เมื่อโลกพูดกันแต่ความยั่งยืน  'Slow Fashion'จึงมาแรงเบียด'Fast Fashion '

มารีญา พูนเลิศลาภกับกมลนาถ องค์วรรณดี  ช่วยกันDIYเสื้อผ้าเก่าให้เป็นเสื้อตัวใหม่

ในยุคนี้เทรนด์เกี่ยวกับ “ความยั่งยืน” ไม่จำกัดกรอบแต่เฉพาะอุตสาหกรรมด้านพลังงาน อาหาร เกษตร คมนาคม หรือท่องเที่ยว  แม้แต่ในแวดวงแฟชั่นก็ตื่นตัวกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก็เริ่มที่จะปรับสไตล์ให้เหล่าแฟชั่นนิสต้า ดีไซเนอร์ ตลอดจนผู้ผลิตเส้นใยเสื้อตั้งแต่ต้นทางไปจนปลายทางคือ ผู้บริโภค ได้หันมาสนใจเรื่องความยั่งยืน ดังนั้น เรื่องของ Slow Fashion แฟชั่นเพื่อความยั่งยืน ใส่ใจสินค้า ที่ผลิตด้วยกระบวนการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ใส่ซ้ำได้ไม่อายใคร แบ่งปันให้ผู้ที่ขาดแคลน   เป็นอีกกลวิธีที่จะช่วยลดขยะเสื้อผ้าที่เกิดจาก Fast Fashion จำนวนมหาศาลให้ลดลงได้ กำลังเป็นกระแสที่มาแรง ทั้งหมดทั้งปวงก็เพื่อช่วยเยียวยาโลก

ด้วยเหตุนี้ บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย)จำกัด ตอกย้ำวิสัยทัศน์ด้านความยั่งยืนที่มุ่งสร้างชีวิตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน( Better Life for All) จัดกิจกรรม “LG Eco Day”เพื่อร่วมจุดประกายและเชิญชวนให้ทุกคนหันมาดูแลโลก ภายใต้แนวคิด “Slow Fashion เพื่อชีวิตที่ดีกว่า” เพื่อส่งเสริมสังคม Zero Waste พร้อมจัดจุดรับแลกเปลี่ยนและบริจาคเสื้อผ้าที่มีสภาพดี เพื่อมอบให้ร้านปันกัน เพื่อเปลี่ยนเป็นทุนการศึกษาแก่น้องๆที่ขาดโอกาสในมูลนิธิยุวพัฒน์ โดยสามารถนำเสื้อผ้ามาบริจาคได้ที่สาขาจำนวนสินค้า LG 100 สาขา ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ตั้งแต่วันนี้- มกราคม 2567

นายอำนาจ สิงหจันทร์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า  แอลจีได้ประกาศพันธกิจในการสร้างความยั่งยืน โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของเรามายกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้บริโภค และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยผลิตภัณฑ์ของ LG ไม่ว่าจะเครื่องซักผ้า ตู้เย็น หรือเครื่องปรับอากาศ ที่ได้ออกแบบฟังก์ชันต่างๆให้ประหยัดพลังงาน ช่วยทั้งสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้ประหยัดค่าไฟ รวมถึงกล่องบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ยังทำจากวัสดุรีไซเคิล 100% และเครื่องฟอกอากาศในตระกูล aero ก็ได้มีการนำวัตถุดิบรีไซเคิลมาใช้ 100% ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 70% ได้ใช้วัตถุดิบที่สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้

อำนาจ สิงหจันทร์

“ในส่วนของกิจกรรมในครั้งนี้ก็มีความเชื่อมโยงทั้งผลิตภัณฑ์ แบรนด์แอมบาสเดอร์ ผู้บริโภค รวมถึงพนังงาน  จึงคิดว่าเสื้อผ้าเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตังทุกคนมากที่สุด จึงได้ผุดแนวคิด Slow Fashion เพื่อชีวิตที่ดีกว่า ในการนำเสื้อผ้าที่ไม่ได้ต้องการแล้วนำมาบริจาค หรือการถนอมเสื้อผ้าเพื่อให้ใส่ได้นานขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องซักผ้าของ LG ก็ได้คำนึงในการสร้างฟังก์ชันการซักเสื้อผ้าที่ถนอมผ้ามากยิ่งขึ้น มาเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคแฟชั่นอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อร่วมกันลดปัญหาขยะจากเสื้อผ้าซึ่งเป็นภาระในการกำจัดและส่งผลเสียต่อโลก ซึ่งเสื้อผ้าที่ประชาชนได้นำมาบริจาคทาง LG ก็จะทำความสะอาดก่อนส่งให้กับทางมูลนิธิฯ” อำนาจ กล่าว

