ฉีดวัคซีนปูพรมก่อนหน้าฝน  รับมือ'สายพันธุ์XBB.1.16'

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดเสวนาวิชาการหัวข้อ"COVID-19สายพันธุ์ XBB.1.16 สำคัญอย่างไร" ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ  คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  กล่าวว่า วัคซีนมีความสำคัญมากกับการระบาดโควิด เราเสียเงินซื้อวัคซีน 1 ดอลลาร์ แต่สามารถเซฟเงินได้ถึง 10ดอลลาร์  หากเจ็บป่วย รักษาพยาบาล  ผลการศึกษาพบว่าคนไทยมีภูมิจากโควิด  94 % เป็นภูมิมาจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อ สำหรับสายพันธุ์ XBB.1.16 ถือว่าเรายังไม่มีภูมิคุ้มกันสำหรับสายพันธุ์นี้ เพราะปกติถ้าสายพันธุ์ไหนอยู่กับเรานานๆ เราก็จะมีภูมิคุ้มกันในสายพันธุ์นั้นๆ  ขณะนี้ สายพันธุ์ XBB .1.5  กำลังระบาดในอเมริกา ซึ่งสายพันธุ์นี้ ติดต่อได้เก่งกว่าสายพันธุ์BA ประมาณ  17-20 %  

อย่างไรก็ตาม ยังมีโควิดอีก20 กว่าสายพันธุ์ใหม่ๆ ซึ่งน่าจะเข้ามาแทนที่สายพันธ์เดิมๆ ในอนาคต ดังนั้น วัคซีนจึงเป็นอาวุธที่สำคัญ ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา  กรมควบคุมโรค  ระบุชัดว่า ถ้าเราไม่มีวัคซีน จะมีคนตายหรือเข้าไอซียูอีกเยอะ วัคซีนจึงเป็นช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยสูงอายุได้ 41  เท่า ในเด็ก3 เท่า แต่ปัญหาของวัคซีนคือ ภูมิจะตกลงตามระยะเวลาหลังการฉีด  สวนทางโควิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่จะมีความเก่งขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จึงต้องมีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น  และจำเป็นต้องได้เข็ม 3-4  ถึงจะปกป้องสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์เป็นลูกผสมได้ดี

ศ.พญ.กุลกัญญา กล่าวอีกว่า  การฉีดวัคซีนของคนไทยยังไม่เป็นไปเป้า ที่เห็นได้ชัดคือ กลุ่มผู้สูงวัย ยังฉีดเข็มที่ 3ไปแค่ 44 %เข็มที่ 4 ฉีดไป 11.8 % เท่านั้น  ขณะที่ ในกลุ่มเด็กก็ยังฉีดเข็มที่  3 หรือ 4 น้อยมาก  กลุ่มเด็กอายุ 6เดือน-4ขวบ ฉีดเข็มที่ 1 ไปแค่ 3.4 % ไม่ถึง 5% ซึ่งถือว่าต่ำมาก  ซึ่งอาจเป็นเพราะความเข้าในผิดของพ่อแม่  ต้องการปกป้องลูก กลัวว่าเด็กจะเกิดอาการข้างเคียงจากวัคซีน แต่แท้จริงแล้วเด็กเล็ก ถ้าติดเชื้อ จะเกิดอาการหนักกว่าเด็กโต  

ความสำคัญของการฉีดเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิ ศ.พญ.กุลกัญญา กล่าวว่า  เข็ม 3 จะลดการนอนโรงพยาบาล ได้กว่า 40% ลดตาย 70% การฉีดกระตุ้นจึงมีความสำคัญมาก  ซึ่งหากเราได้รับวัคซีน 3 โดส วัคซีนจะไปกระตุ้นระบบเซลล์ ( T-Cell )ซึ่งเป็นความทรงจำของเซลล์ปกป้องร่างกายได้ 100 %  ซึ่งผลจะของการกระตุ้นนี้ จะอยู่ได้ยาวนาน  ทำให้เวลาติดเชื้อแล้วป่วยจะไม่ป่วยหนัก และป่วยไม่นาน แต่หลังฉีดเข็มที่ 4 ไปแล้ว  4-6เดือน  ภูมิก็จะตกเช่นกัน แต่อัตราตกจะใกล้กับหลังฉีดเข็มที่ 3  ซึ่งไม่เท่ากับหลังการฉีดเข็มที่ 2 ที่ภูมิจะตกมาก

