‘บูลลี่’พุ่งในหมู่เด็ก พฤติกรรมที่ต้องเลี่ยง!

ปัญหาการบูลลี่ในไทยไม่มีแผ่วเมื่อเทียบกับประเทศทั่วโลก ข้อมูลมูลนิธิเครือข่ายครอบครัวระบุปี 2563 ประเทศไทยติดอันดับ 2 ในโลก รองจากญี่ปุ่น เป็นการบูลลี่ (BULLY) ด้วยการใช้ตัวอักษรผ่านโซเชียลมีเดีย ขณะที่ Punch Up x Wisesight เปิดข้อมูลพบว่า คำที่คนไทยใช้บูลลี่มากที่สุดเป็นเรื่องรูปลักษณ์ เพศ และความคิดกับทัศนคติ ได้แก่ ไม่สวย, ไม่หล่อ, , ขี้เหร่,หน้าปลอม, ผอม,อ้วน, เตี้ย, สิว, ดำ, ขาใหญ่, จอแบน, เหยิน, เหม่ง, ตุ๊ด, สายเหลือง, ขุดทอง, กะเทย,  กะหรี่, แมงดา, ชะนี, แรด, หากระโปรงมาใส่, โง่, สลิ่ม, ตลาดล่าง, ปัญญาอ่อน, ต่ำตม, ไดโนเสาร์ เป็นต้น  ยังไม่รวมการล้อเล่นที่ทำให้อีกฝ่ายขายหน้า

กรมสุขภาพจิต โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและเยาวชนและวัยรุ่นราชนครินทร์ ร่วมมือกับ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA GROUP พัฒนาแอปพลิเคชันชื่อว่า BuddyThai ช่วยเหลือเด็กที่โดนรังแกหรือโดนบูลลี่ที่โรงเรียน โดนบูลลี่ผ่านโซเชียลมีเดีย และบรรเทาปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มวัยรุ่นบ้านเรา 

สอดรับกับข้อมูลเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชน สำรวจกลุ่มเด็กอายุ 10 – 15 ปี ใน 15 โรงเรียน พบว่า ร้อยละ 91 เคยถูกบูลลี่ วิธีการที่ใช้มากที่สุด คือ การตบหัว ถูกล้อชื่อพ่อชื่อแม่ ถูกเหยียดหยาม ล้อปมด้อย พูดจาเสียดสีสารพัด การกลั่นแกล้งมักเกิดขึ้นที่โรงเรียน ในเวลาหลักเลิกเรียน ที่สนามเด็กเล่น, สนามบาส, ลานอเนกประสงค์ หรือเส้นทางกลับบ้านของนักเรียน

การบูลลี่ในโรงเรียนนำไปสู่ปัญหาแก่เด็กๆ บ้างกังวล บ้างกลัว ทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ส่งผลต่อการเรียนและความปลอดภัยของเด็ก มีปัญหาอาชญากรรม เช่น กรรโชกทรัพย์ เหยื่อมักเป็นเด็กอายุ 12 – 18 ปี ยิ่งกว่านั้นการเกิดขึ้นซ้ำๆ กระทบสภาพทางจิตใจ หรือแม้กระทั่งเสี่ยงให้เด็กตอบโต้เอาคืนด้วยวิธีรุนแรง

บูลลี่มีกี่ประเภท กรมสุขภาพจิต ระบุไว้ 3 ประเภท ประกอบด้วย 1.การกลั่นแกล้งทางวาจา คือ การสื่อสาร เขียน เพื่อสื่อความหมายกลั่นแกล้ง เช่น ล้อเล่น, เรียกชื่อ, แสดงความคิดเห็นทางเพศที่ไม่เหมาะสม, เหน็บแนม และขู่ว่าจะทำอันตราย

2.การกลั่นแกล้งทางสังคม คือ วิธีการทำให้เสียหน้า หรือแกล้งให้สูญเสียความสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างตั้งใจ เช่น ขับเพื่อนออกจากกลุ่ม, กระจายข่าวลือให้เสียหาย, กีดกันไม่ให้เป็นเพื่อนกัน, ทำให้อับอายในที่สาธารณะ

3.การกลั่นแกล้งทางกายภาพ คือ การกลั่นแกล้งที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและสวัสดิภาพของผู้ถูกกลั่นแกล้ง เช่น การทุบตี ทำร้าย ทำให้สะดุด แย่งสิ่งของ แสดงออกทำท่าทางหยาบคายใส่

