'อลงกรณ์' ผิดหวัง 'ไตรรงค์' ใส่ร้ายกล่าวหาปชป.ยันไม่มีซื้อเสียงเลือกกก.บห.


'อลงกรณ์' ผิดหวัง 'ดร.ไตรรงค์' ใส่ร้ายกล่าวหาพรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันเป็นรองหัวหน้าพรรค4สมัย ไม่เคยพบการซื้อเสียงในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรค โต้กลับมีการเสนอเงื่อนไขแลกกับการย้ายพรรค

3 มี.ค.2566 - นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนกล่าวหาพาดพิงพรรคประชาธิปัตย์ว่ามีการซื้อเสียงในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรค ว่า ในฐานะที่ผมเป็นคณะกรรมการบริหารพรรคหลายสมัยและเป็นรองหัวหน้าพรรค 4 สมัยจนถึงทุกวันนี้โดยได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของพรรคทุกครั้งยืนยันว่า ตนไม่เคยซื้อเสียงในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคและไม่เคยพบเห็นว่ามีการซื้อเสียงในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคแต่อย่างใดจะมีก็แต่การหาเสียงตามวิถีทางประชาธิปไตยของผู้สมัครในตำแหน่งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคในแต่ละยุคแต่ละสมัย

ส่วนที่ดร.ไตรรงค์ระบุว่า อุดมการณ์ของพรรคอ่อนลงนั้น นายอลงกรณ์ กล่าวว่า เป็นมุมมองส่วนตัวซึ่งตนก็ต้องขอปฏิเสธเพราะพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ก่อตั้งพรรคมาจนถึงวันนี้ยังยึดมั่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พรรคประชาธิปัตย์ยังดำรงความเป็นสถาบันทางการเมืองที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ พรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่พรรคการเมืองประเภทที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจเฉพาะกาลเพื่อคนใดคนหนึ่งเพียงชั่วครั้งชั่วคราวจึงอยู่มาได้กว่า76ปี

“ดร.ไตรรงค์ คงจะตอบได้ดีว่าวันนี้ท่านยืนอยู่กับพรรคการเมืองประเภทไหนมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยอ่อนหรือแก่เมื่อเทียบกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ท่านเคยเป็นสมาชิกมาอย่างยาวนาน” นายอลงกรณ์ กล่าว

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กรณีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์หรือพูดปราศรัยเกี่ยวกับพรรคที่ตกปลาในบ่อเพื่อนก็มีมารยาทที่ไม่เคยเอ่ยถึงชื่อของพรรคการเมืองใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะเจาะจงเพราะสังคมทราบถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับพรรคประชาธิปัตย์และพรรคอื่นๆที่ตกเป็นเหยื่อของพรรคเหล่านั้นเป็นอย่างดี มีส.ส.และอดีตส.ส.ของพรรคที่ถูกติดต่อทาบทามเสนอเงื่อนไขแลกเปลี่ยนในการย้ายพรรคบางคนก็ตกลงย้ายไปพรรคอื่น บางคนที่ยังมีอุดมการณ์เหนียวแน่นกับพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังอยู่กับพรรค

"ผมทราบจากการบอกเล่าว่ามีการเสนอเงื่อนไขแลกกับการย้ายพรรค ส่วนเงื่อนไขจะเกี่ยวกับเงินหรือตำแหน่งหรือไม่นั้นคนที่เกี่ยวข้องย่อมทราบดีกว่าทุกคน อย่างไรก็ตามมีบางคนบางท่านที่ย้ายออกไปโดยไม่เกี่ยวกับเรื่องเงื่อนไขแลกเปลี่ยนก็มีเช่นกัน จะเหมารวมทั้งหมดไม่ได้ สำหรับคำว่าตกปลาในบ่อตัวเองน่าจะเป็นการอุปมาอุปไมยที่ใช้ไม่ได้ ไม่มีพรรคการเมืองใดต้องตกปลาในบ่อตัวเอง การปกป้องสมาชิกพรรคไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการตกปลาในบ่อเพื่อนเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกพรรคที่ต้องดูแลคนในพรรคของตน เหมือนแม่ไก่ที่เห็นเหยี่ยวบินโฉบมาก็ต้องกางปีกคุ้มครองลูกของตน

“ผมเป็นคนที่ออกมาปกป้องดร.ไตรรงค์เมื่อกล่าวปราศรัยผิดพลาดบนเวทีหาเสียงที่โคราชด้วยความรักความผูกพันที่มีมาอย่างยาวนานทั้งในทางส่วนตัวและในฐานะเป็นผู้อาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำงานกับพรรคมาเกือบตลอดชีวิตทางการเมือง และยิ่งคิดไม่ถึงว่า ท่านจะกล่าวหาใส่ร้ายทำลายชื่อเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ได้ถึงปานนี้ ท่านเปลี่ยนแปลงไปมากจริงๆ ผิดหวังมากๆครับ”นายอลงกรณ์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ก้าวไกล' งดออกเสียงญัตติส่งศาลวินิจฉัยอำนาจรัฐสภา 'ชัยธวัช' ด่าศาลรธน.

การประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้

'เอกนัฏ' พร้อมหนุนญัตติเพื่อไทย ถามศาลรธน. บรรจุวาระแก้รธน. แต่ต้องไม่แตะหมวด 1,2

"เอกนัฏ" หนุนถามศาล รธน. แต่ขอเพื่อไทยวางหลักประกัน ไม่แตะหมวด 1-2 แก้รายมาตรา ป้องรัฐธรรมนูญ 60 ไม่ใช่ผลพลอย รปห. ชี้ หากแก้เกือบทั้งฉบับ จะเสียของดี

กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถ

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 16: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ในสายตาผู้ช่วยทูตทหารฝรั่งเศส)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานลงวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า