
26 ธ.ค. 2565 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 เราให้วัคซีน เกือบ 2 ปีแล้ว
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ชัดเจนอย่างยิ่ง วัคซีนสามารถลดความรุนแรงของโรค ลดการป่วยตายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
ประสิทธิภาพของวัคซีนจะเกิดขึ้น จะต้องได้วัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มขึ้นไป และเมื่อกาลเวลายิ่งห่าง เข็มที่ 4 จึงมีความจำเป็น เพราะระดับภูมิต้านทานลดต่ำตามกาลเวลา
ขณะนี้เราให้วัคซีนไปประมาณ 150 กว่าล้านโดส และยังมีจำนวนมาก ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม
ในทางปฏิบัติไม่ต้องคำนึงถึงผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ ขอให้ทุกคนควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม
ในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเปราะบาง เช่น นอนติดเตียง สูงอายุมากๆ มีโรคประจำตัวเรื้อรัง โรคไต โรคมะเร็ง โรคปอดโรคหัวใจ หรือกินยากดภูมิต้านทาน ควรได้รับวัคซีนต่อไป จะเป็นเข็ม 4 หรือเข็ม 5 ก็ได้ เพื่อรักษาระดับภูมิต้านทานที่ลดลง ป้องกันความรุนแรงของโรค
ในคนที่แข็งแรงดีเช่นเด็กหนุ่มสาว จะฉีด 3 เข็มก็ไม่ว่ากัน
จากการศึกษาในสถานการณ์จริงที่เชียงใหม่ และหลายสถานที่ มีข้อมูลชัดเจนอัตราการเสียชีวิตขึ้นอยู่กับจำนวนเข็มของวัคซีนที่ฉีด ในผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 4 เข็ม แทบจะไม่มีผู้ที่เสียชีวิตเลย ตรงข้ามผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ หรือมีอาการหนัก จะเป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม
ในกรณีที่ร่างกายอ่อนแอมากๆ และหรือกินยากดภูมิต้านทาน ภูมิต้านทานสำเร็จรูป LABB ก็มีให้ใช้ในการใช้ป้องกันโรคหรือรักษา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งที่ค่ายาแพงมาก ขวดละประมาณ 30,000 บาท ถ้าใช้รักษาต้องใช้ถึง 2 ขวด ทางกระทรวงสาธารณสุขจัดให้ฟรีอยู่แล้วในผู้มีข้อบ่งชี้ดังกล่าว
ชีวิตที่ต้องเดินหน้าไปกับโรคโควิด ก็ต้องรู้จักปกป้องตนเองไม่ให้เกิดอันตรายร้ายแรง และเป็นภาระกับระบบสาธารณสุข.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้หลักวิวัฒนาการทำความรุนแรงโควิด19 ลดลงแต่ มิ.ย.นี้กลับมาแน่!
'หมอยง' ตอกย้ำโควิด-19 ไม่มีการกลายพันธุ์ใหม่ๆ ซ้ำความรุนแรงก็ลดลงตามหลักวิวัฒนาการ แต่เชื่อเดือน มิ.ย.จะกลับมาพบผู้ป่วยมากอีกครั้งหนึ่ง
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 122 ราย ดับ 6 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 5 – 11 มี.ค. 2566
ผลวิจัยพบ 'โควิด' ส่งผลกระทบสมองและความจำ
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เปิดเผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 64,067 คน ตายเพิ่ม 294 คน รวมแล้วติดไป 681,473,367 คน เสียชีวิตรวม 6,811,653 คน
จับตา! ไข้หวัดใหญ่ H3N2 สายพันธุ์อินเดีย
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมเมื่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในอินเดียลดลง จำนวนผู้ป่วยไวรัสไข้หวัดใหญ่ “H3N2”
'หมอยง' เตือน 'ไข้ปวดข้อยุงลาย-ชิกุนกันยา-ซิกา' ระบาดเพิ่มขึ้น
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้ปวดข้อยุงลาย ชิกุนกันยา ซิกา