ผลการศึกษายังพบอีกว่า ไม่สำคัญว่าเราจะฉีดวัคซีนอะไร  แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่จำนวนเข็มที่ฉีด โดยเฉพาะการฉีดไขว้แพลตฟอร์ม  ผลการศึกษาในไทยพบว่า ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพการป้องกันดีขึ้น เช่น  ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ไฟเซอร์ 1 เข็มสามารถป้องกันได้ 98% หรือฉีดซิโนแวค 2เข็ม และแอนตร้าเซนเนก้า ฯ 1 เข็ม ป้องกันได้ 86%  อย่างไรก็ตาม ตอนนี้มีวัคซีนรุ่นใหม่  ของทั้งไฟเซอร์ และโมเดอร์นา  ไฟเซอร์จากเดิม มีขนาด 30โมโครกรัม ซึ่งเป็นวัคซีนทำจากสายพันธุ์อู่ฮั่นทั้งหมด แต่รุ่นใหม่ เป็นการผสมระหว่างสายพันธุ์เดิม 15 โมรโครกรัม และสายพันธุ์โอมิครอน  15 ไมโครกรัม  กลายเป็น Bivalent ส่วนโมเดอร์นา เป็นการผสมของสายพันธุ์เก่า 25ไมโครกรัม กับของโอมิครอน25  ไมโครกรัม รวม 50ไมโครกรัม ผลการศึกษาพบว่าวัคซีนรุ่นใหม่ หรือ Bivalent ของไฟเซอร์มีผลป้องกันโควิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ได้ดีกว่า วัคซีนรุ่นเก่า  ส่วนโมเดอร์น่า ก็พบว่าวัคซีนรุ่นใหม่ กระตุ้นภูมิได้สูงขึ้นดีมาก  คนไม่เคยติดเชื้อมาก่อนภูมิขึ้นสูงถึง 1500  นอกจากนี้ วัคซีนที่เป็น Bivalent ถ้าฉีดเข็ม 4 จะมีผลป้องกันโอมิครอนได้ถึง 96%  

"แต่สำหรับสายพันธุ์ XBB.1.16  มีคนศึกษาในอเมริกา Bivalent จะทำให้ลดการนอนรพ.ได้ถึง 73 % เทียบกับการฉีดแบบเดิม 2โดส แล้วไม่กระตุ้น  แต่ถึงฉีดBivalent ภูมิก็จะตกอีก จึงต้องฉีดกระตุ้นใหม่  โดยช่วงตกท้องช้างภูมิต่ำสุด เราก็ต้องระวังตัว ช่วงหน้าฝนจะระบาดสูง จึงเป็นที่มาต้องกระตุ้นให้ภูมิขึ้นพีค เป็นระยะๆ และช่วงหน้าฝนจะดีที่สุด" ศ.พญ.กุลกัลญา กล่าวอีกว่า แม้องค์การอนามัยโลกจะบอกว่า วัคซีนรุ่นเก่าสามารถใช้ได้  แต่ก็ยอมรับว่าวัคซีนรุ่นใหม่ มีประสิทธิภาพที่เหนือกว่ารุ่นเก่า  ซึ่งวัดความเหนือนกว่าออกมาได้ 30%  ส่วนการฉีดเข็มกระตุ้นอีกเมื่อไหร่ แม้องค์การอนามัยโลกจะบอกให้ฉีด 6-12 เดือน  แต่ CDCข องสหรัฐ กลับบอกให้ทิ้งช่วงแค่ 3 เดือนก็สามารถฉีดเข็มกระตุ้นได้ โดยองค์การอนามัยโลก ได้ออกโรดแมปการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงว่ากี่เดือนควรฉีดกระตุ้น หรือกลุ่มเสี่ยงปานกลางควรฉีดแค่   3 เข็ม แต่จากการศึกษาของไทยเราเอง พบว่า 3เข็มอาจจะเพียงพอกับโอมิครอนสายพันธุ์เก่า แต่ไม่พอสำหรับ สายพันธุ์ใหม่ๆ อย่างพวก XBB  ต้องฉีด 4เข็ม ซึ่งการฉีดต้องเป็นระดับการฉีดปูพรม  ในฐานะที่โควิดเป็นโรคประจำถิ่น  โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูง ถ้าไม่เคยรับวัคซีน หรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อน ควรขอรับวัคซีน   2 เข๋ม และห่างกันแต่ละเข็ม 2 เดือน   "

"การฉีดต่อจากนี้ ควรเป็นการฉีดประจำปีหรือ Annual ปีนี้เป็นปีแรกที่เราควรฉีดปูพรม ก่อนหน้าฝน คนไทยทุกคนควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น 1เข็ม ถ้าเราพลาดจังหวะนี้ไปแล้วไปฉีดช่วงอื่นนั้น ก็สามารถฉีดได้    แต่จะบอกว่าประโยชน์สูงสุดการฉีด คือ ช่วงก่อนหน้าฝน หรือหลังสงกรานต์   ถ้าเราฉีดได้เร็ว จะทำให้การระบาดหน้าฝนที่จะรุนแรง ก็จะไม่รุนแรง  กลุ่มเป้าหมายสำคัญ คือ กลุ่มเสี่ยงสูง ควรฉีดพร้อมกับไข้หวัดใหญ่ เพราะสองโรคเกิดพร้อมก้นได้  ถ้าติดเชื้อ 2โรคพร้อมกัน ในผู้สูงอายุ โอกาสเสียชีวิตก็จะสูงถึง 50%  ถ้าเป็นโควิดอย่างเดียว โอกาสเสียชีวิตก็จะมีประมาณ 23%  "

