'รังสิมันต์' ย้ำศึกซักฟอก หลักฐานแน่ พร้อมเปิด 'ยุทธการโรยเกลือ' เอาผิดนายกฯแพทองธารหลังจบอภิปราย เย้ยฝ่ายรัฐบาลส่งสัญญาณเครียดจัดผ่านดินเนอร์หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล ขณะที่กระแสข่าว 'เหลิม' เข้าร่วมอภิปรายด้วยยังไม่คอนเฟิร์ม
22 มีนาคม 2568 - ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคประชาชน กล่าวถึงการเตรียมตัวการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151 ว่า ขออนุญาตอาจจะไม่สามารถระบุเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ แต่ยืนยันว่าในทุกเรื่องที่เป็นความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงความล้มเหลวแก้ปัญหาต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน เป็นเรื่องที่เราสามารถหยิบขึ้นมาอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ทั้งสิ้น
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจคือเรื่องที่เป็นปัญหาที่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งความล้มเหลวนี้ไม่ได้อยู่ที่พวกเรา แต่ความล้มเหลวนี้อยู่ที่ตัวท่าน ดังนั้นทุกเรื่องทั้งมิติความมั่นคง การทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาเศรษฐกิจเรื่องเหล่านี้เราก็สามารถหยิบเอามาอภิปรายไม่ไว้วางใจได้
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า วันที่ 24 มีนาคมนี้ เป็นวันที่เราเตรียมขุนพลเอาไว้มากมายในการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยเริ่มต้นจากนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส. บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาฯ ในการอ่านญัตติ
หลังจากนั้นมีอีกหลายคนที่อภิปราย ซึ่งตนคิดว่าหลายส่วนเราค่อนข้างมั่นใจในเรื่องพยานเอกสาร พยานหลักฐานต่างๆ ไว้วางใจและหลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจไปแล้วก็จะมีการ ยุทธการโรยเกลือ ซึ่งครั้งนี้การโรยเกลือของเราหลังจากที่เราเปิดเอกสารที่ค่อนข้างมั่นใจว่าเอาผิดได้แน่นอน ยุทธการนี้จะเป็นการดำเนินการทางกฎหมายต่อไปกับทางนายกรัฐมนตรี
ผู้สื่อข่าวถามว่าต้องส่งรายชื่อผู้อภิปรายให้พรรคประชาชนหรือไม่ว่ามีใครบ้าง นายรังสิมันต์ ตอบว่า “ถูกต้อง”
ถามย้ำว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐจะอภิปรายต่อจากนายณัฐพงษ์ใช่หรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ขออนุญาตไม่คอนเฟิร์ม เราให้เกียรติหัวหน้าพรรคอยู่แล้ว และเข้าใจว่าไม่ได้มีเพียงแค่พรรคพลังประชารัฐเท่านั้น แต่เบื้องต้นขอให้รอการสรุปก่อน
เพราะตอนนี้ยังไม่ได้สรุปในเรื่องการจัดลำดับผู้อภิปราย แต่เร็วๆนี้จะมีการสรุปออกมา และมีความเป็นไปได้ว่าในส่วนของการอภิปรายของหัวหน้าพรรคต้องให้ลำดับต้นๆอยู่แล้ว
ถามถึงกระแสข่าวว่าร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จะอภิปรายและเขาต้องส่งชื่อมาให้พรรคประชาชนดูด้วยหรือไม่ นายรังสิมันต์ หัวเราะก่อนกล่าวว่า เบื้องต้นคนที่จะอภิปรายต้องมีการส่งชื่อ ซึ่งตนเข้าใจว่า การส่งรายชื่อยังไม่แล้วเสร็จ ดังนั้นคงยังตอบไม่ได้ว่าจะมีชื่อของร.ต.อ.เฉลิมหรือไม่ ขอรอดูกันก่อน ก็คงจะสรุปรายชื่อได้
ส่วนหากเขาขอมาจะได้หรือไม่นั้นคงต้องไปดูกัน ตนไม่สามารถยืนยันตรงนี้ได้ เพราะตอนนี้ตนยังไม่รู้ว่ามีการขอมาแบบนี้หรือไม่ ดังนั้น เบื้องต้นหากมีการขอมาก็ต้องคุยกับแกนนำพรรคประชาชนด้วยว่าสุดท้ายจะให้หรือไม่ให้อย่างไร เรื่องนี้ต้องเป็นหลักปฏิบัติ ตนไม่สามารถตัดสินใจได้ เพราะไม่ใช่คุยแค่พรรคประชาชนพรรคเดียว อาจจะต้องคุยกับพรรคร่วมฝ่ายค้านด้วย เพราะเวลาเป็นไปตามสัดส่วนของทุกพรรค
"ฉะนั้น หากร.ต.อ. เฉลิมจะมาอภิปรายก็คงคิดกันต่อว่าจะใช้เวลาของใคร เพราะไม่มีโควตาของฝ่ายรัฐบาล"
