TikTok เปิดฟีเจอร์ใหม่ 'ป้องกันเสพติดเกินไป' ห้ามเด้งเตือน-ห้ามดูเกินเวลา-กริ๊งถึงเวลานอน

ฟีเจอร์ตั้งค่าแจ้งเตือนเมื่อถึงเวลานอน

ในบรรดาสื่อโลกโซเชียลที่กำลังดังและมาแรง เป็นแพลตฟอร์มที่ขึ้นอันดับ1 ของโลกทางด้านวีดีโอสั้น video short และมีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 1 พันล้านคน ต้องยกให้เป็น TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันในรูปแบบ Short Video Platform ที่ปัจจุบันไม่มีใครไม่รู้จัก ใช้งานง่าย และดูได้ในเวลาสั้นๆ  อยากบอกเล่าหรือสื่อสารเรื่องใด ออกไป  ทำได้เพียงใส่แฮชแท็ก( # ) ไม่ว่าจะเป็นการเต้น  รีวิวสินค้า สถานที่ท่องเที่ยว การแสดงทักษะ  มุกตลก  สุขภาพ เป็นต้น หรือไลฟ์ขายของออนไลน์ ตอบโจทย์ทั้งผู้เสพคอนเทนต์หรือผู้สร้างคอนเทนต์  ที่มีความหลากหลายไร้ขีดจำกัด   ซึ่งกลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่แจ้งเกิดจากคนธรรมดา สู่การเป็นคนดังชั่วข้ามคืน  

อย่างไรก็ตาม TikTok ก็เป็นชุมชนสังคมออนไลน์หนึ่งที่เปรียบเสมือนดาบสองคมที่มีทั้งเชิงบวก และเชิงลบ โดยการสร้างคอนเทนต์เชิงลบ ก็มาในรูปแบบการนำเสนอความรุนแรง การคุกคามทางเพศ การหลอกลวง การบูลลี่ หรือการทำร้ายตัวเอง แม้จะมีการจำกัดเนื้อหาตามทางนโยบายหลักการของชุมชนของแอพพลิเคชั่น แต่ก็ยังมีเนื้อหาดังกล่าวหลุดรอดผลิตออกมาอยู่เรื่อยๆ รวมถึงการเสพติดการใช้งานมากจนเกินไป มีผลทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ใช้งาน ที่อาจมีแนมโน้มในการลอกเลียนแบบพฤติกรรมได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน หรือในกลุ่มผู้ใช้งานสูงอายุ

ด้วยเหตุนี้ TikTok- จึงได้เปิดตัว TikTok Safety Day หรือพื้นที่ปลอดภัยบนอพลตฟอร์ม ที่ Creator House by TikTok เพื่อตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการเป็นแพลตฟอร์มที่มอบความสุขและส่งเสริมสภาพแวดล้อมเชิงบวก  ด้วยการส่งมอบความรู้ด้านดิจิทัล  เพื่อให้เกิดสุขภาวะดิจิทัล และสุขภาพจิตที่ดี  ผู้ใช้สามารถแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ในพื้นที่ปลอดภัยบนโลกดิจิทัล

สิริประภา วีระไชยสิงห์

สิริประภา วีระไชยสิงห์ Outreach and Partnerships Lead, TikTok, Trust and Safety กล่าวว่า ความปลอดภัยของผู้ใช้งานและความถูกต้องของข้อมูลเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย 3 ประการ ได้แก่ 1.การต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง (Anti-Misinformation) 2. ความปลอดภัยของผู้เยาว์ (Minor Safety) และ 3.สุขภาวะดิจิทัลและการให้ความรู้ทางด้านดิจิทัล (Digital Wellbeing and Digital Literacy)  โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยของผู้เยาว์ที่ทาง TikTok ได้ให้ความสำคัญเป็นอันดับที่ 1 เพื่อให้เยาวชนหรือผู้ปกครองที่เข้ามาใช้งาน โดยผู้ที่สามารถเข้าเปิดแอคเคาท์ได้จะต้องมีอายุ 13 ปีขึ้นไป  และอายุ 16 ปีขึ้นไปถึงจะสามารถใช้งานฟีเจอร์ส่งข้อความได้ และมีการคัดกรองคอนเทนต์สำหรับเด็กและเยาวชน หรือเนื้อหาที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายที่กระทบกระเทือนทางจิตใจและร่างกาย