สำหรับ คนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือกลุ่มเปราะบาง ตอบสนองต่อวัคซีนไม่ดี ซึ่งมี LAAB ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ฉีดเสริม จากวัคซีน สามารถป้องกันติดเชื้อ 82 %  หรือถ้าติดเชื้อแล้วฉีดLAAB  จะลดความรุนแรงได้ 88% แต่ LAAB  จะตอบสนองต่อสายพ้นธุ์BA.2.27 ได้ดีกว่า สายพันธุ์ใหม่ XBB  จะป้องกันไม่ค่อยได้ ซึ่งต่อไปถ้ามีแต่สายพันธุ์ XBB คงต้องเลิกใช้ LAAB อย่างในสหรัฐอเมริกา เคยให้ LAAB แต่พบว่า 90% ฉีดแล้วป้องกันไม่ได้ คนยังตอเชื้ออีก อเมริกา จึงเลิกใช้ LAAB   ซึ่งแนวโน้ม LAAB ต่อไปคงต้องเลิกใช้ในที่สุด

“สำหรับตัวหมอเอง เนื่องจากมีความเสี่ยงจากการพบผู้ป่วยจำนวนมาก จึงฉีดไปแล้ว 6 เข็ม โดยเข็มล่าสุดรับมาแล้วประมาณ 4-5 เดือน และกำลังจะเข้ารับเข็มถัดไปในเร็วๆนี้ นอกจากนั้น ยังเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ด้วย” ศ.พญ.กุลกัญญา กล่าว

ศ.พญ.กุลกัญญา บอกอีกว่า ประโยชน์อื่นของวัคซีน ยังมีในแง่การป้องกันการเกิดLong Covid ถ้าฉีด 3เข็มป้องกันได้ 84% ถ้าฉีด 2เข็มป้องกันได้ 75%  นอกจากนี้ คนที่เคยเป็นโควิด แล้วเป็นลองโควิด โดยมีอาการมาก พวกนี้มักเป็นพวกร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัวอยู่มาก   บางคนมีอาการทางสมอง ปอด หรือหัวใจ ซึ่งพบว่าถ้าฉีดวัคซีนแล้ว จะทำให้อาการลองโควิด อาจหายไป หรือลดลง 27% นอกจากนี้  ในคนท้องวัคซีนป้องกันนอนรพ.ได้ 71%  ถ้าฉีดหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไปแล้ว และจะป้องกันทารกในครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกิน6เดือนได้ 69% แต่ถ้าฉีดเร็วเกินไปในช่วงท้อง 3เดือน ระดับการป้องกันละลดลงได้แค่ 38%

"โดยสรุปคือ การป้องกันสายพันธุ์ใหม่ได้ ต้องฉีดอย่างน้อย 3-4เข็ม หลังฉีด4-6เดือนภูมิจะตก ถ้ากลุ่มเสี่ยงต้องฉีดซ้ำ คนชราคนมีโรคประจำตัวจะต้องฉีดทุก 6เดือนหรือกระตุ้นเป็นระยะๆ เคยติดเชื้อมาก่อน และเป็นไฮบริด ถ้าได้ฉีดวัคซีนรุ่นใหม่ที่เป็น Bivalent  จะมีผลในการป้องกันข้ามสายพันธุ์ได้ดีกว่า  "

ในเรื่องผลข้างเคียง ศ.พญ. กุลกัญญา กล่าวว่า ถ้าฉีดเข็มที่ 1-2 อาจจะพบมาก แต่ถ้าฉีดเข็มกระตุ้น 3- 4 และทิ้งช่วงห่าง 3 -6เดือน โอกาสเเกิดอาการข้างเคียงจะน้อย อย่างภาวะแทรกซ้อนของหัวใจในเพศชายจะน้อยมาก   ๆ เช่นผู้ชายอายุ 37 ปี ถ้าเป็นโควิด มีโอกาสเเกิดภาวะแทรกซ้อนของหัวใจมากกว่า 2-6 เท่า เมื่อเทียบกับการฉีดวัคซีน ส่วนคนอายุ 18-29 ปี มีโอกาสเกิด ภาวะแทรกซ้อนหัวใจ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดปกติมากกว่า ฉีดวัคซีน 7-8เท่า ซึ่งการติดโควิด จะทำให้เกิดกลุ่มอาการระบบประสาท จะมีอาการระบบประสาทมากกว่า ฉีดวัคซีน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่งตามคาด! สายพันธุ์ไม่เปลี่ยน อาการคล้ายหวัด

กรมควบคุมโรคเผยสถานการณ์โรคโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นหลังเทศกาลสงกรานต์ เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี สายพันธุ์ไม่เปลี่ยนอาการคล้ายหวัด แนะ กลุ่มเสี่ยง 608 ระมัดระวังหากมีอาการสงสัยป่วยควรปรึกษาแพทย์

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 501 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 501 ราย