
“อัษฎางค์” ชี้ข้อเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 112 คือการเปิดประตูให้ล้มล้างการปกครอง สุดท้ายต้องถูกต่างชาติแทรกแซงไทยกลายเป็นอัฟกานิสถาน
04 พ.ย.2564 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กในรูปบนความหัวข้อ “การเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 คือประตูบานแรกสู่การล้มล้างการปกครอง” ระบุว่า ระบบการปกครองใดๆ ในโลกล้วนมีความเหมาะสมกับวัฒนธรรมและพฤติกรรมของชนชาตินั้นๆ แม้แต่ประชาธิปไตย ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันไป และมีความเหมาะกับแต่ละประเทศต่างกันไปประชาธิปไตยครึ่งใบอย่างสิงคโปร์ก็เหมาะกับสิงคโปร์ และทำให้สิงคโปร์เจริญก้าวหน้าอย่างมากประชาธิปไตยอย่างไทย คือประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นศูนย์รวมจิตใจ ก็เหมาะกับคนไทยและเมืองไทย
วิถีชีวิตของคนไทยและการเมืองของไทย เป็นไปในลักษณะของการอุปถัมภ์ค้ำชู ตามลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของไทยที่ถูกฝังรากลึกมายาวนาน ตลอดความเป็นชาติ ลองสังเกตดูดีๆ พวกเราชาวบ้านต่างออกมาต่อต้านนักการเมืองและข้าราชการที่ทำราชการด้วยระบบอุปถัมภ์ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง แต่ในขณะเดียวกัน พวกเราชาวบ้านเองก็พึ่งพาระบบอุปถัมภ์เพื่อกิจกรรมหรือกิจการของตนเองและพวกพ้อง
ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาเราเห็นคนอื่นฝากลูกเข้าเรียน ฝากหลานเข้าทำงาน ฝากเพื่อนแซงคิว ฝากญาติแทรกไปฉีดวัคซีน เราไม่พอใจ วิพากษ์วิจารณ์ ตำหนิติเตียน
แต่สุดท้ายเราก็เป็นอีกคนที่เคยทำเรื่องเหล่านั้น ทั้งที่ไม่ได้มีความตั้งใจจะเกี่ยวข้องกับระบบอุปถัมภ์ แต่มีญาติหรือมีเพื่อนจัดการให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบอุปถัมภ์อยู่ดี
หรือตัวอย่างเช่น เวลาถูกตำรวจจับเมื่อทำผิดกฎจราจร เราก็พร้อมจะยัดเงินใส่มือตำรวจ ทั้งที่เรารู้ว่าไม่ถูกต้องและบอกกับตัวเองว่าไม่เห็นด้วยกับระบบอุปถัมภ์และคอรัปชั่น แต่เมื่อถึงคราวเราเองก็ทำเรื่องแบบนั้น ซึ่งมันแปลว่า ปากและใจของเราไม่ยอมรับระบบอุปถัมภ์ แต่เราเคยเกี่ยวข้องกับระบบอุปถัมภ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ระบบอุปถัมภ์ค้ำชูนี้ฝั่งรากลึกอยู่ในสังคมไทยจนยากจะรื้อถอนออกไป และระบบอุปถัมภ์ค้ำชูนี่เองที่กัดกินความเจริญรุ่งเรืองของชาติ และเป็นปัญหาระดับชาติ เป็นปัญหาที่เกิดจากการใช้อำนาจหน้าที่ในการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินของนักการเมืองและข้าราชการไปในทางมิชอบ ที่เอื้อประโยชน์และกอบโกยผลประโยชน์เข้าสู่ตนเองและพวกพ้อง แต่นักการเมืองชั่วกลับโยนความบาปนั้นให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ และกล่าวหาใส่ร้ายว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นมีปัญหา ทั้งที่นักการเมืองคือผู้มีอำนาจหน้าที่ในการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินในขณะที่สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมือง และไม่มีอำนาจหน้าที่ในการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน
แต่….สถาบันพระมหากษัตริย์คือคนกลางระหว่างประชาชนและนักการเมือง สถาบันพระมหากษัตริย์คือทางออกของนักการเมืองและประชาชน สถาบันพระมหากษัตริย์นี่เอง ที่ช่วยนักการเมืองทำราชการ และช่วยนักการเมืองพัฒนาชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์นี่เองที่ช่วยประชาชนให้เข้าถึงการได้รับบริการและความช่วยเหลือจากรัฐอย่างทันท่วงทีและทั่วถึง สถาบันพระมหากษัตริย์นี่เอง ที่ช่วยให้ประชาชนตาดำๆ ตั้งแต่ชนชั้นสูงยันรากหญ้า ที่ถูกระบบอุปถัมภ์กีดกัน ได้เข้าถึงความช่วยเหลือหรือเข้าถึงระบบราชการ ปัญหาการแก่งแย่งอำนาจทายการเมืองของนักการเมืองในปัจจุบันหนักหนายิ่งขึ้น เมื่อนักการเมืองและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ชักนำประเทศมหาอำนาจที่แสวงหาและต้องการขยายอำนาจทางการเมือง การทหารและเศรษฐกิจ ให้เข้ามาแทรกแซงกิจการภายใน