นพ.ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การบูลลี่ คือ การกลั่นแกล้งรังแกทั้งคำพูดหรือพฤติกรรม ที่ทำให้ผู้ถูกกระทำเกิดความเจ็บปวดต่อร่างกาย เกิดผลกระทบทางจิตใจรู้สึกกลัว ทุกข์ ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น การเฝ้าระวังและสอดส่องติดตามปัญหาดังกล่าวเป็นวิธีการที่สำคัญต่อภารกิจในการลดปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียนและผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย หลายครั้งที่นักเรียนไม่กล้าแม้แต่จะพูดคุยหรือปรึกษาเพื่อน ครู หรือผู้ปกครอง เนื่องจากโดนจับตามองอยู่ตลอดเวลาจากเพื่อนหรือกลุ่มเพื่อนที่บูลลี่ผู้อื่น ทำให้หลายครั้งการแก้ปัญหาทำได้ล่าช้า เยาวชนบางคนเครียด เป็นโรคซึมเศร้า ไม่มีที่พึ่ง

“ การมีแอปพลิเคชัน BuddyThai ที่สามารถใช้เป็นช่องทางการขอความช่วยเหลือและบันทึกสถานะอารมณ์ของเด็ก ๆ ได้นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตสามารถให้ความช่วยเหลือเด็กที่ต้องการเชิงรุกและนำไปสู่การลดปัญหาการบูลลี่และผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ “ นพ.ดุสิต กล่าว

ด้าน เฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TTA กล่าวว่า ปัจจุบันการบูลลี่กันในกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นปัญหาสำคัญที่ถูกมองข้ามและไม่มีใครลุกขึ้นมารณรงค์แก้ไขกันอย่างจริงจัง การบูลลี่ไม่ใช่เป็นแค่เรื่องร่างกายที่บาดเจ็บ แต่เป็นปัญหาด้านจิตใจจนฝังรากลึก สถานการณ์การกลั่นแกล้งต่างๆ ดูเหมือนจะเพิ่มมากขึ้น มีข่าวเด็กและเยาวชนเครียด เป็นโรคซึมเศร้า และฆ่าตัวตาย ให้ได้ยินบ่อยมาก ทั้งที่ความจริงเด็กและเยาวชนยุคใหม่เก่งและมีความสามารถสูง  

“ คำถาม คือ ทำอย่างไรถึงจะช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่โดนบูลลี่ ให้พวกเขามีจิตใจที่เข้มแข็งและมีทักษะในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เราต้องการให้เด็กเหล่านี้มีที่ปรึกษาที่อุ่นใจอยู่ข้างกายตลอดเวลา เป็นผู้เชี่ยวชาญจิตวิทยาที่ไว้ใจได้ ช่วยได้จริง ทาง TTA Group ร่วมกับกรมพัฒนาแอป BuddyThai มุ่งช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่โดนบูลลี่โดยเฉพาะ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจิตใจให้กับเด็กแล้ว ยังเปิดโอกาสให้โรงเรียน คุณครู ผู้ปกครอง และนักจิตวิทยาใช้ติดตามช่วยเหลือกลุ่มเด็กที่มีปัญหาจนกระทบต่อสุขภาพจิตขั้นรุนแรงได้ทันท่วงที “ เฉลิมชัย กล่าว

แอปพลิเคชัน BuddyThai มีคุณสมบัติและฟังก์ชันที่ออกแบบมาเพื่อเป็นที่ปรึกษาแก่เด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ ซึ่งมีจุดเด่น คือ ประเมิน มีแบบประเมินตนเอง ด้านความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) รวมถึงมีชุดความรู้และแบบฝึกหัดทักษะการใช้ชีวิต ที่จะทำให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ว่า จะต้องรับมือกับสถานการณ์ในชีวิตอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อโดนบูลลี่ พร้อมมีคำแนะนำดีๆ จากนักจิตวิทยาที่เชื่อถือได้

ปรึกษา มีปุ่มขอคำปรึกษากับนักจิตวิทยาได้โดยตรง เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถกดปุ่มนี้เพื่อติดต่อถึงสายด่วน 1323 ของกรมสุขภาพจิต หรือเลือกแชทกับนักจิตวิทยาผ่าน Facebook ของกรมสุขภาพจิต รวมทั้งผ่านนักจิตวิทยาและอาสา LoveCare Station ของมูลนิธิแพธทูเฮลท์ และผ่าน Facebook ของ BuddyThai App ได้เช่นกัน

