กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระราชดำรัสวันอาหารโลก

กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ เป็นประธานงานวันอาหารโลก ทรงมีพระราชดำรัสเรียกร้องปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำ-จัดสรรน้ำอย่างฉลาด

16 ต.ค. 2566 – เวลา 9.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานงานวันอาหารโลก (World Food Day ) ประจำปี 2566  ณ องค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กรุงเทพฯ  โดยมีนายจอง จิน คิม ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกขององค์การอาหารและเกษตรกรรมแห่งสหประชาชาติ (FAO)  ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำจากทั่วภูมิภาค เฝ้าฯ รับเสด็จฯ

ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะทูตสันถวไมตรีของ FAO ทรงมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “ ประชากรเกือบ 2,500 ล้านคนอาศัยอยู่ในประเทศที่มีความตึงเครียดในด้านน้ำอยู่ในขณะนี้ การแย่งชิงทรัพยากรอันหาค่ามิได้นี้สร้างปัญหาที่เด่นชัด เนื่องจากน้ำจืดลดน้อยลง แต่ความจำเป็นในการผลิตอาหารกลับมากขึ้น เพื่อป้อนประชากรในภูมิภาคที่กำลังเติบโต  ข้าพเจ้าขอเรียกร้องให้เร่งดำเนินการในด้านนี้ เราจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เราต้องเริ่มปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำ และจัดสรรน้ำที่เรามีอย่างชาญฉลาด เราต้องผลิตอาหารให้ได้มากขึ้นโดยใช้น้ำน้อยลง และเราต้องทำให้มีการกระจายน้ำอย่างเท่าเทียมเพื่อที่ทุกคนจะได้มีน้ำใช้อย่างยั่งยืน”

นายจอง จิน คิม  ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ FAO กล่าวว่า เราต่างตระหนักดีว่า การสร้างความมั่นคงให้กับการใช้และการเข้าถึงทรัพยากรน้ำจืดอันล้ำค่าอย่างยั่งยืนนั้นสำคัญต่อภาพรวมของการบรรลุเป้าหมายวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนค.ศ. 2030  น่าเสียดายว่า เรายังห่างไกลจากเป้าหมายมาก การขาดแคลนน้ำกำลังรุนแรงขึ้นอย่างน่าตกใจ ตามการคาดการณ์ของเราความต้องการใช้น้ำจืดจะสูงเกินปริมาณประมาณ 40% ภายในปี พ.ศ. 2073 ดังนั้น การบริหารจัดการการขาดแคลนน้ำ โดยทำให้การบริโภคและการใช้ทรัพยากรน้ำเป็นไปอย่างยั่งยืนจะเป็นความท้าทายที่สำคัญสูงสุดในศตวรรษที่ 21 นี้

นอกจากนี้ ทรัพยากรน้ำใต้ดินซึ่งเกษตรกรจำนวนมากต้องพึ่งพาถูกใช้งานเกินพอดี และปนเปื้อน ในขณะที่รูปแบบของฝนตกมีความแปรปรวน สร้างความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นให้กับการวางแผนชลประทาน ท้ายที่สุดเกษตรกรจึงต้องการความสนับสนุนและเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อสามารถเป็นตัวแทนผลักดันการบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืนและทนทานต่อสภาพอากาศ ทั้งนี้ผู้วางนโยบาย ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และผู้บริโภคต่างก็มีบทบาทสำคัญในการบรรเทาความไม่สมดุลระหว่างปริมาณและการใช้น้ำจืดด้วยเช่นกัน

