เปิดญัตติซักฟอก สภาสูง ขึงพืด 'ทักษิณ' สร้างระบบยุติธรรมสองมาตรฐาน

แฟ้มภาพ

ปิดญัตติซักฟอก สว.VSรัฐบาลเศรษฐา ปม”ทักษิณ” สภาสูงเตรียมขยี้สร้างระบบสองมาตรฐาน  ส่วนผลประโยชน์พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา 20 ล้านล้านบาท  “คำนูณ-อดีตเสนาธิการทหารเรือ”รอกระชวก ปัญหาMOU44 -กลุ่มทุนพลังงาน “ประพันธ์”ลั่นเตรียมเปิดแผลนโยบายส.ป.ก.โฉนดทองคำ

24 มี.ค.2567 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันจันทร์ที่ 25 มีนาคมนี้  ที่ประชุมวุฒิสภาจะมีการประชุมเพื่อพิจารณาญัตติให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 153 ที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะมาฟังและชี้แจงประเด็นที่สว.จะอภิปรายแน่นอน

สำหรับการอภิปรายครั้งนี้ ญัตติที่สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ยื่นต่อประธานวุฒิสภา แบ่งหัวข้อการอภิปรายออกเป็น 7 ประเด็นดังนี้ 1.ปัญหาด้านเศรษฐกิจของชาติและปัญหาปากท้องของประชาชน 2.ปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย 3.ปัญหาด้านพลังงาน 4.ปัญหาด้านการศึกษาและสังคม 5.ปัญหาด้านการต่างประเทศและท่องเที่ยว 6.ปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7.ปัญหาการปฏิรูปประเทศ และการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ

ที่น่าสนใจคือพบว่า ในญัตติดังกล่าว ในหัวข้อที่ 2.คือ ปัญหาด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย ระบุไว้ในข้อ2.1ว่า”ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ตามคำพิพากษาที่สะท้อน ให้เห็นถึงกระบวนการยุติธรรมสองมาตรฐาน” ที่คาดว่าสว.จะใช้หัวข้อดังกล่าว อภิปรายกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับพระราชทานอภัยลดโทษเหลือหนึ่งปี แต่สุดท้าย ไม่ได้มีการติดคุกจริงแม้แต่วันเดียว นอกจากนี้ในหัวข้อดังกล่าว ยังเขียนอีกว่า มีการบังคับใช้กฎหมาย ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ช่วยพวกพ้อง หาประโยชน์ส่วนตน สร้างมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมที่บิดเบี้ยว และในหัวข้อดังกล่าวยังระบุถึงเรื่อง นโยบายการเปลี่ยนส.ป.ก.4-01 เป็นโฉนดเพื่อเกษตรกรรม อาจเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน จะมีการป้องกันอย่างไร

รวมถึงการแก้ปัญหาขบวนการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์จากต่างประเทศ (หมูเถื่อน)เป็นต้น ส่วนเรื่องนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ที่เป็นนโยบายเรือธง ของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน การอภิปรายจะอยู่ในหัวข้อที่หนึ่งเรื่อง ปัญหาด้านเศรษฐกิจและปัญหาปากท้องประชาชน

นอกจากนี้ หัวข้อปัญหาพลังงาน ก็มีการระบุถึงเรื่อง ความไม่ชัดเจนในการแก้ปัญหา พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล กับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งพลังงานได้ ที่ก็คือ สว.จะอภิปรายเรื่อง เรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่คาดว่ามีก๊าซธรรมชาติอยู่ในปริมาณ 11 ล้านล้านคิวบิกฟุต ที่มีผลประโยชน์ร่วม 20 ล้านล้านบาท ตลอดจนเรื่องกลุ่มทุนพลังงานมีอิทธิพลกับการเมือง ทำให้กลุ่มทุนกำหนดราคาพลังงาน ในอัตราที่สูงจนทำให้ประชาชนแบกรับภาระค่าเชื้อเพลิงที่มีราคาสูงเกินจริง จะทำอย่างไร

โดยมีรายงานว่า ในแต่ละประเด็นทางกลุ่มสว.มีการแบ่งทีมกันอภิปราย โดยจะมีหัวหน้าทีมในการรวบรวมข้อมูลและกำหนดประเด็นการอภิปรายไว้ เช่น เรื่องกรณีนายทักษิณ ชินวัตร สว.ตัวหลักที่จะอภิปรายคือนายสมชาย แสวงการ ขณะที่เรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล โดยเฉพาะกรณีปัญหาเรื่องบันทึกข้อตกลงไทย-กัมพูชา หรือที่เรียกกันว่า MOU 44 ที่เกิดขึ้นในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร การอภิปรายจะนำโดยนายคำนูณ สิทธิสมาน และพลเรือเอกพัลลภ สมิตานนท์ อดีตเสนาธิการทหารเรือ เป็นต้น

