ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจยั่งยืน สานต่อสู่คนรุ่นใหม่

“ผ้าขาวม้า” ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่มีมายาวนานกว่า 500 ปี มีเอกลักษณ์โดดเด่นของลายผ้าตาหมากรุกหรือลายทาง ตัดกับการเล่นสีสันสดใสฉูดฉาด  เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้ในชีวิตประจำวัน และมีหลายชุมชนทั่วประเทศที่ยึดอาชีพทอผ้าขาวม้าสร้างรายได้ ผ้าขาวม้าแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันทั้งในด้านวัตถุดิบ ลวดลาย คุณภาพ ที่ผ่านมา มีการพัฒนาผ้าขาวม้าให้มีลวดลายสีสันทันสมัย  ทำให้ผ้าขาวม้าได้รับความนิยมมากขึ้น            

เพื่อยกระดับ ผ้าขาวม้า ต่อยอดซอฟต์พาวเวอร์ทางภูมิปัญญาไทย ทาง บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เครือข่ายบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม ทั่วประเทศ ภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ดำเนินโครงการ “ผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย” ปีนี้จัดต่อเนื่องปีที่ 7 ผลักดันให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าขาวม้าทอมือ ช่วยเพิ่มรายได้และพัฒนาทักษะอาชีพให้กับชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทั่วไทย

ผลงานออกแบบผ้าขาวม้าสุดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสินค้าผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนผ่านโครงการ Creative Young Designers  Season 3   จาก 16 มหาวิทยาลัย ร่วมกับ 18 ชุมชน ทั่วประเทศไทย นำมาจัดแสดงและอวดโฉมผ่านแฟชั่นโชว์งาน “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” ปี 2566 ด้วยแนวคิด Nature’s Diversity สะท้อนคุณค่าของผ้าขาวม้าที่ได้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์และเสื้อผ้าที่เหมาะกับทุกเพศและทุกวัย นอกจากนี้ จัดแสดงนิทรรศการ cultural heritage, กิจกรรมTalk หัวข้อ ผ้าขาวม้า มรดกภูมิปัญญาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน งานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน  SUSTAINABILITY EXPO  2023 (SX 2023) ตั้งแต่วันนี้ – 8 ต.ค. 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวว่า โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย เป็นการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของผ้าขาวม้าในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม ด้วยการนำเสนออัตลักษณ์ของผ้าขาวม้าจากชุมชนต่างๆ และเสริมสร้างผ้าขาวม้าทอมือให้มีความโดดเด่น พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้าให้มีความหลากหลายและตรงต่อความต้องการของตลาด เพื่อสร้างอาชีพและเสริมสร้างรายได้ให้คนในชุมชน 

สำหรับการขับเคลื่อนโครงการผ้าขาวม้าที่ผ่านมานั้น ฐาปน กล่าวว่า โครงการฯ มุ่งเน้น  5 มิติ  คือ 1. การสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ้าขาวม้าทอมือ 2. การสร้างเครือข่ายภาควิชาการและภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนชุมชนในการสั่งซื้อ ให้ความรู้เชิงธุรกิจ และการออกแบบ  3. การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน 4.การสานต่องานผลิตและแปรรูปผ้าขาวม้าสู่คนรุ่นใหม่ และ 5. การสร้างห่วงโซ่การผลิตผ้าขาวม้าทอมือที่เข้มแข็งมีความเกื้อกูลกันระหว่างชุมชน นับเป็นก้าวสำคัญในการขยายเครือข่ายความร่วมมือ 

 “ จากจุดเริ่มต้นเพียง 2 ชุมชน 2 มหาวิทยาลัย ในปี 2562 ขยายไปสู่ 18 ชุมชน 16 สถาบันการศึกษาในปี 2565  โดยรวมพลังคนรุ่นใหม่ผ่านโครงการ Creative Young Designer ร่วมสร้างสรรค์ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือกับกลุ่มนักศึกษา อาทิ การนำเส้นใยและสีธรรมชาติมาใช้กับการย้อมผ้าขาวม้า นอกจากต่อยอดความร่วมมือในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า ของใช้ ของที่ระลึกชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือให้มีความทันสมัยแล้ว ยังมุ่งพัฒนาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สร้างนวัตกรรมผ้าขาวม้าทอมือ เพิ่มศักยภาพการผลิตและต่อยอดทางธุรกิจให้แก่ชุมชนผ้าขาวม้า เกิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบนำไปต่อยอดด้านการตลาด รวมถึงสโมรสรฟุตบอลร่วมสนับสนุนนำผ้าขาวม้าทอมือมาร่วมออกแบบสินค้าที่ระลึกสโมสร ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ โครงการนี้ไม่เพียงสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น แต่สร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง ที่สำคัญคนในชุมชนผู้ผลิตผ้าขาวม้าทุกแห่งมีความรัก สามัคคี และภูมิใจในคุณค่าภูมิปัญญาของตนเอง ร่วมพัฒนาบนความยั่งยืน ” ฐาปน กล่าว 