นายจอง จิน คิม กล่าวต่อว่า FAO มีบทบาทอย่างโดดเด่นในการนำเสนอทางออกเพื่อรับมือกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องการขาดแคลนน้ำ และภัยพิบัติด้านน้ำเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงภัยแล้งและน้ำท่วม ในหลายกรณีส่งผลกระทบต่อครอบครัวของเกษตรกรอย่างหนักหน่วงกว่าภาคอื่นๆ โครงการกำลังดำเนินการในภูมิภาคนี้ ได้แก่ Water Scarcity Programme มีเป้าหมายจำกัดการใช้น้ำให้อยู่ในขอบเขตของความยั่งยืน และเตรียมให้ประเทศในภูมิภาคมีความพร้อมสำหรับการพัฒนาในอนาคตโดยที่มีการใช้น้ำน้อยลง  โครงการนี้มอบความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคให้บริหารจัดการน้ำบนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ให้สอดคล้องกับภาวะขาดแคลนน้ำที่กำลังรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันประชากรกว่า 780 ล้านคน ต้องพึ่งพาแม่น้ำที่ไหลผ่านหลายเขตแดนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โครงการ Transboundary Water Programme ของ FAO ช่วยให้ประเทศต่างๆ พัฒนาความร่วมมือข้ามพรมแดนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ใช้ร่วมกันในภูมิภาค โดยเสริมสร้างศักยภาพด้านความรู้ที่จำเป็น เช่น การจัดทำบัญชีน้ำ การจัดสรรน้ำ การประเมินการไหลของน้ำในสิ่งแวดล้อม การพัฒนากลไกเพื่อบริหารจัดการภัยน้ำท่วมข้ามพรมแดนและการกัดกร่อนดินอย่างมีประสิทธิภาพ ลดแรงกดดันต่อแหล่งน้ำที่ถูกใช้งานมากเกินไป

ด้านนาย Dipak Gyawali อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรน้ำแห่งเนปาลและประธานมูลนิธิอนุรักษ์น้ำแห่งเนปาล กล่าวว่า ภาวะโลกร้อนได้เพิ่มความท้าทายให้ความเกี่ยวโยงกันระหว่างน้ำ พลังงาน และอาหารที่มีความซับซ้อนมากอยู่แล้ว แนวทางการพัฒนาที่มุ่งเป้าหมายเดียวมักสร้างผลกระทบที่เป็นลบ และผลักภาระให้ภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโดยรวม หน่วยงานทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติที่มุ่งหวังจะแก้ปัญหาที่ยากเย็นนี้ให้สำเร็จจึงต้องดำเนินนโยบายโดยคำนึงถึงกลุ่มทางสังคมที่ทำงานอย่างโดดเดี่ยว หรือกำลังทำงานอย่างหนัก และเปิดให้กลุ่มเหล่านั้นมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ และแสดงความคิดเห็นด้านนโยบาย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประกวดการแสดงดนตรีพื้นบ้านไทย 4 ภาค เทิดพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพฯ องค์วิศิษฏศิลปิน

กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม(สวธ.) จัดการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทานสมเด็จพ

'ธรรมนัส' เผย 'บิ๊กป้อม' ส่ง 4 รายชื่อโควตารัฐมนตรีพปชร. ถึงมือนายกฯแล้ว 'ไผ่' มาที่1

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิ

กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติปี 65

21 เม.ย.2567 - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออกแทนพระองค์ ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร

'ธรรมนัส' เชื่อ 'บิ๊กป้อม' มีชื่อสำรอง หาก 'ไผ่ ลิกค์' คุณสมบัติไม่ผ่านเป็นรมต.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) พรรคพลังประชารัฐ ได้เสนอชื่อต่อนายกรัฐมนตรีแล้วหรือไม่ กับโควตาที่ยังว่างอยู่ ว่า ขณะนี้นายกรัฐมนตรียังไม่ได้ส่งสัญญาณอะไร

กรมสมเด็จพระเทพพระราชทานพระราชวโรกาสให้ รมว.ต่างประเทศเวียดนาม เฝ้าฯ

11 เม.ย.2567 - สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้ นายบุ่ย แทงห์ เซิน (Mr. Bui Thanh Son) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เฝ้า ฯ

ชาวสวนยางพารา ขอบคุณรัฐบาลปราบยางเถื่อน ส่งเสริมราคายางสูงขึ้น

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมกิจกรรมและโครงการตามนโยบายรัฐบาล