‘อาจารย์หมอจุฬาฯ’ แนะการเลือกใช้หน้ากากอนามัย ป้องกันโอมิครอน

‘รศ.นพ.ธีระ’ ชี้หน้ากากผ้าอย่างเดียว ประสิทธิภาพน้อยป้องกันโอมิครอน แนะต้องใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ใส่ไว้ด้านใน ผู้ทำงานเสี่ยงใกล้ชิดคนจำนวนมากต้องใช้หน้ากาก N95 ย้ำไม่จำเป็นยหลีกเลี่ยงขนส่งสาธารณะ

27 ธ.ค.2564- รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง “ว่าด้วยเรื่องหน้ากาก…” ระบุว่า หน้ากากผ้าอย่างเดียวจะมีประสิทธิภาพน้อยในการป้องกันการแพร่เชื้อติดเชื้อในยุค Omicron ที่แพร่ได้ไว จำเป็นต้องเน้นย้ำให้เลือกใช้หน้ากากให้เหมาะสม คนที่มีงานเสี่ยง ต้องทำงานใกล้ชิดคนจำนวนมาก การใช้หน้ากาก N95 หรืออื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงย่อมดีกว่า แต่ในประชาชน ควรใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ใส่ไว้ด้านใน และสวมหน้ากากผ้าทับไว้ด้านนอกเพื่อให้หน้ากากอนามัยด้านในแนบชิดกับใบหน้ามากขึ้น

การเดินทางขนส่งสาธารณะ รัฐควรจัดบริการดังนี้ หนึ่ง ตรวจ ATK ให้แก่พนักงานประจำรถ/รถไฟ/เครื่องบิน และประชาชนที่จะเข้าใช้บริการเดินทาง สอง แจกหน้ากากอนามัยทางการแพทย์แก่ประชาชนที่ไม่มีหรือมีแต่หน้ากากผ้า และให้สวมให้ถูกต้องต่อหน้าพนักงานประจำรถ/รถไฟ/เครื่องบิน ก่อนเดินทาง สาม แนะนำให้เลี่ยงการกินดื่มทุกชนิดระหว่างเดินทาง สี่ แนะนำให้ระมัดระวังเรื่องการใช้สุขา ล้างมือเสมอทั้งก่อนและหลังใช้สุขา และใส่หน้ากากเสมอ ห้า แนะนำให้เลี่ยงการพูดคุยที่ไม่จำเป็น หก แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติหลังจากเดินทางถึงที่หมาย หากไม่สบายคล้ายหวัด ให้นึกถึงโควิดและรีบไปตรวจ

“ป.ล. บอกตรงๆ ว่า หากไม่จำเป็น ควรเลี่ยงการเดินทางขนส่งสาธารณะ ไปเท่าที่จำเป็นจริงๆ และหากดูแล้วคนเยอะ แออัด ไม่ควรเสี่ยงเลยครับ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' แจง 5 ข้อ พูดเรื่องผลกระทบการวัคซีนโควิดทำไม ในเมื่อมันผ่านไปแล้ว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า

‘หมอมนูญ’ เตือนโควิดหลังสงกรานต์เปลี่ยนไป ใครมีอาการแบบนี้รีบตรวจ ATK

อาการของโรคโควิดเปลี่ยนไป ส่วนใหญ่เป็นอาการของทางเดินหายใจส่วนบน คอ จมูก มากกว่าทางเดินหายใจส่วนล่าง หลอดลม และปอด

‘หมอมนูญ’ เผยผลติดตามสถานการณ์ 5 โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ

ข้อมูลของโรงพยาบาลวิชัยยุทธที่ติดตามโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ไวรัสไข้หวัดใหญ่  ไรโนไวรัส (Rhinovirus) อาร์เอสวี (RSV) และ ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส Human metapneumovirus (hMPV)

อาจารย์หมอ เตือนอากาศร้อนมาก ผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว ระวังการออกนอกบ้าน

คนสูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังการออกไปข้างนอกบ้าน  ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศ  ใช้หมวกหรือร่มบังแดด

‘หมอยง’ ย้ำโควิดยังสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 ไม่รุนแรง หายไข้-ไอมาก 1 วัน ใส่แมสทำงานได้

โควิด 19 ได้เปลี่ยนแปลงลดความรุนแรงลง จนปัจจุบันความรุนแรงเท่ากับโรคไข้หวัดใหญ่ RSVและเป็นการระบาดตามฤดูกาล