กห.แจงกมธ.ทหาร ผงะ! สัญญาจีทูจีไม่ได้ระบุต้องเป็นเครื่องยนต์ MTU ของเยอรมนี

'สุทิน'ส่งทีมงานกลาโหม ตอบข้อซักถามกมธ.ทหารฯ ปมปัญหาเรือดำน้ำรวม 8 ประเด็น ระบุจะเปิดสัญญาจีทูจีต้องให้จีนอนุญาตก่อน ผงะ! ไม่ได้ระบุต้องเป็นเครื่องยนต์MTU 396 ของเยอรมนี และยังไม่มีแนวทางการเรียกร้องค่าปรับ

10ก.ย.2566- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา ผู้แทนกระทรวงกลาโหม นำโดย พลเอกอตินันท์ ไชยฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานประมาณกระทรวงกลาโหม เข้าชี้แจงความคืบหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำ ต่อ คณะกรรมาธิการการทหาร สภาผู้แทนราษฎร โดยนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ในฐานะประธาน ระบุว่า ทางกองทัพเรือไม่ได้มาชี้แจงเอง เนื่องจากนายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบหมายให้สำนักงบประมาณกลาโหมมาชี้แจงแทน ก่อนที่กรรมาธิการทหาร จะยกคณะไปพบนายสุทิน ที่กระทรวงกลาโหม ในวันที่ 22 พฤศจิกายนนี้

นายวิโรจน์ ระบุว่า กรรมาธิการทหาร ได้สอบถามผู้แทนกลาโหมรวม 8 ประเด็น โดยเฉพาะประเด็นเครื่องยนต์เรือดำน้ำ มูลค่าความเสียหาย รวมทั้งการเรียกร้องค่าปรับ พร้อมชี้ว่า แนวทางเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกต ต้องคำนึงถึงผลกระทบตามที่หลายฝ่ายท้วงติง และกรรมาธิการทหารฯ เห็นพ้องว่า หากจะเปลี่ยนโครงการเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกต อาจเข้าข่ายรัฐธรรมนูญมาตรา 178 เกี่ยวกับสัญญาต่างประเทศ และการจัดซิ้อจีทูจี ที่ต้องนำเข้าสภาฯ

ขณะที่พลเอกอตินันท์ ไชยฤกษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานประมาณกระทรวงกลาโหม ชี้แจงรายประเด็น ตามที่กรรมาธิการทหารฯ สอบถาม เริ่มตั้งแต่การขอให้เปิดเผยรายละเอียดข้อตกลงการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ หรือ จีทูจี ที่กองทัพเรือจ้างจีนต่อเรือดำน้ำ S-26 T แต่ทางสำนักงบประมาณกลาโหมแจ้งว่า ไม่สามารถทำได้ เพราะติดข้อตกลงห้ามเปิดเผยความลับให้บุคคลที่สาม ต้องรอประสานให้ทางจีนอนุญาตด้วย

พล.อ.อตินันท์ ยังชี้แจงกรณีการเรียกร้องค่าปรับจากจีนว่า ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการจัดซื้อแบบ จีทูจี โดยใช้หลักการเจรจา และไม่ได้กำหนดค่าปรับเป็นรายงวด ส่วนกรณีเครื่องยนต์เรือดำน้ำ ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ต้องเป็นเครื่องยนต์ MTU 396 ของเยอรมนี แต่มีการระบุไว้ในข้อตกลงว่า จีนจะติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งจีนได้ลิขสิทธิ์จากเยอรมนี ผลิตเครื่องยนต์แบบเดียวกับ MTU 396 และเมื่อเยอรมนี ไม่ให้จีนผลิตใช้เองหรือส่งออก ทำให้ทางจีนเสนอติดตั้งเครื่องยนต์ CHD-620 ของจีนแทน

พร้อมชี้แจงภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณสร้างเรือดำน้ำ และส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ท่าจอดเรือ /โรงซ่อมบำรุง และคลังอาวุธ จนถึงขณะนี้รวม 9,500 ล้านบาทจากวงเงิน 17,000 ล้านบาท ซึ่งหากไม่ได้ใช้งานในโครงการเรือดำน้ำก็สามารถดัดแปลงไปใช้ในภารกิจอื่นได้ส่วนการเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกตยังไม่ได้ข้อสรุป แต่ในปีงบประมาณ 2567 กองทัพเรือมีแผนจัดหาเรือฟริเกตจำนวน 1 ลำ วงเงิน 17,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน ปัจจุบันกองทัพเรือมีเรือฟริเกตประจำการ 5 ลำ ในจำนวนนี้เป็นเรือรุ่นใหม่เพียง 1 ลำ คือเรือหลวงภูมิพลฯ ขณะที่ยุทธศาสตร์กองทัพเรือต้องการเรือฟริเกต 8 ลำ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกต ก็จะเข้ามาเสริมยุทธศาสตร์นี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชัยธวัช' กระตุกปรับครม.หมุนเก้าอี้ตามโควต้า หวังรมต.คุมกห.ดันแก้กม.ปฏิรูปกองทัพต่อ

'ชัยธวัช' ชี้ปรับครม.ขอเน้นคนเหมาะกับงานมากกว่าหมุนเก้าอี้ตามโควต้าทางการเมือง ไม่ส่งผลดีต่อรัฐบาล ทำให้ประชาชนผิดหวัง หวังรมต.คุมกลาโหม ดันแก้ร่างกม.ปฏิรูปกองทัพต่อ

'สุทิน' โต้ฝ่ายค้านรู้ไม่จริง 'ฟริเกต-เรือดำน้ำ' โบ้ยไม่ทันฟัง 'วิโรจน์' แฉคนในรัฐบาลตบทรัพย์

'สุทิน' เย้ยฝ่ายค้านรู้ไม่จริง 'ฟริเกต-เรือดำน้ำ' เหมือนคลำหา ชี้ข้อมูลเก่า 90% เหมือนโดนบีบให้ขึ้นชกทั้งที่ยังไม่พร้อม อ้างทันฟัง'วิโรจน์' แฉคนในรัฐบาลตบทรัพย์ฟริเกต เผยถ้ามีคนโทรหาแค่ให้กำลังใจ บอกทร.ใจเย็นๆได้เรือแน่ เชื่อปมเรือดำน้ำจบใน เม.ย. มั่นใจเจ้าหน้าที่ทำความเข้าใจกับชาวบ้านดีแล้วเรื่องสิทธิ์ที่ดิน พร้อมแจงประเด็นตัวเลขนายพลผิดเหตุมองตารางพลาด