 นายประพันธ์ คูณมี สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า เรื่องกรณีนายทักษิณ ตนเองไม่ได้จะอภิปราย เพราะเรื่องนี้ มีสว.บางคนติดตามเรื่องนี้อยู่เช่น นายสมชาย แสวงการ แต่จะอภิปรายเรื่องนโยบายแปลงส.ป.ก.เป็นโฉนด เพราะตนเองติดตามเรื่องนี้มานานแล้ว เคยเอาร่างกฎหมายเรื่องส.ป.ก.เสนอนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรีสมัยเป็นนายกฯ ตอนปี พ.ศ. 2518 โดยจะอภิปรายประมาณ 40 นาที

นายประพันธ์ กล่าวว่า เนื้อหาการอภิปราย จะชี้ให้เห็นว่า ส.ป.ก.ที่เริ่มมีตั้งแต่ปี  2518 ซึ่งตอนนั้นมีการออกพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เพราะมีเจตนาที่ต้องการจัดสรรที่ดินให้กับเกษตรกรที่ยากไร้ไม่มีที่ทำกินและมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ เป็นคนจน แต่ปัจจุบันมีการบิดเบือนเจตนารมณ์ของการบิดเบือนการปฏิรูปที่ดิน กลายเป็นเรื่องการปฏิรูปที่ดินเพื่อเปิดช่องทางและเอื้อประโยชน์ให้ แก่กลุ่มทุน กลุ่มธุรกิจเข้าไปครอบครองที่ดินแปลงงามๆ จากการปฏิรูปที่ดินอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวตอนนี้ จนทำให้มีที่ดินจำนวนมากโดนครอบครองโดยนายทุนเป็นร้อยไร่ หรือกลุ่มนักการเมือง กลุ่มนักการเมืองมีการบุกรุกเข้าไปในที่ป่าเพื่อครอบครองที่สปก. แล้วมีการเชิดนอมินี คือลูกจ้างของตนเองหรือเชิดเกษตรกรให้เป็นนอมินี มีชื่อในเอกสารส.ป.ก.แทนตัวเอง แล้วก็เอาที่ไปใช้ประโยชน์ โดยมีการรุกเข้าไปในที่ป่าหลายล้านไร่ โดยไม่ยอมคืนที่ให้กับกรมอุทยานแห่งชาติฯ ซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดว่ามีพื้นที่ใดบ้างที่มีปัญหา ที่ปล่อยให้เกิดเหตุทำนองนี้

 “ส่วนการให้ส.ป.ก.มาแปลงเป็นโฉนด มันจะเป็นการเปลี่ยนเอาที่ดินของรัฐที่มาจัดสรรให้ประชาชน เกษตรกร ไปเป็นที่ของเอกชน แล้วสุดท้าย ก็จะมีการออกโฉนดในที่สุดในบั้นปลายจนทำให้กลายเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลไป พูดง่าย ๆคือการเบียดบังเอาที่ดินของรัฐ เกือบ22 ล้านไร่ทั่วประเทศ ไปเป็นสมบัติส่วนบุคคล ที่จะเอาไปใช้ในกิจการใดๆ ก็ได้ การอภิปรายวันพรุ่งนี้จะชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลกำลังบิดเบือนเจตนารมณ์การปฏิรูปที่ดิน”นายประพันธ์ กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แก้วสรร' แพร่บทความปอกเปลือก ทักษิโณมิคส์ บวก X กลายเป็นโครงการแจกเงินดิจิทัล

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ เผยแพร่บทความเรื่อง "ทักษิโณมิคส์ + X = โครงการแจกเงินดิจิตอล" มีเนื้อหาดังนี้ เมื่อคราวแรกเริ่มครองอำนาจในปี ๒๕๔๖ ของพรรคทักษิณ ที่พลิกมิติการปกครองไทยด้วยชุดนโยบายการเงินที่โหมอัดฉีดประชานิยมชนิดเข้มข้นต่างๆนานา

กรมคุกตอบ 5 ประเด็น ปม 'หมอวรงค์' ร้อง ป.ป.ช.เอาผิดช่วย 'ทักษิณ' ป่วยทิพย์

กรมราชทัณฑ์ เผยแพร่เอกสารชี้แจงโดยระบุว่า วันจันทร์ที่ 22 เม.ย. 2567 ตามที่สื่อมวลชนเสนอข่าวนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส่งข้อมูลผู้ตรวจฯ ยื่นคณะกรรมการ​ป้องกัน​และ​ปราบปราม​การ​ทุจริต​แห่งชาติ​ (ป.ป.ช.)​ ในการช่วยเหลือนายทักษิณ ชินวัตร ไม่ต้องติดคุก โดยมีประเด็นต่างๆ เพื่อเรียกร้องคำตอบให้กับสังคม นั้น

'โรม' เขย่ารัฐบาล ทำประชามติ 2 ครั้ง ไม่เปลืองงบฯ ปชช.แบกรับความสูญเสีย

“รังสิมันต์’ มอง ทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว เหตุทำ 3 ครั้ง เปลืองงบ-เสียเวลา เตือน หากทุกฝ่ายกลัวการตีความกฎหมาย คนแบกรับความสูญเสียคือ ปชช.  เรียกร้อง ‘วันนอร์’ รีบบรรจุวาระแก้รธน. เข้าสภาฯ