ถามว่าหากพรรคร่วมฝ่ายค้านพรรคใดพรรคหนึ่งจะให้เวลาของตัวเอง กับร.ต.อ.เฉลิม ได้หรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า เบื้องต้นยังไงก็ต้องคุยกัน ถึงแม้เวลาเมื่อจัดสรรกันแล้วจะเป็นเวลาของพรรคการเมืองนั้นๆอย่างไรก็ต้องคุยกัน เพราะเราต้องดูภาพรวมของการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่ว่าพรรคการเมืองจะมีอุดมการณ์หรือมีความคิดความเชื่ออย่างไร ถึงที่สุดก็ต้องทำงานร่วมกัน
เมื่อถูกถามถึงดินเนอร์ของพรรคร่วมรัฐบาลเมื่อวานนี้ที่มีการเช็คคะแนนเสียงและดูท่าทีนายกรัฐมนตรี นายรังสิมันต์กล่าวว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจในรอบนี้ทำให้เห็นถึงความกังวลและความเครียดของรัฐบาลในระดับที่มากกว่าครั้งก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเสนอญัตติให้ถอนชื่อชายคนนั้น หรือความพยายามของประธานสภาฯ ที่แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องของญัตติ
ทั้งนี้ กระบวนการหารือกับประธานสภา และเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรก็แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานการปฏิบัติมีมาโดยตลอดจนกระทั่งมีการประกาศองครักษ์พิทักษ์นายกฯ จำนวน 20 คน ทำให้เห็นว่าการอภิปรายครั้งนี้เป็นเรื่องที่สมาชิกฝ่ายค้านยื่นเพื่อให้ผู้ที่จะต้องตอบข้อกล่าวหามีความชัดเจนและโปร่งใส
นายรังสิมันต์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาพของการเตรียมกำลังขุนพลในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่านายกรัฐมนตรียังไม่พร้อมที่จะชี้แจงหรือให้คำตอบต่อข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่ฝ่ายค้านยื่นมา สถานการณ์ที่เช่นนี้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีความกลัวและไม่มั่นใจในการเผชิญกับการอภิปรายครั้งนี้ อีกทั้งยังสะท้อนถึงความไม่ไว้วางใจที่มีอยู่ภายในวงการรัฐบาล แม้ในรัฐบาลจะเป็นการตั้งร่วมกัน แต่ความไม่แน่นอนและความขัดแย้งภายในยังคงปรากฏออกมาอย่างชัดเจน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ดร.ณัฏฐ์’ วิเคราะห์เกมปรับ ครม. แพทองธารใช้สูตร ‘ดองเค็ม’ สั่งสอนภูมิใจไทย
นักกฎหมายมหาชนชี้ เกมการเมืองหลังสงกรานต์ร้อนแรง รัฐบาลแพทองธารอาจไม่ยุบสภาแต่เลือก ‘ปรับ ครม.’ แบบลดบทบาทภูมิใจไทย ดองเค็มไม่ให้กล้าต่อกรกลางสภา ย้ำ กระทรวงมหาดไทย คือเป้าหมายหลักในยุทธศาสตร์คืนอำนาจ ก่อนศึกเลือกตั้ง 2570
ซูเปอร์โพลชี้ผลสำรวจคนไทยมีความทุกข์มากขึ้น แต่ยังมั่นใจฝีมือ 'อิ๊งค์'
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในสายตาของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น 1,215 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 - 19 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา
'สุทิน' มั่นใจไร้เกมล้ม พรบ.งบประมาณปี 69 ทุกคนต้องรับผิดชอบ
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาการเปิดสถานบันเทิงครบวงจร (เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์) วุฒิสภา
'วราวุธ' อ้างคำพ่อบรรหาร หวังลดแรงกระแทกพรรคร่วม ย้ำ ชทพ.ไม่มีหมัดแลกใคร
หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา มองอุณหภูมิการเมืองหลังปิดสมัยประชุมสภาจะเบาลง เพราะ ส.ส.ลงพื้นที่ เร่งทำงานให้ประชาชน พร้อมหยิบคำสอน “บรรหาร ศิลปอาชา”
ลูกใครก็ใหญ่ได้ ถ้าพ่อแม่มีอำนาจ 'ระบอบเลือดผสม' ในนามประชาธิปไตย
กลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ชายหนุ่มวัยยี่สิบปลายๆ ขับรถหรูพุ่งปาดหน้ารถกระบะบนถนนกาญจนาภิเษก (ทล.พ.9) กม.23+400 ต.รังสิต อ.ธัญบุรี ก่อนจะลงจากรถอย่างไม่สะทกสะท้าน แม้จะมีผู้ได้รับบาดเจ็บ
'เทพไท' ซัดรัฐบาล-ทักษิณ ใช้ไทยฟอกขาว 'มิน อ่อง หล่าย' ปมประชุมลับกลางกรุง
อดีต สส.นครศรีธรรมราช ตั้งคำถามรัฐบาลไทย หลังมีรายงาน “อันวาร์-มิน อ่อง หล่าย-ทักษิณ” หารือลับกลางกรุงเทพฯ ชี้เป็นพฤติกรรมคลุมเครือ ทั้งในมิติการทูตและบทบาทของอดีตนายกฯ ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน