เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ได้ขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน

5 ส.ค.2566 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 34 (34th Meeting of the ASEAN Senior Officials on the Environment : 34th ASOEN) วันที่ 1 สิงหาคม 2566 ได้พิจารณารับรองการขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน (ASEAN Heritage Park: AHP) ของประเทศไทย จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียวและอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 56 และอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นอุทยานมรดกอาเซียนแห่งที่ 57 และได้พิจารณารับรองให้โรงเรียนสาธิตเทศบาลบ้านหัวหิน เข้ารับรางวัลโรงเรียนที่มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมดีเด่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ กลุ่ม ASEAN “ASEAN Eco-Schools” ระดับมัธยมศึกษาและระดับประถมศึกษา รวมทั้งรับรองให้นายมนตรี เจือไธสง เข้ารับรางวัลนักวิจัย / ครูผู้สอนสิ่งแวดล้อมศึกษาดีเด่น ระดับชาติและระดับนานาชาติ กลุ่ม ASEAN “ASEAN Youth Eco-Champions Award”

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับการรับรองเป็นอุทยานมรดกอาเซียน ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา กลุ่มอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลันและอ่าวพังงา กลุ่มป่าแก่งกระจาน ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และอุทยานแห่งชาติเขาสก

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการนำเสนอ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 หลายภาคส่วนได้ร่วมกันเตรียมเอกสารนำเสนอข้อมูลพื้นที่ ตลอดจนเร่งระดมสรรพกำลังเพื่อให้สามารถผ่านเกณฑ์การประเมินได้ ซึ่งไทยมีความโดดเด่นหลายประการ อาทิ การอนุรักษ์ธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ มีพื้นที่ที่มีความเชื่อมโยงกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น

“โลกมีการตื่นตัวเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ รัฐบาลไทยให้ความสำคัญและเร่งพัฒนาแนวความคิดของคนไทยอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ การสนับสนุนให้พื้นที่ในประเทศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นพื้นที่คุ้มครอง รักษาสภาพธรรมชาติ ร่วมกับให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์ควบคู่ไปด้วย ซึ่งอุทยานแห่งชาติจะช่วยรักษาสภาวะสมดุลธรรมชาติ พร้อมกันนี้ รัฐบาลสนับสนุนให้ระบบการศึกษาไทยให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมสร้างการตระหนักรู้ตั้งแต่เยาวชน ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะส่งผลต่อการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต” นางสาวรัชดา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รัชดา' แนะเพื่อไทยอ่านบทความ IMF จะได้ไม่เขลาเรื่องอิสระของแบงค์ชาติ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก อดีตส.ส.กทม พรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองโฆษกรัฐบาล โพสต์เฟซบุ๊คชวนพรรคเพื่อไทยอ่านบทความจาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

นายกฯ สั่งปราบมิจฉาชีพออนไลน์ ปิดบัญชีม้าแล้ว 7 แสนบัญชี อายัดเงินเกือบ 1 พันล้าน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ด้วยความมุ่งมั่นใส่ใจของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ส่งผลให้รัฐบาล ปิดบัญชีม้าแล้วกว่า 7 แสนบัญชี อายัดเงินเกือบ 1 พันล้าน และอยู่ระหว่าง ตรวจสอบ เพื่อคืนเงินผู้เสียหายต่อไป

รัฐบาลเตรียมต้อนรับ รมว.พาณิชย์ซาอุฯ ชี้โอกาสสำคัญต่อยอดจากนายกฯเศรษฐาเยือนซาอุฯ

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีกำหนดต้อนรับ ดร.มาญิด บิน อับดุลเลาะฮ์ อัลกอเศาะบี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ซาอุดีอาระเบีย

พรบ.งบ 67 มีผลบังคับใช้แล้ว นายกฯ เชื่อมั่นจะช่วยให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พ.ร.บ. งบฯ 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท มีผลบังคับใช้แล้ว โดยแบ่งได้ ดังนี้ งบกลาง 6.15 แสนล้านบาท

'หมอชัย' โนคอมเมนต์ นายกฯ ทาบ 'จักรพล' นั่งโฆษกรัฐบาล

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวที่นายกรัฐมนตรีทาบทามนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

รัฐบาลตีปี๊บ ประกวด 'ข้าวหอมมะลิไทย' ช่วยยกคุณภาพชีวิตเกษตรกร

รัฐบาลหนุนเกษตรกรและโรงสี จัดประกวดข้าวหอมมะลิไทยปี 2566 เฟ้นหาและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไทยคุณภาพชั้นเลิศ พร้อมขยายช่องทางการจำหน่าย