ป้องกัน มีระบบบันทึกข้อมูลอารมณ์ในแต่ละวัน เด็กและเยาวชนสามารถเข้ามาบันทึกอารมณ์ของตัวเองได้ทุกวันและวันละหลายๆ ครั้ง และใส่เหตุผลได้ด้วย ข้อมูลอารมณ์จะบันทึกเป็นสถิติรายสัปดาห์และรายเดือน ทำให้เด็กและเยาวชนตรวจสอบได้ว่า ที่ผ่านมาส่วนใหญ่ตนเองมีอารมณ์ในรูปแบบใด แรงจูงใจใด โดยมีเทคนิคการจัดการอารมณ์ให้เด็กอ่านง่ายๆ ด้วยตนเอง

ขณะที่ถ้าพบว่าเด็กและเยาวชนคนไหนบันทึกว่า มีอารมณ์เครียด ซึมเศร้าติดต่อกันเป็นอาทิตย์ และมีแนวโน้มคิดฆ่าตัวตาย ทีมแอดมินจะเฝ้าระวังเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด และสามารถแจ้งไปยังโรงเรียนและคุณครู หรือนักจิตวิทยาสายด่วนในการติดต่อเชิงรุกป้องกันก่อนสายเกินแก้

สำหรับแอป Buddy Thai กรุงเทพมหานครร่วมนำร่องให้นักเรียนในโรงเรียนสังกัดกทม. ดาวน์โหลดใช้งาน พร้อมแชร์ประสบการณ์ให้ทีมพัฒนาแอปนำไปวางแผนปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป รวมทั้งจัดทำแบบสอบถามกับนักเรียน เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา Buddy Thai App เฟสต่อไป ให้มีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อเด็กมากที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศชอ. แจ้งผลคดีครูส้มบูลลี่ 'พล.อ.เปรม' โดนวินัยร้ายแรง ชิ่งลาออกราชการแล้ว

เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด bully ทางสังคมออนไลน์ ศชอ. โพสต์ข้อความว่า แจ้งข่าวความคืบหน้าคดีครูส้ม bully ป๋าเปรม จากการติดตามสอบถามไปยังกระทรวงศึกษาธิการในวันนี้ ได้ทราบข่าวว่า ครูส้มโดนวินัยร้ายแรง และได้ลาออกจากราชก

'Viu' ชวนระทึกไปกับเกมแห่งชนชั้นของห้องเรียนนรก การบูลลี่รุนแรงในโรงเรียน

เรียกได้ว่าซีรีส์เกาหลีกับเรื่องราวการบูลลี่ในโรงเรียนนั้นมักจะมีให้เห็นอยู่เสมอ แต่สำหรับ “Pyramid Game เกมพีระมิด” นับเป็นซีรีส์ที่มีฉากการกลั่นแกล้งบูลลี่อย่างรุนแรงตั้งแต่เปิดเรื่อง สะท้อนด้านมืดและความอิจฉาริษยาในจิตใจของผู้หญิงที่อยากจะเอาชนะและเหยียบย่ำคนที่ไม่ชอบให้จมดิน

มิสไทยแลนด์เวิลด์ 2566 'ทารีน่า โบเทส' รับเครียด ถูกดราม่าข้อด้อย

สาวงามลูกครึ่งไทยแอฟริกัน "ขนม-ทารีน่า โบเทส" จากเวทีมิสไทยแลนด์เวิลด์ 2566 เปิดใจถึงเรื่องราวชีวิตที่โดนบูลลี่ตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นคนเอเชียผิวสีเหลือง เดินสายประกวดนางงามมาแล้วถึง 30 เวที ในอดีตเคยมีปมในใจโดนดราม่าเรื่องภาษาว่าช็อตไมค์ กว่าจะมีมงอย่างวันนี้ได้ต้องเพียรพยายามพัฒนาตัวเอง ในรายการ WOODY FM

กรมสุขภาพจิต ตั้งเป้าดูแลใจผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ลดเครียด ซึมเศร้า

รองโฆษกรบ. เผย กรมสุขภาพจิต วางแผนสนับสนุน ดูแลสุขภาพใจให้ผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำ ตั้งเป้าลดความเครียด ภาวะซึมเศร้า สร้างความเข้มแข็งทางใจ

ตัดตอนผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน ฟื้นฟูคืนสู่'บ้าน'

กรณีฆาตกรรม’ป้ากบ’ บัวผัน ตันสุ  ในพื้นที่ อ.อรัญประเทศ  จ.สระแก้ว  โดยกลุ่มเยาวชนคึกคะนอง ซึ่งป้ากบอยู่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า “คนเร่ร่อนไร้บ้าน” อาศัยฟุตบาทเป็นที่หลับนอน  จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นภาพสะท้อนสำคัญและขยายปัญหาที่เรื้อรังมานานให้ชัดเจน