จากวาระแห่งชาติ สู่การยอมรับในเวทีโลก!ทำความรู้จัก BCG Economy Model แนวคิดเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ที่ไทยมุ่งผลักดันในเอเปค 2022

ที่ผ่านมาทรัพยากรถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองและไม่รู้คุณค่า จนผืนดินผืนป่าเสื่อมโทรมอย่างหนัก เกิดภัยพิบัติธรรมชาติจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ส่งผลให้เศรษฐกิจและสังคมขาดเสถียรภาพ

เสถียรภาพ แต่ในปัจจุบัน ทั่วโลกได้หันมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า จึงเป็นโอกาสดีที่ไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค 2022 จะผลักดันแนวคิดที่ช่วยพัฒนาประเทศไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม (Balance) ซึ่งเป็นหนึ่งในหัวข้อหลักของการประชุม ด้วยการส่งเสริมการใช้ BCG Economy Model ซึ่งเป็นกลไกที่มีศักยภาพสูงในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศได้อย่างทั่วถึง

สามารถกระจายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในบางสาขาที่ประเทศไทยมีศักยภาพได้ โดย BCG Economy Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่จะพัฒนา 3 เศรษฐกิจ ไปพร้อมกัน

ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเน้นการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม และการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน

BCG Economy Model ถือเป็นยุทธศาสตร์การพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และถือเป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดความคุ้มค่าในระยะยาว โดยรัฐบาลส่งเสริมการนำ BCG Economy Model มาใช้ทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม

สนับสนุนให้ประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการพัฒนาผลผลิต และผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวาระของโลก ไทยได้มีการผลักดันเอกสาร “เป้าหมายกรุงเทพเรื่องเศรษฐกิจ BCG” (Bangkok Goals on BCG Economy)

ซึ่งเป็นเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคปีนี้ เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นของเอเปคในการก้าวไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Bangkok Goals on BCG Economy: ความสร้างสรรค์ของไทยในการผลักดันการเติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุม ยั่งยืน

การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 นำมาซึ่งผลสำเร็จหลายประการ อาทิ การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP

นายกฯ กำชับปรับโฉมประเทศด้วย BCG สร้างมูลค่าเศรษฐกิจแตะ 4.4 ล้านล้าน ภายในปี 70

'ธนกร' เผย นายกฯ กำชับปรับโฉมประเทศไทยด้วย BCG คาดสร้างมูลค่าเศรษฐกิจแตะ 4.4 ล้านล้าน หรือ 24% ของ GDP ภายในปี 2570 เพื่อวางอนาคตให้ประชาชนพ้นจากความยากจน ประเทศพ้นกับดักรายได้ปานกลาง ลั่นทุกตารางนิ้วของประเทศจะได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โครงการ Care the Bear ลดโลกร้อนเป็นรูปธรรมวัดผลได้ใน “ศูนย์ข่าวสีเขียว” ขานรับเป้าหมายการประชุมเอเปค 2565 สู่เศรษฐกิจ BCG อย่างสมดุลและยั่งยืน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ กระทรวงการต่างประเทศ กลุ่มบริษัทบางจาก เอสซีจี และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ ร่วมขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำในการประชุมเอเปค 2565

ชู ความ “BALANCE” จากสถานที่จัดการประชุมเอเปคสู่ของที่ระลึกสื่อมวลชน

แนวคิดหลักของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ คือ OPEN.CONNECT.BALANCE ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของแนวคิดหลักดังกล่าวคือ “Balance.”

ผู้นำเอเปคร่วมรับรอง เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ปิดฉาก APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างงดงาม

ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นการประชุมช่วงที่ 1 ในหัวข้อ “การเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน”

ผู้นำเอเปคร่วมรับรอง เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ปิดฉาก APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างงดงาม

ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นการประชุมช่วงที่ 1 ในหัวข้อ “การเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน”