนุษย์ มุ่งขึ้นเทียร์ 2

28 ก.พ.2565 - พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ วิชชารยะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operation Procedure : SOP) การคัดแยกผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กระทรวงแรงงาน โดยมี พล.ต.ต.นันทชาติ ศุภมงคล ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้แทนกระทรวงแรงงาน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) เข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย โอกาสนี้ นางนภสร ทุ่งสุกใส ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน ร่วมบรรยายในหัวข้อ นโยบายการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ณ ห้องเพชรชมพู ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพมหานคร

พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความมุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และผลักดันให้ประเทศไทยกลับขึ้นสู่สถานะ เทียร์ 2 ในการจัดลำดับตามรายงานสถานการณ์การต่อต้านการค้ามนุษย์ (TIP Report) ให้ได้ในปี 2565 ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลภารกิจด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ จึงได้กำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเต็มที่ ท่านได้มอบหมายให้ผมในฐานะประธานคณะอนุกรรมการร่วมว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ ไทย - สหรัฐอเมริกา (ฝ่ายไทย) เร่งขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากในปี พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ ประจำปี 2564 (TIP Report 2021) โดยประเทศไทยได้รับการจัดระดับให้อยู่ ใน Tier 2 Watch list ทำให้ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการยกระดับการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ทั้งนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ สหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่รายงานการประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์กลางปี ประจำปี ค.ศ. 2022 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยได้กล่าวถึงพัฒนาการที่สำคัญ ในเรื่องการจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เพื่อให้ที่พักพิงและบริการแก่บุคคลที่อาจเป็นผู้เสียหายก่อนการคัดแยก การแก้ไขกฎกระทรวงแรงงานซึ่งกำหนดให้นายจ้างทำสัญญาจ้างในภาษาที่ลูกจ้างเข้าใจ และการยกระดับศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ของกระทรวงแรงงาน ขึ้นเป็นหน่วยงานระดับกอง และข้อท้าทายที่รัฐบาลไทยต้องเร่งดำเนินการในเรื่อง การจัดทำแนวปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการตามมาตรา 6/1 ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้กำหนดให้การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้เป็นวาระแห่งชาติ และให้เร่งการดำเนินการตามข้อเสนอแนะใน TIP Report ของสหรัฐอเมริกา เพื่อยกระดับให้ประเทศไทยกลับขึ้นสู่ สถานะ Tier 2 ในปี 2565 อาทิ การยกระดับฝ่ายศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ขึ้นเป็นสำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงานซึ่งเป็นหน่วยงานถาวรเทียบเท่ากอง การอบรมพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การออกกฎกระทรวงแรงงานให้ใช้สัญญาจ้างแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ 4 ภาษา การจัดตั้งศูนย์คัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (ดอนเมือง)

ในวันนี้ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operation Procedure : SOP) และนายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงานได้มอบหมายให้สำนักเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ดำเนินการจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการในวันนี้ ซึ่งเป็นการจัดทำขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติ ในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการบังคับใช้แรงงาน ซึ่งการมีขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติ (SOP) จะเป็นกลไกสำคัญที่จะยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถคัดแยกผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และส่งต่อคดีที่อาจเกิดขึ้นไปยังหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ เทียบเท่ากับมาตรฐานขั้นต่ำในกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ค.ศ. 2000 (TVPA) ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับในรายงานการค้ามนุษย์เพื่อมุ่งสู่ระดับ Tier 2

“ผมขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่จะร่วมกันผนึกกำลังกับทุกภาคส่วน เป็นทีม Thailand ในการขับเคลื่อนการต่อต้านการค้ามนุษย์ ขจัดการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ในประเทศไทย และเพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของสหรัฐฯ และได้รับการจัดอันดับในรายงานการค้ามนุษย์เพื่อมุ่งสู่ระดับ Tier 2 ” พล.ต.อ.ธรรมศักดิ์ กล่าวในท้ายสุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" เตรียมเปิดบิ๊กเซอร์ไพรส์ มอบของขวัญวันแรงงาน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 400 บาท

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงาน กล่าวถึงของขวัญสำหรับผู้ใช้แรงงาน ในวันแรงงาน 1 พ.ค.2567 นี้ว่า

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

ลูกจ้างโรงแรมเฮ 13 เม.ย เริ่มรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท เตือนนายจ้างไม่จ่ายผิดกฎหมาย

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานในประเภท

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)