'พิธา' เมินเสียง 'ปิยบุตร' ยันเอ็มโอยูตั้งรัฐบาล สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ

23 พ.ค.2566 - เมื่อเวลาลา 14.30 น. ที่อาคารอนาคตใหม่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์เพิ่มถึงการร่วมลงนามความร่วมมือ(MOU) ในการจัดตั้งรัฐบาล ทั้ง 8 พรรค เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ว่า การจัดทำบันทึกความร่วมมือนี้ เป็นแค่วาระร่วมกันขั้นต่ำ ในส่วนของพรรคก้าวไกล ที่มีกว่า 300 นโยบาย และที่เคยหาเสียงไว้ ทางพรรคก้าวไกลจะพยายามผลักดันให้สำเร็จ ขณะเดียวกัน พรรคก้าวไกล ก็มีวาระเฉพาะของพรรคก้าวไกล โดยผ่านกลไกบริหาร ซึ่งเมื่อตนเป็นนายกฯจะมีอำนาจในการบริหารจัดการ เพื่อให้วาระของพรรคก้าวไกลที่ได้นำเสนอไว้เกิดผลความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

ส่วนรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลที่จะอยู่ตามกระทรวงต่างๆ ในการผลักดันวาระที่ไม่อยู่ในเอ็มโอยู และแม้ว่าพรรคก้าวไกลอาจจะไม่ได้เป็นเจ้ากระทรวง แต่เราสามารถที่จะผลักดันในการประสานงานของรัฐบาลร่วม เพื่อให้รัฐมนตรีเจ้าของกระทรวงผลักดันนโยบายของพรรคเราได้

นายพิธา กล่าวว่า ในส่วนของกลไกฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเฉพาะ 45 กฎหมาย ที่เราได้สัญญากับประชาชนไว้ เนื่องจากเรามีส.ส. 152 คน ที่จะสามารถผ่านกฎหมาย เพื่อให้เกิดการถกเถียง และให้เกิดกรรมาธิการเพื่อให้ผ่านสภาเป็นกฎหมาย มีอำนาจรองรับ เช่น พ.ร.บ.น้ำประปาสะอาด พ.ร.บ.รับรองคำหน้าอัตลักษณ์ทางเพศ เป็นต้น ถึงแม้เรื่องดังกล่าว จะไม่อยู่ในวาระร่วมของรัฐบาล แต่ก็มีหลายกฎหมายที่เราสามารถผลักดันได้ ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เราได้สัญญาไว้ให้กับประชาชน

นายพิธา กล่าวต่อว่าการที่มีเอ็มโอยู 23 ข้อ เป็นวาระร่วมแค่ขั้นต่ำ แต่ในขณะเดียวกันหลายประเด็นที่อาจจะทำให้ประชาชนต้องลำบาก และต้องการความเปลี่ยนแปลงผ่านกฎหมายที่ก้าวหน้า และการบริหารงานของพรรคก็จะมีวาระเฉพาะที่สามารถผลักดันได้เช่นเดียวกัน

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล ออกมาแนะนำภายหลังการแถลงเอ็มโอยู ที่หัวข้อในเอ็มโอยู อาจจะซ้ำกับรัฐธรรมนูญ ปี 60 มีที่มา ขั้นตอน และกระบวนการในการร่างอย่างไร นายพิธากล่าวว่า คงเป็นความกังวลใจของนายปิยบุตร ซึ่งตนก็เข้าใจ ส่วนเอ็มโอยูและรัฐธรรมนูญที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตนคิดว่าไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร หรือไม่มีความเข้าใจผิดอะไร ในภาพรวม

เมื่อถามว่า มีการตั้งข้อสงสัยถึงความล่าช้าในการแถลงข่าวร่วมลงนามเอ็มโอยู เป็นผลมามาจากการตัดหรือเพิ่มคำ รวมถึงตัดข้อที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายนิรโทษกรรมออกไป นายพิธา กล่าวว่า คงไม่ใช่แค่นั้น ตอนแรกคิดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แต่มีความล่าช้าหลายอย่าง และมีการแก้ถ้อยคำสุดท้าย แต่ภาพรวมที่ออกมาเป็นไปได้ด้วยดี ทุกคนเห็นด้วยกับเอ็มโอยู

ถามว่า ภายหลังการลงนามเอ็มโอยู จะมีขั้นตอนอย่างไรต่อไป มีการเลือกบุคคลที่จะเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งประธานสภา และรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ หรือยัง นายพิธากล่าวว่า ตนคิดว่าจะเป็นการเดินสายรับฟังพี่น้องประชาชนมากกว่า และจะเชิญพรรคร่วมเข้ารับฟังให้มากขึ้น เพราะต้องทำนโยบายร่วม ในการแถลงต่อรัฐสภา แต่รับประกันได้ว่าจะต้องเป็นคนที่เหมาะสมกับงาน

ผู้สื่อข่าวถามอีกว่าจะสามารถคืนความมั่นใจของนักลงทุนได้อย่างไร เนื่องจากภายหลังเลือกตั้งตลาดหุ้นตกลงอย่างต่อเนื่อง นายพิธา กล่าวว่า สิ่งที่น่ากังวลตอนนี้ไม่ใช่เรื่องศักยภาพของประเทศ แต่เป็นความผันผวนทางการเมือง เพราะเท่าที่ผ่านมา เคยมีพรรคการเมือง ที่ชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้เป็นนายกฯ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่แน่นอน จึงต้องเร่งสร้างความมั่นใจ ว่าระบบการเมืองมีความแน่นอน สะท้อนเจตจำนงของประชาชน จึงจะสามารถคืนเสถียรภาพของการลงทุนกลับมาได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม. อนุมัติให้ลงนาม MOU ตั้ง คกก.JTC-ร่างแผนร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไทย-อียิปต์

นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC)

เขย่าศึก อบจ.อุบลฯ ชี้ทาง 'เลือกขั้วใหม่ ไม่เอาขั้วใหญ่'

“พิธา” เดินหน้าช่วยพรรคประชาชนหาเสียง 'เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ' ขอ ปชช. เลือกขั้วใหม่ ไม่เอาขั้วใหญ่ พร้อมเปลี่ยนด้วยนโยบาย “5 ดี"

'พิธา' ไม่แคร์แพ้ทุกสนาม ขอคิดบวกเปลี่ยนเป็นแรงผลักดัน

พิธา" ไม่กังวลคำปรามาส พรรคประชาชนแพ้ทุกสนามท้องถิ่น มองแง่บวกขอเปลี่ยนเป็นแรงผลักดัน ร้องโอ๊ย บอกไม่ใช่เดอะแบก ชี้ตอบแทนทักษิณไม่ได้ ลำบากใจหรือไม่ลงพื้นที่อุบลฯ ช่วยผู้สมัครเบอร์ใหญ่คนกันเอง

เห็นทีจะลำบาก! อดีตบิ๊กเพื่อไทย ซัดนโยบายรัฐบาล ยังไม่เห็นมีอะไรทำบ้านเมืองเจริญก้าวหน้า

นโยบายรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ชินวัตร ผ่านเฟซบุ๊กว่าติดตามนโยบายการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้ ยังไม่เห็นมีอะไรที่จะทำให้บ้าน