ผู้ปกครองมีส่วนในการกำกับดูแลผู้เยาว์ สิริประภา กล่าวว่า ได้มีการพัฒนาเครื่องมือบนแพลตฟอร์ม อย่าง Family Pairing ซึ่งช่วยให้ผู้ปกครองลิงก์ แอคเคาท์ ของบุตรหลานได้ ช่วยปรับแต่งตัวกรองเนื้อหาสำหรับบุตรหลานของตนเองได้ หรือ Content Level ฟีเจอร์ที่ช่วยคัดกรองความเหมาะสมของเนื้อหาสำหรับเด็กอายุ 13 - 17 ปีโดยเฉพาะ รวมถึง Refresh Your For You Feed ที่ช่วยให้คุณปรับแต่งฟีดเนื้อหาตามความสนใจที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้ง Global Youth Consultations หรือสภาเด็กและเยาวชนของTikTok ทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยก็ได้จัดตั้ง Youth Consultation ภายใต้ความร่วมมือกับ iNet และสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยเพื่อรับฟังประสบการณ์ของผู้ใช้แพลตฟอร์มโดยตรง เพื่อพัฒนานโยบายหรือฟีเจอร์ต่างเพิ่มมากขึ้นตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้  

 โหมดการตั้งค่าใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถกำหนดเวลาปิดเสียงการแจ้งเตือนสำหรับเยาวชนได้

สิริประภา กล่าวต่อว่า ในส่วนการต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง ซึ่งในปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลต่างๆรวดเร็วมาก ซึ่ง TikTok ก็เป็นอีกช่องทางในการสร้างคอนเทนต์และเผยแพร่ออกสู่สาธารณะ ที่ทุกคนให้ความเชื่อถือ ดังนั้นจึงได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนและเป็นเท็จ ตลอดจนสแกมและกลโกงต่างๆ อย่างแข็งขัน โดยทุ่มเทผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยมากกว่า 40,000 คนทั่วโลก ที่เข้าใจถึงภาษาและบริบทของแต่ละประเทศ ในการทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติ และใช้นวัตกรรมในการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อให้ทั่วถึงครอบคลุมมากขึ้น เพราะอาจจะมีคอนเทนต์ที่ไม่ตรงกับหลักเกณฑ์ชุมชนอาจจะหลุดรอดไป จึงมีศูนย์กลางข้อมูล (Information Hub), Information Tag, และ Live Banner TikTok ซึ่งทีมตรวจสอบคอนเทนต์ก็มีความท้าทายที่จะต้องดำเนินการให้รวดเร็วภายในระยะเวลาที่สั้นมากๆให้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้น อาจจะต้องใข้ระยะเวลาในการตรวจสอบและพิจารณา

สิริประภา กล่าวเสริมว่า ทั้งนี้ผู้ใช้งานยังสามารถรายงานการหลอกลวงหรือกิจกรรมที่ต้องสงสัยว่าเป็นการฉ้อโกงโดยทันที ผ่าน Self Report ภายใต้หัวข้อการฉ้อโกงและการหลอกลวง ช่วยให้ทีมรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์มสามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ยังส่งเสริมให้ผู้ใช้งานได้มีความรู้เพื่อป้องกันตนเองจากกลโกง หรือการหลอกลวงที่อาจเกิดขึ้นผ่านทาง Safety Center รวมถึงให้สามารถรู้เท่าทันข้อมูลที่ไม่ถูกต้องต่างๆ ผ่านการแนะนำให้ทุกคนในคอมมูนิตี้ของเรามีความตื่นตัว และระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่ละเอียดอ่อนต่างๆ  และหากมีการทำผิดหลักเกณฑ์ชุมชนซ้ำก็มีการลบแอคเคาท์นั้นออกทันที

ฟีเจอร์ความคุมระดับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่อายุระหว่าง 13 - 17 ปี

“การดูแลทางสุขภาวะดิจิทัลและการให้ความรู้ทางด้านดิจิทัล ผ่านScreen Time Management ที่ประกอบด้วย การแจ้งเตือนเวลาหน้าจอรายวัน และการแจ้งเตือนการพักหน้าจอ ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการใช้งานแพลตฟอร์มได้อย่างอิสระ สามารถตั้งเวลาหน้าจอรายวันและรับการแจ้งเตือนเมื่อถึงขีดจำกัด ยังมีฟีเจอร์แจ้งเตือนการนอนหลับ  เพื่อช่วยจัดการเวลาอยู่หน้าจอในเวลากลางคืนและส่งเสริมนิสัยการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ” สิริประภา กล่าว

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โฆษกกรมสุขภาพจิต, ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต และ TikTok Safety Advisory Councils กล่าวว่า ในสังคมปัจจุบันทุกคนมีการใช้ชีวิตอยู่บนออนไลน์มากขึ้น ซึ่งใน 1 วันเฉลี่ยมีการใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรศัพท์มือถือกว่า 8-9  ชั่วโมงต่อวัน โลกออนไลน์จึงเปรียบเสมือนประตูที่เปิดโอกาสให้ผู้คนได้แสดงออกถึงความสามารถ การมีตัวตน หรือการค้นหาข้อมูลต่างๆ แต่หากเปิดกว้างมากๆอย่างไม่ระวังก็อาจจะเจอกับคนหรือคอนเทนต์ที่อันตรายต่อตัวผู้ใช้งานด้วย ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง หรือบุคคลที่ไม่หวังทั้งการหลอกหลวง หรือคุกคามทางเพศ ซึ่งแพลตฟอร์ม TikTok ก็มีฟีเจอร์ในการป้องกัน ขณะเดียวกันก็มีบางส่วนที่หลบหลีกได้ ผู้ปกครองก็อาจจะต้องมีการดูแล หรือเยาวชน ก็ต้องเลือกในการรับคอนเทนต์อย่างมีสติ