ผลผลิตจาก Creative Young Designers  Season 3 ปุณยวีร์ รัตนวิมล น.ศ.ปี 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  บอกว่า  เป็นโอกาสที่ดีได้ลงพื้นที่เรียนรู้วิถีการทอผ้ากับกลุ่มทอผ้าบ้านใหม่ราษฎร์บำรุง จ.พะเยา ทั้งยังได้ร่วมกับคณะบัญชีสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่นิยมใช้ผ้าขาวม้า ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยทำงานและข้าราชการ ดังนั้น รูปแบบการดีไซน์เหมาะสำหรับสวมใส่ในทุกโอกาส ทั้งในชีวิตประจำวันและออกงานต่างๆ ผสมผสานกับแรงบันดาลใจที่ได้จากเนื้อเพลงมนต์รักดอกคำใต้ สื่อถึงรักแรกพบมีความสดใส ประกอบกับนำดอกสารภี ดอกไม้ประจำ จ.พะเยา มาตกแต่งให้ชุดดูโดดเด่น

ส่วน กวินลลิตา นิตยภูติพัฒน์  น.ศ.ปี 4 ภาควิทยาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กล่าวว่า  การออกแบบผ้าขาวม้าที่ร่วมกับกลุ่มผ้าทอมือบ้านหนองขาว จ.กาญจนบุรี นำผ้าขาวม้าร้อยสีเอกลักษณ์ชุมชนสร้างสรรค์เป็นผลงาน แรงบันดาลใจจากแตกต่างกันของผิวงูและการลอกคราบของงูตามธรรมชาติ มาเป็นแนวคิดสร้างสรรค์สีของผ้าขาวที่มีหลายสี ชุดที่ออกมาจึงมีความเก๋และเท่ ผู้หญิงหรือผู้ชายสามารถส่วมใส่ได้ 

ด้าน นิตยา ใจโต ประธานกลุ่มทอผ้าบ้านหนองลิง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เผยว่า ดีใจที่มีกลุ่มคนรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เข้ามาเรียนรู้ในชุมชนทอผ้าบ้านหนองลิง เมื่อได้เห็นผลงานของคนรุ่นใหม่ที่ได้การออกแบบชุดจากผ้าขาวม้า ยอมรับว่าน่ารักมากๆ เป็นรูปแบบที่ทางชุมชนไม่มี ทั้งเด็กหรือวัยรุ่นสามารถสวมใส่ได้  ปกติชุมชนจะทอเป็นผ้าผืนและตัดเย็บเป็นเสื้อรูปแบบธรรมดาทั่วไป จากต้นแบบทางชุมชนสามารถใช้ในการพัฒนาสินค้าผ้าขาวม้าให้เกิดความหลากหลายและตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยอวด'วิญญาณข้ามสมุทร' งานเวนิส เบียนนาเล่

เริ่มแล้วนิทรรศการ “The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร” ผลงานศิลปะที่จะแสดงศักยภาพศิลปินไทยและอาเซียนบนเวทีระดับโลก งานนี้ มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)  ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญจากภาครัฐ

เทศกาลสร้างสรรค์'3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน'

งานเฟสติวัลในย่านเก่าเป็นอีกกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างแรงกระเพื่อมให้มหานครมีมิติร่วมสมัยควบคู่ไปกับการดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม สีสันความสนุกที่เคลือบด้วยสาระและคุณค่าของย่านกะดีจีนจะเกิดขึ้นในงานเทศกาล ” 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน”

ปักหมุด The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร โชว์ไกลถึง นครเวนิช

มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญจากภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายพันธมิตร ทุกภาคส่วน

สงกรานต์ริมคลองรอบกรุง 'คลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน-วัดบพิตรพิมุข'

สงกรานต์นี้เปิดเส้นทาง “คลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน- วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร” เลาะเลียบคลอง ชมสตรีทอาร์ต เรียนรู้ประวัติศาสตร์พหุวัฒนธรรมให้เย็นฉ่ำชื่นใจ ถือเป็นพื้นที่น้องใหม่งาน Water Festival 2024 พร้อมเชิญร่วมกิจกรรมมงคล ย้อนวันวานตักบาตรริมคลองยามเช้า

'ชีวิตนี้ชะตาลิขิต'บันทึก 7 รอบนักษัตร'สุเมธ ตันติเวชกุล'

ครั้งแรกของการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  รวบรวมไว้ในหนังสือ “ชีวิตนี้ชะตาลิขิต ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ”

สอนหลักบริหารดึงลงทุน ผู้แทนไทยเจรจาเสร็จ นายกฯไปลงนาม ไม่ใช่ไปเจรจาเรื่อยเปื่อย

'จตุพร' ฟาด 'เศรษฐา' ทุ่มงบ 138 ล้านปรับปรุงทำเนียบฯ ทำไปทำไม 170 กว่าวันอยู่ทำงานทำเนียบน้อยสุด แต่ 152 วัน เดินสายโชว์แฟชั่นถุงเท้ายันพันคอผ้าขาวม้า สอนหลักบริหารดึงลงทุนผู้แทนไทยเจรจาเสร็จสิ้นนายกฯ ไปลงนาม ไม่ใช่ไปเจรจาเรื่อยเปื่อยไม่มีลงทุน ตปท.เข้ามาจริงสักบาทเดียว