'กลาโหม' แจงยิบงบกองทัพ ตั้งเป้าลด 'นายพล' 50% เผยงบลับ 4 ภารกิจ สตง.ตรวจสอบ

ปลัดกลาโหม ชี้แจง กมธ.วิสามัญงบปี 66 ยันแผนลดนายพล 50% ปี 70 เผยยอดค่ารถประจำตำแหน่งเทียบเท่าขรก.กระทรวงอื่น พลเอก-พลโท รับ 41,000 บาท ส่วนพลตรี 31,800 บาท พันเอกพิเศษ 25,400 บาท ยันงบลับจำเป็นต่อภารกิจทหาร ระบุเบิกจ่ายต้องรายงาน นายกฯ -รมว.กลาโหม ทุก 3 เดือน มี สตง.ตรวจสอบซ้ำ ยัน จัดซื้อ "ยูเอวี" ดำเนินการถูกต้อง พร้อมยันทอ. ตั้งงบซื้อ F-35 มีแผนรองรับ หากไม่ผ่านสภาครองเกรส ส่วนเรือดำน้ำขาดเครื่องยนต์ แก้ปัญหาฉันท์มิตร ด้าน"บิ๊กแก้ว" เปิดเพลงกล่อมกมธ.วิสามัญงบฯ ปี66

18 ก.ค.2565 - เมื่อเวลา 13.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อพิจารณางบของกระทรวงกลาโหม วงเงิน 197,292,732,000 ล้านบาท พล.อ.วรเกียรติ รัตนานนท์ ปลัดกระทรวงกลาโหม กล่าวตอบข้อซักถามกมธ.วิสามัญฯ เกี่ยวกับแผนปรับลดกำลังพลว่า ตามนโยบายรมว.กลาโหมจะต้องลดกำลังพลภาพรวมให้ได้ 5% ในปี 2570 ส่วนเกณฑ์ทหารในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาลดการเกณฑ์ต่อเนื่อง เช่นปีนี้เรียกเกณฑ์ 81,000 คน จากยอดผู้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร 500,000 คน คิดเป็น 15.9%

นอกจากนี้กองทัพบก มีโครงการสมัครใจเป็นทหาร โดยมีสถิติผู้สมัครใจเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันกองทัพพยายามเพิ่มแรงจูงใจให้เข้ามาเป็นทหารกองประจำการ อย่างไรก็ตามยืนยันว่ากองทัพพิจารณาเรียกเกณฑ์ทหารในจำนวนที่เหมาะสม และรอบคอบ เพื่อไม่ให้เป็นภาระด้านงบประมาณ

พล.อ.วรเกียรติ กล่าวต่อว่า ส่วนตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นทหารชั้นนายพลตั้งแต่พลตรีถึงพลเอก มีนโนบายลด 50% ปี 2570 ทุกปีที่มีการปรับย้ายจะลดตามกรอบที่กำหนด ปัจจุบันลดว่า 200 กว่านาย คิดเป็น 2.5% ขณะเดียวกันลดจำนวนนักเรียนนายร้อยตามสัดส่วนเมื่อเติบโตไปในอนาคตสอดคล้องอัตรากำลังพลและตำแหน่ง สำหรับเงินค่ารถประจำตำแหน่ง ถือเป็นตำแหน่งระดับรองนายพล รองเจ้ากรม เช่น พันเอกพิเศษ ก่อนหน้านี้หลักเกณฑ์เดิมมีรถให้ แต่หลังจากนั้นเปลี่ยนให้เบิกเป็นค่ารถแทนเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนกระทรวงอื่น โดยพันเอกพิเศษ จำนวน 25,400 บาท ส่วนพลตรี จำนวน 31,800 บาท ขณะที่พลโทและพลเอก จำนวน 41,000 บาท

นอกจากนี้สภากลาโหมมีมติออกหลักเกณฑ์ห้ามหน่วยเพิ่มอัตรา ห้ามเปลี่ยนคำแหน่งประจำเป็นตำแหน่งหลัก ส่วนเรื่องรถยนต์ประจำตำแหน่งของปลัดกระทรวงกลาโหม รองปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเหล่าทัพนั้น ยืนยันไม่ใช่รถประจำตำแหน่ง แต่เป็นรถที่เสริมสร้างการปฏิบัติงาน มีระบบสั่งการสามารถควบคุมการทำงานเพื่อตอบสนองภารกิจเร่งด่วน จึงจำเป็นต้องจัดหารถที่มีสมรรถนะสูง ไม่ได้ใช้งบลับ หรืองบพิเศษ เป็นงบปกติทั่วไป

พล.อ.วรเกียรติ กล่าวอีกว่า การใช้งบลับของกองทัพยืนยันว่างบลับมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจกระทรวงกลาโหม และการใช้จ่ายเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดให้ใช้ในภารกิจเกี่ยวกับ 1.ความมั่นคงและป้องกันประเทศ 2. ยาเสพติด 3.งานด้านการข่าว 4. ภารกิจต้องปกปิดผลประโยชน์เกี่ยวกับเศรษฐกิจ หรือความก้าวหน้าเทคโนโลยี ต้องรายงานนายกฯและ รมว.กลาโหม ทุก 3 เดือน ว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง นอกจากนี้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเมื่อปี 2564 ในการตรวจสอบการใช้งบลับ และผู้ว่าฯ สตง.เคยเดินทางมาพบตนและผบ.เหล่าทัพ และได้ให้ความร่วมมืออย่างดีมาตลอดในการให้ข้อมูล อีกทั้งยังมีคณะกรรมการควบคุมการเบิกจ่ายงบลับ

พล.อ.วรเกียรติ กล่าวว่า ขณะที่เรื่องยูเอวีตรวจการณ์ไกลฝั่งของกองทัพเรือนั้น ยืนยันว่า การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ หรือโครงการต่างๆที่มีมูลค่าเกิน 500 ล้านบาท ก็จะมีการเสนอขึ้นมาให้ปลัดกระทรวงกลาโหมอนุมัติ และมีหน่วยงานสำนักงบประมาณ กรมพระธรรมนูญทหารพิจารณาดูรายละเอียดความถูกต้องของโครงการ มีคณะกรรมการดำเนินการ หากตรวจสอบแล้วพบว่าถูกต้องก็อนุมัติได้ มีการตรวจสอบทั้งราคากลาง แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ทีโออาร์ และคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอว่าเป็นไปตามขอบเขตงานหรือไม่ อีกทั้งยังมีคณะกรรมการคุณธรรมร่วมตรวจสอบด้วย ก่อนที่ตนจะเซ็นอนุมัติได้อ่านเอกสารแล้วว่าถูกต้องครบถ้วน

นอกจากนี้ พล.อ.วรเกียรติ ชี้แจงเพิ่มเติมถึงการแก้ไขปัญหาเรือดำน้ำไม่มีเครื่องยนต์ว่า เราพยายามแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับทั้ง 2 ฝ่ายโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศ แต่กระทรวงกลาโหมต้องปกป้องสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างดีที่สุด พยายามหาแนวทางแก้ไขปัญหาฉันท์มิตรที่ดีต่อกัน ส่วนการดำเนินการตามขั้นตอนเป็นเรื่องของกองทัพเรือเป็นผู้ดำเนินการหลัก ส่วนกระทรวงกลาโหมจะเป็นผู้กำกับนโยบาย ตอนทำทีโออาร์ก็ไม่คิดว่าเยอรมันจะไม่ขายเครื่องยนต์เรือดำน้ำให้จีน ทั้งที่ที่ผ่านมาเขาขายให้มาตลอด