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์

ผลกระทบโลกโซเชียล ดร.นพ.วรตม์ กล่าวว่า ปัญหาที่พบเจอบนโลกออนไลน์ อย่าง การบลูลี่ที่ไม่เพียงแต่ผู้ถูกกระทำจะได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ยังมีผลกระทบเบื้องหลังอีก คือ การขาดความมั่นใจในตัวเอง ส่วนพฤติกรรมเลียนแบบจากการเสพคอนเทนต์บ่อยๆ คือ การเรียนรู้จากสังคม หมายความว่า เมื่อมีคนทำแบบไหนเยอะๆ ก็จะทำตาม เช่น การดูรีวิวอาหารบ่อยๆ เราก็อยากที่จะทานอาหารแบบนั้นตามได้ และเป็นการใช้สื่อหรือการให้เวลากับสิ่งๆหนึ่งเป็นระยะเวลามากเกินไป ไม่อยู่ในความพอดี อาจจะส่งผลกระทบบางอย่างต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น มีความวิตกกังวลมาก ขาดความมั่นใจอย่างสูง มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้าแต่ไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม กลุ่มคนเหล่านี้หากมีการรับบางสิ่งบางอย่างมากจนเกินกว่าที่ตัวเองจะรับได้ ก็ส่วนให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจและร่างกาย

“ในบางครั้งเมื่อคนคนหนึ่งเกิดพฤติกรรมที่กระทำความรุนแรง เราไม่อาจจะสรุปเจาะจงได้เลยว่านั้นเป็นเพราะเขาเป็นโรคจิตเวช หรือมีปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ่งไม่ใช่แค่แพลตฟอร์ม TikTok เท่านั้น แต่รวมถึงทุกแพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ ดังนั้นหากพบว่าตัวเองมีสภาพจิตใจที่ผิดปกติเกินรับไหว ควรที่จะลองเข้าปรึกษากับจิตแพทย์ได้” ดร.นพ.วรตม์ กล่าว
---------------------

1.   สิริประภา วีระไชยสิงห์
2.   ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์
3.  โหมดการตั้งค่าใหม่ที่จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถกำหนดเวลาปิดเสียงการแจ้งเตือนสำหรับเยาวชนได้

4.   ฟีเจอร์ความคุมระดับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่อายุระหว่าง 13 - 17 ปี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครั้งแรก'ลาลีกา'จับมือ'TikTok' ตอกย้ำโอกาสพัฒนาฟุตบอลในไทย

ลาลีกา จับมือ TikTok จัดงาน “LALIGA Extra Time” ชี้โอกาสในการยกระดับอุตสาหกรรมกีฬา พร้อมโปรเจกต์ใหม่ ๆ ตอกย้ำความเจริญก้าวหน้าของอนาคตฟุตบอลในประเทศไทย

'พาณิชย์ -DITP' แนะทริกเจาะตลาดโรมาเนียใช้อินฟลูเอนเซอร์แนะนำสินค้าไทย

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) แนะทริกผู้ส่งออก เจาะตลาดโรมาเนีย พิจารณาใช้อินฟลูเอนเซอร์ช่วยแนะนำสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสขายหลังชาวโรมาเนียนิยมใช้โซเชียลมีเดียเพิ่มมากขึ้น ทั้ง Facebook , Instagram และ TikTok

'เอรีน' จ่อฟ้องหลายช่องTIKTOK แอบอ้างมีคลิปถูกข่มขืนว่อนเน็ต!

อยู่เฉยๆไม่ได้แล้ว เมื่อ "เอรีน ไตรโทน" ถูกเอารูปและภาพข่าวไปดัดแปลงลงในช่องติ๊กต๊อกกว่า20ช่อง โดยมีเนื้อหาว่านักร้องลูกทุ่งเอรีนไตรโทนถูกข่มขืนและแอบถ่ายคลิปโป๊ขณะมีอะไรกับโปรดิวเซอร์หรือครูเพลง ซึ่งทำให้เจ้าตัวเกิดความเสียหายเพราะไม่ใช่เรื่องจริง

รวมไทยสร้างชาติ ปล่อยคลิปแนะนำ 9 ข้อความเป็น 'ตุ๋ย-พีระพันธุ์'

พรรครวมไทยสร้างชาติ ปล่อยคลิปสั้น แนะนำตัว นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรค ในฐานะที่เป็น แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ลำดับ