เปิดสาเหตุ และ ความเสี่ยงของ 'โรคใหลตาย' ความตายที่มาโดยไม่รู้ตัว

24 มี.ค. 2565- มีข่าวช็อกในวงการบันเทิงอีกครั้ง เมื่อมีรายงานข่าวว่า ‘บีม ปภังกร ฤกษ์เฉลิมพจน์’ เสียชีวิต อย่างกะทันหัน ขณะนอนหลับ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่ทราบถึงสาเหตุการเสียชีวิต แต่มีการคาดกันว่า นักแสดงหนุ่ม อาจจะเสียชีวิตจาก ‘โรคใหลตาย’ หรือ ‘บรูกาดาซินโดรม’ ในทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า “หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในแถบภาคอีสาน ความน่ากลัวของโรคนี้คือการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ที่ผู้ตายไม่มีโอกาสรู้ตัวมาก่อนเลย

ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2560 “แวว จ๊กมก” หรือ “แวววาว วงษ์คำเหลา” อดีตดาวตลกหญิง และน้องสาวของ หม่ำ จ๊กมก ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบ จากภาวะหัวใจล้มเหลวฉับพลัน ซึ่งก็มีสาเหตุการเสียชีวิตคล้ายๆกับพระเอกหนุ่มนี้

ทั้งนี้จากข้อมูลของ ผศ. พญ.สิรินทร์ อภิญาสวัสดิ์ สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เขียนอธิบายถึงสาเหตุ และการรักษา ลงบนเว็บไซต์รามา ชาแนล ดังนี้

โรคใหลตาย มีสาเหตุที่สำคัญคือ

ภาวะร่างกายขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคมี 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจัยต่อมาคือการขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิด

กลไกการเกิดภาวะโรคใหลตาย

อธิบายได้ดังนี้ โดยปกติแล้วการเต้นของหัวใจคนเรานั้นเกิดขึ้นจากไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าเกิดจากเกลือแร่ที่วิ่งเข้าออกระหว่างเซลล์ตลอดเวลา โดยเกลือแร่ที่ทำให้เกิดไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เป็นต้น ซึ่งต้องวิ่งเข้าออกบริเวณที่เปรียบเสมือนประตู แต่ในคนที่เกิดภาวะใหลตายนั้นพบว่าประตูที่ทำให้โซเดียมเข้าออกเซลล์นั้นมีน้อยกว่าคนปกติ เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด และเป็นสาเหตุในระดับเซลล์ คนกลุ่มนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับอาหารการกิน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคใหลตาย

การเกิดภาวะใหลตายเกี่ยวข้องกับการเต้นระริกของหัวใจ

ที่เราพบในคนไข้ใหลตายนั้นเกิดจากหัวใจห้องล่าง ซึ่งปกติเป็นปั๊มหลักคอยบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อประตูหัวใจห้องล่างเกิดไฟฟ้าลัดวงจรทำให้มีการเต้นไม่สม่ำเสมอของหัวใจห้องล่าง เกิดไฟฟ้ามากระตุ้นให้เป็นจุดเล็กๆ และแทนที่หัวใจห้องล่างจะบีบตัวโครมๆ เพื่อเอาเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ก็บีบตัวไม่ได้และสั่นระริกๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ ภายใน 30 วินาทีจะเป็นลมหมดสติ 4 นาทีต่อมาถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นสมองจะตาย และภายใน 6-7 นาที ถ้ายังไม่หายก็จะเสียชีวิตในที่สุด

อาการแสดงของภาวะเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ

คือเกิดการเกร็งของแขนและขา หายใจเสียงดังจากการมีเสมหะในหลอดลม บางรายปัสสาวะและอุจจาระราด เพราะสูญเสียการควบคุมของระบบประสาทโดยอัตโนมัติ ผู้ป่วยจะมีใบหน้าและริมฝีปากเขียวคล้ำ จากนั้นจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการกู้ชีพที่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจให้กลับมาทำงานเป็นปกติ เพื่อหยุด BF ให้เร็วที่สุด แต่บางครั้ง BF ก็อาจหยุดเองได้และผู้ป่วยสามารถรอดตายได้เช่นกัน แต่สมองอาจพิการถาวรหากขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน

การรักษาโรคใหลตายในทางการแพทย์มี 2 วิธี

ได้แก่ การใช้ยาและการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ โดยในการให้ยานั้นขึ้นอยู่กับอาการโรคใหลตายว่ารุนแรงแค่ไหน หากรุนแรงมาก การใช้ยารักษาก็อาจไม่ได้ผล และต้องใช้วิธีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจเข้าไปในร่างกายแทน

คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคใหลตายในวันปกติจะไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น แต่ในวันร้ายคืนร้าย กล่าวคือ ในวันพักผ่อนน้อย ดื่มเหล้า หรือใช้สารเสพติด รวมถึงยาบางอย่างหรือในวันที่ไม่สบาย อาจทำให้อาการใหลตายเกิดขึ้นและเสียชีวิตกระทันหันในวันเหล่านั้น
วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ

การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจให้ผู้ที่เคยตกอยู่ในภาวะใหลตายสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ การดูแลหลังการรักษานั้นต้องหลีกเลี่ยงการกดบริเวณหัวไหล่ ไหปลาร้าข้างที่ใส่เครื่อง เพราะอาจทำให้สายหัก ทั้งนี้ด้านอาหารการกินยังต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน รับประทานอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัย และรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารเพียงพอต่อร่างกายโดยเฉพาะวิตามินบี ที่สำคัญควรรับประทานอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือดอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ถั่วดำ ถั่วแระ เต้าหู้ เป็นต้น

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะใหลตาย

คือจับผู้ป่วยนอนราบ ระหว่างรอรถพยาบาลหรือรอคนมาช่วยให้ประเมินผู้ป่วย หากพบว่าไม่หายใจหรือชีพจรที่คอไม่เต้น ให้กดหน้าอกยุบลงราว 1.5 นิ้ว แล้วปล่อยให้คลายตัวเป็นชุด ในความถี่ราว 100 ครั้งต่อนาทีโดยไม่หยุดจนกว่าจะถึงมือแพทย์หรือจนกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว และไม่ควรเสียเวลาโดยไม่จำเป็น เช่น งัดปากคนไข้ด้วยของแข็งเพราะอาจเป็นอันตราย และให้ระลึกเสมอว่าคนที่เป็นโรคใหลตายอาจจะมีโรคอื่นของสมอง เช่น ลมชัก โรคหัวใจ ที่อาจเป็นเหตุให้หมดสติได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม

คนไทยมีความเสี่ยงสูง!เพจดังเผย ‘บีม ปภังกร’ เสียชีวิตจาก ‘บรูกาดาซินโดรม’

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ดร.อาทิตย์’ ชม รพ.ตำรวจ เก่ง รักษาโรคยากซับซ้อนสาหัส หายเป็นปกติเพียง 180 วัน

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กต้องชมเชยและชื่นชมโรงพยาบาลตำรวจ ที่เก่ง

รัฐบาลเปิดช่องผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่ได้รับความเสียหายจากการรักษา มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือสูงสุด 4 แสน

“คารม” เผยผู้ใช้สิทธิบัตรทองที่ได้รับความเสียหายจากการรักษา มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นสูงสุด 4 แสนบาท ต้องยื่นเรื่องภายใน 2 ปี

'แบงก์ชาติ' แนะคลังเก็บกระสุนกระตุ้นศก. ชี้ไทยจ่อถูกหั่นเครดิต

“แบงก์ชาติ” แนะคลังเก็บกระสุนกระตุ้นเศรษฐกิจ ชี้ไทยมีความเสี่ยง Credit Rating Agency's จ้องหั่นความน่าเชื่อถือ หลังหนี้สาธารณะ-หนี้ครัวเรือนพุ่ง ย้ำต้องมุ่งเน้นเสถียรภาพ

‘เอสซีจี’ เล็งปรับเป้ารายได้หลังศก.โลกยังไม่ฟื้น ห่วงไทยเจอปัจจัยเสี่ยงราคาพลังงาน - ภัยแล้ง - ฝุ่น

เอสซีจี เผยเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น โชว์ผลกำไร 1.6 หมื่นล้านบาท แต่ยังห่วงเศรษฐกิจโลก -อาเซียน กระทบเป้าหมายรายได้เติบโต 10% เล็งทบทวนใหม่ ชี้ไทยเจอปัจจัยเสี่ยง 3 ด้าน ราคาพลังงาน - ภัยแล้ง - และฝุ่น

กรุงไทยคาดปี 66 ส่งออกไทยกระทบหนัก จากเศรษฐกิจโลกขาลง

Krungthai COMPASS ประเมินผู้ส่งออกไทยต้องเผชิญความเสี่ยงจากอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวชัดเจน โดยการส่งออกมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวในปี 2566 จากเศรษฐกิจโลกที่แผ่วลง