พล.อ.วรเกียรติ กล่าวต่อว่า ส่วนการจัดซื้อเครื่องบินF-35 ของกองทัพอากาศนั้น ยืนยันว่าช่วงแรกกองทัพอากาศได้ตั้งงบประมาณในการจัดหาเครื่องบินทดแทนโดยตั้งงบในปี 2561 แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะเป็นเครื่องบินของประเทศไหน หลังจากนั้นกองทัพอากาศมีการพัฒนาแผนในการจัดหาที่มีความชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ในการเสนอซื้อเครื่องบินจะต้องมีงบประมาณรองรับ เพื่อเป็นหลักประกัน ส่วนกระบวนการจัดซื้อที่จะต้องผ่านสภาคองเกรสของสหรัฐฯนั้น ต้องเป็นเรื่องของสหรัฐฯที่ต้องดำเนินการ ในส่วนของเราแค่ขอสนับสนุน และแจ้งความประสงค์ไปว่าต้องการเครื่องบินที่ทันสมัย ทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับสหรัฐฯในการดำเนินเร่งรัดให้อย่างไร และเชื่อทางกองทัพอากาศมีแผนรองรับอยู่แล้ว หากการดำเนินการล้าช้า หรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนจบการชี้แจงงบประมาณในส่วนของกระทรวงกลาโหม และกองบัญชาการกองทัพไทย ทาง พล.อ.เฉลิมพล ได้กล่าวขอขอบคุณกมธ.วิสามัญฯที่ให้เหล่าทัพได้มาชี้แจง จากนั้นขออนุญาตประธานในที่ประชุมเปิดเพลง "กองทัพไทยหัวใจเพื่อประชาชน" เพื่อให้กมธ.วิสามัญฯได้เข้าใจภารกิจทหาร เพราะตนพูดไม่เก่ง จึงให้ลูกน้องรวบรวมว่ากองทัพได้ทำอะไรบ้าง โดยประธานอนุญาต เพื่อผ่อนคลายบรรยากาศการประชุม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ก้าวไกล' ชูร่างกฎหมายจัดระเบียบกลาโหม ปฏิรูปกองทัพ คืนอำนาจให้รมต.

ร.ท. ธนเดช เพ็งสุข สส.กทม.พรรคก้าวไกล ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงแนวคิดการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม และกฎหมายศาลทหาร

เปิดภาพนักการเมืองหลายพรรคร่วมประชุม 'ผู้ช่วยรัฐมนตรี'

นายสุทิน คลังแสง รมว.กห. ให้การต้อนรับคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ในการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2567 ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ โดยมี พล.อ.อ.สุรพล พุทธมนต์ และ นายจำนงค์ ไชยมงคล ผช.รมต.ประจำ กห. เป็นประธาน

'ก้าวไกล' หนุนแก้กฎหมายสกัดรัฐประหาร ลั่นกองทัพต้องอยู่ใต้รัฐบาลพลเรือน

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม มีข้อเสนอให้สภากลาโหมเห็นชอบร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่…)

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

'โรม' เขย่ารัฐบาล ทำประชามติ 2 ครั้ง ไม่เปลืองงบฯ ปชช.แบกรับความสูญเสีย

“รังสิมันต์’ มอง ทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว เหตุทำ 3 ครั้ง เปลืองงบ-เสียเวลา เตือน หากทุกฝ่ายกลัวการตีความกฎหมาย คนแบกรับความสูญเสียคือ ปชช.  เรียกร้อง ‘วันนอร์’ รีบบรรจุวาระแก้รธน. เข้าสภาฯ

ทอ. เตรียมส่ง UAV สนับสนุนรักษาความปลอดภัยแนวชายแดน อ.แม่สอด

เพจ กองทัพอากาศไทย Royal Thai Air Force ได้เผยแพร่ภาพ และข้อมูลว่า จากสถานการณ์ความไม่สงบตามแนวชายแดนด้านตรงข้าม อ. แม่สอด จว.ตาก กองทัพอากาศ โดยศูนย์ยุทธการทางอากาศ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