ยุ่งแล้ว !ศูนย์จีโนมฯ รายงานความคืบหน้าล่าสุด นักวิทย์ระดับโลก พบหากได้รับวัคซีนเทพ mRNA จำนวนครั้งมาก จะเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อโควิดมากเท่านั้น

การค้นพบเหล่านี้อาจมีส่วนชี้ให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการใช้สายพันธุ์โควิดที่จำเพาะเจาะจง (Narrow-Spectrum Anti-coronavirus Vaccines) ซ้ำจนประทับเข้าไปในความทรงจำของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Imprinted SARS-CoV-2 humoral immunity) ว่าต้องเข้าจับและทำลายสายพันธุ์นี้เท่านั้น

27 ธ.ค.2565-ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี หรือ Center for Medical Genomicsได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับ”วัคซีนเข็มกระตุ้น” พร้อมกับความคืบหน้าการนำวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอรุ่นที่สอง“ไบวาเลนต์” ที่มีการฉีดในสหรัฐอเมริกา

ประสิทธิผลของ “วัคซีนเข็มกระตุ้น” เอ็มอาร์เอ็นเอรุ่นที่สอง “ไบวาเลนต์” จากการใช้งานจริงในกลุ่มประชากรกว่า 5 หมื่นคนเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19


ปรับปรุง 27/12/2565 เวลา 10:05


นพ. นาบิน เค เชรสธา (Nabin K Shrestha ) และทีมวิจัยแผนกโรคติดเชื้อ จากคลีฟแลนด์คลินิก ซึ่งเป็นศูนย์การแพทย์เพื่อการศึกษาที่ไม่แสวงหาผลกำไร ตั้งอยู่ที่เมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเสนองานวิจัย (เตรียมตีพิมพ์ เป็นงานวิจัยใหม่ที่ยังไม่ได้รับการประเมินให้การรับรองโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ/peer review ไม่ควรใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติทางคลินิก) อาศัยข้อมูลจริง(real world data)ของการฉีด “วัคซีนเข็มกระตุ้นเอ็มอาร์เอ็นเอรุ่นที่สอง ไบวาเลนต์ (bivalent Vaccine Booster Shot)” เก็บรวบรวมจากพนักงานในวัยทำงานจำนวน 51,011 คน (อายุเฉลี่ย 42.3 ปี) ของ “คลีฟแลนด์คลินิก” ซึ่งเคยได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอรุ่นแรกและมีการติดเชื้อโควิด-19 ตามธรรมชาติมาก่อน ระหว่างเดือนธันวาคม 2563-2565 พบว่าเมื่อได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอรุ่นที่สอง ไบวาเลนต์ (bivalent Vaccine Booster Shot) เริ่มตั้งแต่ 12 กันยายน 2565 ที่ผ่านมาสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ร้อยละ 30 ในระยะเวลา 3 เดือน



โดยช่วงเวลาดังกล่าวรัฐโอไฮโอและรัฐใกล้เคียง มีการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่ BQ.1.1, BQ.1, BA.5,XBB,BF.7, BN.1, และ BA.2.75 โดยสัปดาห์ล่าสุดมีสายเพันธุ์เหล่านี้ระบาดคิดเป็นร้อยละ 40.7,28.9,8.9,6.2,5.8,4.2 และ 1.3 ตามลำดับ


แต่สิ่งที่คาดไม่ถึงที่ทีมวิจัยพบคือความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 กลับมีการแปรผันตรงตามจำนวนครั้งหรือโดส (dose) ของการฉีดวัคซีน(เอ็มอาร์เอ็นเอ) กล่าวคือหากได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอจำนวนมากก่อนหน้านี้ ความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ก็จะยิ่งสูงขึ้น


นักวิจัยคณะนี้พยายามหาคำอธิบายที่ง่ายๆว่าอาจเป็นไปได้ว่าผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนหลายเข็มส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโควิด-19 (จึงให้ความสำคัญเข้ามารับการฉีดวัคซีนหลายเข็ม)


