อว.แจงเร่งรับรองหลักสูตรมหา'ลัย ให้ทัน กยศ.ปล่อยกู้ทัน

อว.แจงรับรองหลักสูตรให้ กยศ.ปล่อยกู้ทันตามกำหนด เหลือหลักสูตรที่ กยศ.ขยายเวลาให้ส่งเพิ่มเติมได้ภายหลังยังอยู่ในการตรวจสอบ “เอนก” ยันทุกหลักสูตรที่ปล่อยกู้ต้องได้มาตรฐาน อว.ทำงานเต็มที่เพื่อไม่ให้นักศึกษาเสียสิทธิ์การกู้

17 ส.ค. 2566- ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า ตามที่มีข่าวว่ากระทรวง อว. ทำงานล่าช้า ทำให้นักศึกษาในหลายหลักสูตรเสียสิทธิ์การกู้ยืมเงินกองทุนให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) กรณีนี้ขอชี้แจงว่า ตนได้ให้นโยบายว่านักศึกษาต้องไม่เสียสิทธิ์การกู้เงิน จากการรับรองความสอดคล้องของหลักสูตรไม่ทันเวลา ที่ผ่านมากระทรวง อว. โดยสำนักงานปลัดกระทรวง อว.ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และมหาวิทยาลัย เพื่อไม่ให้มีหลักสูตรที่นักศึกษาควรจะกู้ กยศ. คงค้าง แต่ทั้งนี้หลักสูตรที่จะปล่อยกู้ กยศ. ต้องได้มาตรฐานอุดมศึกษาด้วยเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่นักศึกษาและ กยศ. โดยในการตรวจความสอดคล้องของหลักสูตร ทางสำนักงานปลัดกระทรวง อว. จะตรวจสอบตามมาตรฐานอุดมศึกษาและตามกฎหมาย หากพบว่ามีสิ่งใดไม่เป็นตามเกณฑ์ ก็จะดำเนินการส่งกลับไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง และส่งกลับมายังสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ดังนั้น หลักสูตรที่นักศึกษาจะกู้เงินจาก กยศ. จะมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่ในระบบสำนักงานปลัดกระทรวง อว. และที่ค้างอยู่ที่มหาวิทยาลัยเพื่อปรับแก้

“ในปีนี้ทางสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ได้เร่งตรวจสอบหลักสูตรที่อยู่ในระบบเพื่อส่งให้ กยศ. ได้ทันกำหนดเวลาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ทั้งหมด และได้ทำงานร่วมกับ ทปอ.และมหาวิทยาลัย ในการเร่งรัดทั้งจากมหาวิทยาลัยรวมถึงสำนักงานปลัดกระทรวง อว. เองด้วย แต่ที่เป็นข่าวอยู่ขณะนี้ เป็นหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยส่งมาภายหลังจากกำหนดเวลาเดิม และทาง กยศ. ได้เพิ่มขยายเวลาการรับหลักสูตรเพิ่มเติมให้ จึงมีหลักสูตรที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาความสอดคล้องตามมาตรฐาน ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วน และได้ประสานงานกับ กยศ. อย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้นักศึกษาเสียสิทธิ์การกู้ยืม” ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก กล่าว

ด้าน ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. กล่าวเพิ่มเติมถึงถึงกรณีข่าวที่ระบุว่า ควรให้ กยศ. ปล่อยกู้หลักสูตรที่ผ่านสภามหาวิทยาลัยแล้วได้เลย โดยไม่ต้องรอการตรวจสอบมาตรฐานหลักสูตร ประเด็นนี้ขอชี้แจงว่า ทางสำนักงานปลัดกระทรวง อว. เคยพิจารณาเช่นกัน แต่เห็นว่า ตามข้อมูลเดิมนั้น มีหลักสูตรจำนวนไม่น้อย ที่ผ่านสภามหาวิทยาลัยแล้ว ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร หากให้ กยศ. ปล่อยกู้เลย โดยมหาวิทยาลัยไม่ไปปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน จะส่งผลต่อนักศึกษาที่จบการศึกษาจากหลักสูตรที่ไม่ได้รับรองมาตรฐาน ก็จะเป็นผลเสียต่อนักศึกษาในการทำงานหลังจบการศึกษา และยังเป็นหนี้ กยศ. อีกทั้ง กยศ. ก็จะเสียหายจากการปล่อยกู้ ให้นักศึกษาที่อาจจะไม่สามารถทำงานได้ตามที่เรียนในหลักสูตร สำนักงานปลัดกระทรวง อว. และ กยศ. จึงยังเห็นว่า หลักสูตรที่จะได้รับการปล่อยกู้ ควรเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรฐานอุดมศึกษา

อย่างไรก็ตามสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ให้ความมั่นใจได้ว่าจะทำงานอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้นักศึกษาเสียสิทธิ์การกู้ยืม ซึ่งจะทำงานกับทุก ทปอ.และ มหาวิทยาลัยอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญต้องขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยในการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ในส่วนที่ยังคงค้างอยู่ที่มหาวิทยาลัยอย่างเร่งด่วนด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลกวักมือเรียกผู้กู้ กยศ.ที่ถูกดำเนินคดีเร่งปรับโครงสร้างหนี้ด่วน!

รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน

รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหา 'กยศ.' ปรับโครงสร้างลูกหนี้กว่า 3.5 ล้านราย

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ

นายกฯ แขวะ 'ธปท.' ชมคนพูดลดดอกเบี้ยจิตใต้สำนึกดี

'เศรษฐา' แขวะ 'แบงก์ชาติ' ไม่ยอมหั่นดอกเบี้ย ชมเปาะเหล่าทัพ-หน่วยงานรัฐ มีจิตสำนึกดีอยากให้ลด ขอบคุณเห็นความลำบากประชาชน ย้ำเรื่องหนี้สารตั้งต้นหายนะประเทศ

รัฐบาลชวน 'ลูกหนี้ กยศ.' ลงทะเบียนขอเงินที่ชำระเกินคืนได้

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) คำนวณยอดหนี้คงเหลือใหม่ ตามพระราชบัญญัติ กยศ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566