ถ้านักการเมือง นักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ชักจูงเครือข่ายของชาติมหาอำนาจ ได้เข้ามาจัดการกิจการภายในได้สำเร็จเมื่อไหร่ เราจะมีจุดจบเหมือนหลายๆชาติ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในเวลานี้คือ อัฟกานิสถานและอีกหลายชาติในตะวันออกกลาง
การเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 ซึ่งเป็นกฎหมายความมั่นคง ที่ใช้คุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐ เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นเสาหลักของชาติ คือความพยายามทำลายประตูบานแรก
เพื่อจะรุกคืบทำลายประตูบานต่อๆ ไป จนในที่สุดจะไม่เหลือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ต่อไป
จุดประสงค์ที่แอบแฝงเป็นเบื้องหลังการเรียกร้องให้ยกเลิก ม.112 ก็คือความพยายามอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยมีจุดประสงค์สูงสุดอยู่ที่ การยกเลิกการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นเอง
แต่ละประเทศ แต่ละชนชาติมีพฤติกรรมและลักษณะนิสัยต่างกัน และมีความเหมาะกับการปกครองในแบบของตน ซึ่งชาติมหาอำนาจตะวันตกไม่เคยเข้าใจได้ลึกซึ้งเท่าคนในชาติของเราเอง
หยุดความพยายามในการจัดระเบียบโลกของชาติมหาอำนาจ ด้วยการหยุดสนับสนุนนักการเมืองที่อาศัยระบบอุปถัมภ์สร้างผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง แล้วโยนความผิดให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์ ความมุ่งร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ คือความมุ่งร้ายต่อชาติและประชาชนนั้นเอง
หากมีความหวังดีต่อชาติจริง และมีความรู้จริง จะรู้ว่าเรื่องสำคัญที่สุดเรื่องแรกที่ต้องทำ คือปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาที่ถูกต้องและเหมาะสม จะได้นำความรู้นั้นมาจัดการกับระบบอุปถัมภ์และนักการเมืองที่กอบโกยผลประโยชน์ให้ตัวเองและพวกพ้อง มิใช่สถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีแต่ให้ มากกว่ารับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ประธานชวน' ไขข้อเท็จจริงมือตีตกยกเลิกมาตรา 112 สมัยที่แล้วคือ 'สุชาติ ตันเจริญ'
'พิธา' และด้อมส้มรู้ยัง 'ประธานชวน' เฉลยแล้วผู้ตีตกกฎหมายยกเลิกมาตรา 112 สมัยที่แล้วคือ 'สุชาติ ตันเจริญ' รองประธานคนที่ 1 เพราะรับผิดชอบบรรจุวาระร่างกฎหมายที่เข้าสภาทุกฉบับ
'จเด็จ' ปลุกผีตั้ง 'รัฐบาลแห่งชาติ' ผ่าทางตัน!
'ส.ว.จเด็จ' ไปไกล ปลุกผีรัฐบาลแห่งชาติ ชี้ประเทศไม่ขัดแย้งก็มีได้ แนะเอาข้อดีทุกพรรคมารวมกัน บอกชงงดเว้นรัฐธรรมนูญบางมาตราได้
'เสรี' วิเคราะห์เบื้องหลังตั้ง 7 คณะทำงานหวังสร้างมวลชนกดดัน 'กกต.-ศาล-ส.ว.'
'เสรี' ซัดตั้ง 7 คณะทำงาน กระบวนการสร้างมวลชนกดดัน 'กกต.-ศาล-ส.ว.' ติงควรจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ก่อน เชื่อเพื่อไทยรู้ปลายทางหวยออกที่พรรคตัวเอง ไม่เข้าใจ 'พิธา' ยังคิดเดินหน้าแก้ม.112
'อัษฎางค์' แปลกใจคนไทยที่จงรักภักดี แต่กลับสนับสนุนกลุ่มคนที่บั่นทอนสถาบัน
'อัษฎางค์' แปลกใจมีคนไทยส่วนใหญ่ยังคงจงรักภักดีและยังยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่กลับสนับสนุนกลุ่มคนที่เป็นเครือข่ายที่บั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ 'รักเจ้าและสนับสนุนคนล้มเจ้า'
อัยการสั่งฟ้อง 'มัมดิว-หนูรัตน์' คดี 112 ทำโฆษณาลาซาด้าหมิ่นสถาบัน
พนักงานอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดี 3 ได้ยื่นฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของ “มัมดิว” กิตติคุณ ธรรมกิติราษฎร์ เจ้าของเพจ มัมดิวไดอารี่
'ส.ว.โอสถ' รับรองหัวหน้าพรรคก้าวไกลล็อบบี้ขอเสียงหนุน'พิธา'
'ส.ว.โอสถ' เผยรองหัวหน้าพรรคก้าวไกลมาคุยเป็นการส่วนตัว ขอเสียงโหวตให้ 'พิธา' แต่ยังไม่ได้รับปาก ขอดูนโยบายก่อน รับระแวงแก้มาตรา 112