ส่งเสริมการท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้นานาประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องจำกัดการเดินทางระหว่างกัน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทยอย่างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC 2022 จึงเป็นโอกาสในการผลักดันแนวคิด “การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (Regenerative Tourism)” ในการประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปคครั้งที่ 60 และการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11

โดยในการประชุมดังกล่าว ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการส่งเสริมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวของแต่ละเขตเศรษฐกิจ โดยไทยมีการนำเสนอตัวอย่างนโยบาย และแนวทางมาตรการในการช่วยเหลือเยียวยา รวมถึงการส่งเสริมแรงงานภาคการท่องเที่ยวภายหลังโควิด-19 นอกจากนี้ ไทยยังได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม มุ่งเน้นไปที่การเดินทางท่องเที่ยวในช่วงหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นการพลิกฟื้นการท่องเที่ยวให้นำไปสู่ความยั่งยืน และเพื่อความอยู่ดี กินดี ของทุกภาคส่วน โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อแสดงความสร้างสรรค์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อสะท้อนแนวคิด BCG Economy Model ซึ่งเป็นแนวคิดหลักที่ไทยต้องการผลักดันในการประชุมครั้งนี้ รวมทั้งเพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวให้แก่เศรษฐกิจระดับท้องถิ่น

ตลอดระยะเวลาการประชุม ทุกเขตเศรษฐกิจได้ร่วมกันเจรจาร่างถ้อยแถลงจนสุดความสามารถ โดยสามารถรับรองเอกสารได้ 2 ฉบับ ได้แก่ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน และ 2) คู่มือเอเปคสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว ฉบับปรับปรุง ซึ่งเอกสารทั้งสองฉบับนี้เป็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ล้วนเป็นก้าวสำคัญของเอเปคที่จะนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 ต่อไปได้

ในปี 2565 - 2566 ประเทศไทยกำหนดให้เป็นปี Visit Thailand Year  เพื่อพลิกฟื้นภาคการท่องเที่ยวไทยทั้งระบบอย่างสมดุลในทุกมิติเพื่อสร้างประสบการณ์การเดินทางที่มีความหมายและทรงคุณค่าให้กับนักท่องเที่ยว (Meaningful Travel)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดุสิตโพลเผยคนไทยอยากเห็นรัฐบาลใหม่หนุนท่องเที่ยวในประเทศ สร้างจุดขายใหม่

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “รัฐบาลใหม่ กับ การท่องเที่ยว” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,114 คน สำรวจระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม -1 กันยายน 2566 พบว่า ในช่วง Green Season (ช่วงฤดูฝน) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.13 มีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยว

ทส. ผนึกกำลัง 3 รัฐวิสาหกิจ (อ.ส.พ. , อ.อ.ป. , อสส.) ลงนาม MOU ส่งเสริมการท่องเที่ยว ภายใต้แคมเปญ “บัตรเดียว ... เที่ยวทุกที่”

วันนี้ (25 สิงหาคม 2566) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) โครงการความร่วมมือในการส่งเสริมการท่องเที่ยว

Bangkok Goals on BCG Economy: ความสร้างสรรค์ของไทยในการผลักดันการเติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุม ยั่งยืน

การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคของไทยในปี 2565 นำมาซึ่งผลสำเร็จหลายประการ อาทิ การผลักดันให้เอเปคทบทวนการหารือเรื่องเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP

โครงการ Care the Bear ลดโลกร้อนเป็นรูปธรรมวัดผลได้ใน “ศูนย์ข่าวสีเขียว” ขานรับเป้าหมายการประชุมเอเปค 2565 สู่เศรษฐกิจ BCG อย่างสมดุลและยั่งยืน

ตลาดหลักทรัพย์ฯ กระทรวงการต่างประเทศ กลุ่มบริษัทบางจาก เอสซีจี และบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือโออาร์ ร่วมขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำในการประชุมเอเปค 2565

ชู ความ “BALANCE” จากสถานที่จัดการประชุมเอเปคสู่ของที่ระลึกสื่อมวลชน

แนวคิดหลักของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ คือ OPEN.CONNECT.BALANCE ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญของแนวคิดหลักดังกล่าวคือ “Balance.”

ผู้นำเอเปคร่วมรับรอง เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ปิดฉาก APEC 2022 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพอย่างงดงาม

ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายน เป็นการประชุมช่วงที่ 1 ในหัวข้อ “การเติบโตที่สมดุล ครอบคลุม และยั่งยืน”