ยลผ้าซิ่นงามที่พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน

ใครที่เคยขึ้นเหนือไปจังหวัดน่าน น่าจะมีโอกาสได้สัมผัสผ้าซิ่นตีนจกลายน้ำไหล ผ้าทอพื้นเมืองโบราณของชาวน่านที่ยังคงอัตลักษณ์โดดเด่นและมีการสืบทอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้ามาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีหลายชุมชนรวมตัวกันตั้งกลุ่มผ้าทอแบบโบราณเพื่อสืบสานวัฒนธรรม ตลอดจนมีพิพิธภัณฑ์เก็บรวบรวมผ้าโบราณ เพื่อนำเสนอเรื่องราวผ้าทอพื้นเมืองของน่านให้กับผู้ที่หลงไหลวัฒนธรรม ตลอดจนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนน่าน

ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ.ชมผ้าซิ่นโบราณ

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน​ จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งในแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมสำคัญ มิวเซียมแห่งนี้เก็บรวบรวมผ้าซิ่น เครื่องแต่งกาย ไทยวน ไทลื้อ เมืองน่าน และชาติพันธุ์ต่างๆ มากกว่า 2,000 ชิ้น โดยผ้าโบราณที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุมากกว่า 160 ปี ที่นี่ยังคงมีการทอผ้า ย้อมเส้นด้ายจากสีธรรมชาติ คงกรรมวิธีในการทอผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายล้วง ลายเก็บมุก ลายคาดก่าน รวมถึงซิ่นป้องและซิ่นม่านของชาวไทลื้อ  ซิ่นคำเคิบตามแบบฉบับชาวไทยวนล้านนา ล้วนแล้วแต่เป็นลายดั้งเดิมของชาติพันธุ์ในนครน่าน โดยเทิดศักดิ์ อินแสงนักสะสมผ้าซิ่นเป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณร้านฝ้ายเงิน

ล่าสุด นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน พร้อมด้วยนางสาวฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม  โอกาสนี้ เทิดศักดิ์ อินแสง เจ้าของพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน​ นำชมผ้าโบราณภายในพิพิธภัณฑ์ พร้อมบอกเล่าวัฒนธรรมการสวมใส่ผ้าซิ่นตีนจกในอดีต  ตลอดจนลวดลายดั้งเดิมของผ้าซิ่นทอมือเมืองน่านที่มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นลายน้ำไหลที่คุ้นเคยกัน ลายนาคเกี้ยว ลายนาคชู ลายโคม ตลอดจนเทคนิคการทอผ้าที่มีทั้งการจก,ขิด,เกาะล้วง,มัดหมี่,ยกมุก ฯลฯ  สะท้อนผ้าซิ่นเมืองน่านเป็นหัตถศิลป์ไทยที่ควรค่าอนุรักษ์

เรียนรู้เครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ใน จ.น่าน

นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร  กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงินเป็นแบบอย่างการขับเคลื่อนมรดกภูมิปัญญาผ้าไทยให้คงอยู่คู่ประเทศไทย ถือเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมที่รวมองค์ความรู้ผ้าซิ่น เครื่องแต่งกายไทยวน ไทยลื้อ เมืองน่าน ข้อมูลผ้าในวัฒนธรรมน่าน วัสดุ เทคนิค ลวดลาย สีที่ใข้ในการทอ มีประโยชน์อย่างยิ่ง  กระทรวงวัฒนธรรมและวัฒนธรรมจังหวัดจะส่งเสริมการนำองค์ความรู้เพื่อนำไปต่อยอดรูปแบบต่างๆ เพื่อยกระดับผ้าพื้นถิ่นและผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ใน จ.น่าน ให้ไปสู่ระดับสากล  นอกจากนี้ จะสนับสนุนชุมชนทอผ้าอนุรักษ์ลวดลายดั้งเดิม ควบคู่กาารเพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบลวดลายให้มีความร่วมสมัย มีมูลค่าเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้ให้ท้องถิ่นมากขึ้น

เทิดศักดิ์ อินแสง นักสะสมผ้า ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน

ทั้งนี้ จากประวัติศาสตร์เมืองน่าน หรือนันทบุรีศรีนครน่าน ถือเป็นนครรัฐที่สำคัญในอดีตอยู่ในดินแดนล้านนาตะวันออก ริมแม่น้ำน่าน อดีตถือเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เชื่อมโยงวัฒนธรรมจากสุโขทัย ล้านนา ล้านช้าง  และอาณาจักรสิบสอบปันนาเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้หัตถกรรมสิ่งทอของเมืองน่านมีความงดงาม ผสมผสานกลายเป็นเอกลักษณ์ที่มีชื่อเสียงมาจนทุกวันนี้ อีกทั้งเป็นหัตกรรมที่สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย

จัดแสดงผ้าที่เชื่อมความเชื่อ-วัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน​ จังหวัดน่าน นอกจากมีผ้าซิ่นลวดลายและสีสันสวยงามของสะสมชุดใหญ่ของเทิดศักดิ์ อินแสง ที่น่ายลแล้ว ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ ผ้าในชีวิตประจำวัน ผ้าที่ใช้ในการทำพิธีทางศาสนา ตลอดจนเครื่องเงินน่านเทคนิคลวดลายเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ถ้ามาชมแล้วต้องประทับใจและได้ความรู้เรื่องราวสิ่งทอเมืองน่านเต็มอิ่ม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วธ.จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติฯ

25 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า เนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน นับเป็นโอกาสอันดียิ่งที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าจะได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมห

เที่ยวงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี ชิล ชิม ช้อป ครบครัน

24 เม.ย.2567 - นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม  กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับหน่วยงานรัฐ เอกชนและเครือข่ายวัฒนธรรมกว่า 20 หน่วยงาน จัดงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

'บ้านแม่ปอคี' จ.ตาก เตรียมจัดงานสถาปนาพื้นที่คุ้มครองชุมชนกะเหรี่ยง

นายประหยัด เสือชูชีพ กลุ่มเยาวชนบ้านแม่ปอคี อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เปิดเผยว่าในวันที่ 26 เมษายน 2567 ชุมชนบ้านแม่ปอคีจะจัดงานสถาปนาพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์บ้านแม่ปอคี (ขุนแม่เหว่ย) เพื่อรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนไว้ โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเก็บข้อมูลศึกษาวิจัย

เที่ยวมิวเซียม ยลวัง ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์242ปี

เปิดงาน”ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” อย่างยิ่งใหญ่และอลังการ ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบ 242 ปีของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์  งานนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายบูรพกษัตริย์ งาน242ปี กรุงรัตนโกสินทร์

21 เม.ย.2567 - เวลา 07.00 น. พระเทพวชิรโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช

'ใจถึงธรรมะ' ท่องแดนพุทธภูมิ (1)

เป็นอีกครั้งในชีวิตที่ออกเดินทางไปยังประเทศอินเดียและเนปาล เพื่อค้นหาคำตอบบางอย่าง ซึ่งตัวเองก็ยังไม่รู้ว่าจะพบมั้ย แต่เชื่อมั่นว่า จะทำให้ตัวเองในฐานะชาวพุทธได้พบกับความสุขสงบในจิตใจและได้เว้นวรรคจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบ ห่างไกลจากสิ่งเร้ารอบตัว ตามโปรแกรมจะไปครบทั้ง 4 สังเวชนียสถาน