งานวิจัยนี้ไม่ใช่งานวิจัยแรก (ที่แสดงให้เห็นว่าหากได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอจำนวนมากจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19) แต่ยังมีงานวิจัยก่อนหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัครจำนวนกว่าแสนคนในประเทศกาตาร์ที่พบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ 3 โดสมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโอมิครอนซ้ำมากกว่าผู้ที่มีได้รับวัคซีน 2 โดส และงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งยังพบว่าการได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ 2 หรือ 3 โดสมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำสูงกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอเพียงโดสเดียว


การค้นพบเหล่านี้อาจมีส่วนชี้ให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการใช้สายพันธุ์โควิดที่จำเพาะเจาะจง (Narrow-Spectrum Anti-coronavirus Vaccines) ซ้ำจนประทับเข้าไปในความทรงจำของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Imprinted SARS-CoV-2 humoral immunity) ว่าต้องเข้าจับและทำลายสายพันธุ์นี้เท่านั้น อาจส่งผลให้ภูมิคุ้มกันที่ได้อาจด้อยประสิทธิภาพลงหากบุคคลเหล่านั้นได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น(booster shot) ที่สร้างจากไวรัสสายพันธุ์เดิมซ้ำ และต่อมามีการติดเชื้อซ้ำ (breakthrough SARS-CoV-2 infection) ด้วยโควิดสายพันธุ์อุบัติใหม่ที่มีการกลายพันธุ์แตกต่างออกไป (จากสายพันธุ์ที่ใช้เป็นต้นแบบในการสร้างวัคซีน)


การค้นพบนี้ไม่ได้บั่นทอนประโยชน์ของการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในระยะสั้นแต่กลับเป็นตัวเร่งให้ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกตระหนักและให้ความสนใจศึกษาระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์เมื่อได้รับการกระตุ้นจากวัคซีนหรือจากการติดเชื้อตามธรรมชาติที่มีความซับซ้อนให้รอบด้าน ครบทุกมิติ เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในการบริหารจัดการชนิดของวัคซีน จำนวนครั้ง(โดส)ของการฉีดวัคซีน รวมทั้งระยะห่างของการฉีด อีกทั้งยังจะเป็นตัวเร่งการพัฒนาวัคซีนที่สามารถป้องกันการติดเชื้อที่ครอบคลุมสายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบัน และสายพันธุ์ใหม่ที่จะอุบัติขึ้นในอนาคต (Broad-Spectrum Anti-coronavirus Vaccines) เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนได้รับประสิทธิผลของวัคซีนแต่ละประเภทในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด


Effectiveness of the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Bivalent Vaccine. Available at:
https://www.medrxiv.org/con…/10.1101/2022.12.17.22283625v1
Chemaitelly H, Ayoub HH, Tang P, et al. COVID-19 primary series and booster vaccination and immune imprinting. 2022:2022.10.31.22281756. Chemaitelly H, Ayoub HH, Tang P, et al. COVID-19 primary series and booster vaccination and immune imprinting. 2022:2022.10.31.22281756. Available at: https://www.medrxiv.org/con…/10.1101/2022.10.31.22281756v1
Shrestha NK, Shrestha P, Burke PC, Nowacki AS, Terpeluk P, Gordon SM. Coronavirus Disease 2019 Vaccine Boosting in Previously Infected or Vaccinated Individuals (COVID-19). Clin Infect Dis 2022; :ciac327.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' เลิกพูดถึงเรื่อง 'white clot' แต่ยังให้ความสำคัญกับผลกระทบของวัคซีน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

อึ้ง! 'หมอธีระวัฒน์' แฉที่มา 'แท่งย้วยสีขาว' คนตายหลังฉีด mRNA แนะถอนพิษคนไทยทั้งประเทศ

'หมอธีระวัฒน์' ร่ายยาวแท่งย้วยสีขาวตันเส้นเลือดของผู้ที่เสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน mRNA เกิดจากอนุภาคนาโนไขมันซึมเข้ากระแสโลหิตและเข้าเซลล์เนื้อเยื่อ และสั่งให้เซลล์สร้างโปรตีนหนามออกมาที่ผิวของเซลล์ มีโครงสร้างผิดรูป แนะหยุดฉีดวัคซีน หาทางถอนพิษที่ฝังตัวในคนไทยทั้งประเทศ

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”