มารีญา พูลเลิศลาภ แบรนด์แอมบาสเดอร์ปี 2023ของแอลจี ประเทศไทย กล่าวว่า ในตอนนี้ Slow Fashion เป็นเทรนด์จริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดถึงในมุมของแฟชั่น ยังต้องคิดตั้งแต่การผลิต อิทธิพลหรือผลกระทบที่มีต่อผู้คน โลก และสัตว์ ถ้าถามว่า เทรนด์ Slow Fashion เป็นแค่เทรนด์ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไปเฉยๆ หรือไม่ในประเทศไทย เพราะหากมองในมุมคนรอบข้าง หลายคนก็อินกับเทรนด์นี้ แต่หากมองในมุมกว้างผู้คนอื่นๆได้อินกับเทรนด์ Slow Fashion ด้วยหรือเปล่า ดังนั้นกิจกรรม LG Eco Day จึงเป็นอีกหนึ่งการขับเคลื่อนที่จะช่วยให้ทุกคนได้ตระหนักถึง Slow Fashion เพราะทุกคนต่างรู้ปัญหาของ Fast Fashion ที่ส่งผลกระทบหลายด้าน เช่น การใช้พลังงานในการผลิตเสื้อผ้าที่สูงถึง 2% ของโลก และคาร์บอนที่มีการปลดปล่อยก็มากถึง 10% ในจำนวนอุตสาหกรรมทั้งหมดบนโลกใบนี้ รวมไปถึงมลพิษทางอากาศ ดิน และน้ำ อย่างอุตสาหกรรมยีนส์ยังคงเป็นอุตสาหกรรมอันดับ 2 ของโลก ที่มีการปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบนิเวศของน้ำ และมนุษย์ ดังนั้นทุกคนสามารถมีส่วนช่วยโลกให้ดีขึ้นได้

จุดสังเกตรับบริจาคเสื้อผ้า 

กมลนาถ องค์วรรณดี ผู้ประสานงานเครือข่าย Fashion Revolution Thailand แสดงความเห็นว่า ขยะกองเป็นภูเขาที่มีแต่เสื้อผ้าที่เราให้ในต่างประเทศ แต่จริงๆแล้ว แค่ในตู้เสื้อผ้าช่วยให้เห็นภาพชัดเจนแล้วว่าเสื้อผ้าที่สวมใส่ซ้ำๆมีกี่ชุด ซึ่งนอกจากนั้นเราก็ไม่ได้ใส่เท่าไหร่  ดังนั้นจึงได้ลองจัดกิจกรรมในแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า เพื่อเป็นการส่งต่อเสื้อผ้า แต่สำหรับบางคนการซื้อเสื้อผ้ามือสองก็อาจจะมีความคิดต่างๆนานา ในอีกมุมหนึ่งหากเป็นเสื้อผ้าที่มีคุณภาพดีก็จะยิ่งทำให้มีผู้สนใจซื้อ และผู้ที่นำมาแลกเปลี่ยนก็จะสามารถไปซื้อตัวใหม่ได้ หรือบางครั้งการเลือกซื้อผ้าอาจจะกลับมาคิดทบทวนถึงความเป็นจำเป็น เป็นต้น

กมลนาถ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่ม เสื้อผ้า Fast Fashion ในมุมของการผลิต คือการใช้วัสดุราคาถูกที่สุด กดค่าแรงที่สุด แต่ผลิตในปริมาณสูงที่สุด และประมาณ 60% มีการใช้วัสดุเส้นใยสังเคราะห์ หรือ โพลีเอสเตอร์ จึงทำให้เสื้อผ้ากลุ่มนี้มีราคาที่ถูกมาก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการผู้บริโภคในการซื้อ ทั้งนี้อยากให้คำนึงถึงคุณภาพความคุ้มค่าในการใช้งาน เพราะบางครั้งราคาที่แตกต่างกันอาจจะช่วยให้ยืดอายุเวลาการใช้งานด้วย และก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการซื้อ อยากจะให้ทุกคนรู้วิธีการถนอมเสื้อผ้า เพราะบางครั้งในการซักผ้าก็มีส่วนช่วยในการยืดอายุการใช้งาน ซึ่งในต่างประเทศจะมีป้ายกำกับอยู่ที่เสื้อผ้าว่าควรจะซักด้วยวิธีใด แต่สำหรับประเทศอาจจะยังไม่มีในการทำตรงนี้ เพราะการดูเสื้อผ้าให้ดีก็ทำให้สวมใส่ได้นาน ลดการสร้างขยะเสื้อผ้าอีกด้วย.

กองเสื้อผ้าที่มีการส่งต่อ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อุ๊งอิ๊ง' ให้ติดตามอนุกก.ซอฟพาวเวอร์ด้านแฟชั่นชุดใหม่ 9 ก.พ.นี้

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก

ย้อนโพสต์ อดีตปธ.อนุฯซอฟต์พาวเวอร์ โวยคนคิด 'แข่งใส่กางเกงช้าง' ทำแล้วได้อะไร

นางสาวกมลนาถ องค์วรรณดี ประธานคณะอนุกรรมการฯ ได้โพสต์หนังสือลาออกในเฟซบุ๊กส่วนตัวด้วย โดยก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ได้โพสต์ข้อความพร้อมแชร์โพสต์ ของเพจ Uninspired by Current Events เรื่อง Creative Tourism

วิ่งรักษ์โลกลดโลกร้อนที่นครศรีฯ รมว.อุตฯปลื้มกระแสตอบรับ กว่าพันคนร่วม

หลังจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง "Walk & Run for Ozone and Climate 2065 Net zero" เพื่อปกป้องโอโซนและสุขภาพ กระจาย 4 จังหวัด เพื่อร่วมมือกันรณรงค์ปกป้องโลก ปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน และลดโลกร้อน ปลุกกระแสให้คนไทยตระหนักถึงการรักษ์โลก รักโอโซนผ่านกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยการวิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพนั้น