'ARTSTORY' ออทิสติกกับชีวิตที่มีคุณค่า

ในงาน  ARTSTORY EVENT AND “ALEX & THE GANG” เราได้พบความอัจฉริยะผ่านผลิตภัณฑ์น่ารัก สดใส ที่ออกแบบโดยศิลปินเด็กพิเศษ  นำโดยอเล็ก – ชนกรณ์  พุกะทรัพย์  และเพื่อนๆ ทั้ง 5  คน  น้องทิว น้องมิกว์ น้องเอ น้องออกัส และน้องบิ๊ก  จาก ARTSTORY วิสาหกิจเพื่อสังคมภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิออทิสติกไทย ที่มุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของบุคคลออทิสติกด้วยงานศิลปะ บนความเชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์ไร้ขีดจำกัด และการฝึกอาชีพให้บุคคลออทิสติก ทำให้พวกเขามีคุณค่าและเป็นที่ยอมรับ กิจกรรมนี้เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมกลุ่มออทิสติกกับสังคมไทยให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

ชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย กล่าวว่า  สถานการณ์เด็กออทิสติกในประเทศไทยมีอัตราเกิดใหม่ 1 ต่อ 68 คน ปัจจุบันมีเด็กออทิสติกที่เข้าระบบทำบัตรประจำตัวผู้พิการประมาณ 2.4 หมื่นคน จากจำนวนเด็กพิเศษที่ประเมินไว้ 1.8 แสนคนทั่วประเทศไทย เหลืออีกแสนกว่าคนที่ยังไม่เข้าระบบต้องให้แพทย์วินิยฉัยว่ามีอาการออทิสติก  รวมถึงพ่อแม่ส่วนหนึ่งไม่ได้พาลูกไปให้แพทย์ประเมินอาการ เพราะกลัวว่าจะโดนตีตราว่าเป็นผู้พิการ ซึ่งแท้จริงแล้วการจดแจ้งจะเกิดประโยชน์ เช่น การใช้สิทธิ์ด้านการศึกษาและสาธารณสุขอีกมาก

 “ จำนวนบุคคลออทิสติกในไทยแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง  สาเหตุเกิดจากสภาพแวดล้อม สุขภาวะของแม่ขณะตั้งครรภ์ สวนทางกลับกลุ่มผู้พิการทางสายตาและหูหนวกที่จำนวนลดลง เพราะมีการป้องกันอย่างเป็นระบบ แต่ออทิสติกเป็นความบกพร่องที่มองไม่เห็นยากต่อการป้องกัน “ 

จำนวนออทิสติกที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่ลดลง  อย่างไรก็ตาม ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย กล่าวว่า เด็กออทิสติกอาจจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ถูกสังคมมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ สร้างความตระหนักของสังคมมาโดยตลอด  กระตุ้นให้พ่อแม่ค้นหาความเป็นเฉพาะของบุคคบออทิสติก ซึ่งจะมีความอัจฉริยะซ่อนเร้นอยู่ อย่างน้องๆ กลุ่ม ARTSTORY  หรือแม้แต่ อเล็ก ชนกรณ์ หนุ่มน้อยศิลปินออทิสติส ก็เกิดจากการค้นพบในสิ่งที่เด็กชอบ สนับสนุนให้ทำ พ่อแแม่สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีหนุนเสริม เด็กออทิสติกจุดเด่นมีความจำที่ดี มีจินตนาการ เราต่อยอดจากการฟื้นฟู มาเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพ สู่วิสาหกิจเพื่อสังคม   หากพบเร็ว จะทำให้เด็กไปสู่เป้าหมายชีวิตที่เร็วขึ้น  อยากให้เปลี่ยนมุมมองออทิสติกไทย มีศักยภาพไร้ขีดจำกัด  

“ มีคำถามออทิสติกทำอะไรได้บ้าง  ตอบได้ว่า ทำทุกอย่างที่คนบนโลกนี้ทำได้  เป็นครู ทนายความ นักวิชาการ ศิลปิน นักเขียน บางคนเปิดเวปเขียน Blog ก็มี แต่ต้องสนับสนุนตั้งแต่ต้นทาง พ่อแม่ ครู สร้างระบบที่ดี มีเวทีเตรียมความพร้อมและการปรับตัวในการทำงาน  มี Job Coach สนับสนุนออทิสติกที่บกพร่องทางการเรียนรู้  มี High Skill  แม้กระทั่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ออทิสติกก็ทำได้  ทุกปีมูลนิธิฯ ส่งออทิสติกเข้าสู่การมีงานทำกว่า 600 คน  พลิกชีวิตจากหน้ามือเป็นหลังมือ พวกเขาดูแลครอบครัว  พ่แแม่จากที่เคยมองลูกเป็นภาระกลัยเป็นพลังของครอบครัว สร้างสุข  พวกเขาไม่ได้เหนือกว่าใคร แค่สังคมยอมรับความแตกต่างและหลากหลายได้ “  ชูศักดิ์ กล่าว 

ด้าน วรัท จันทยานนท์ ผู้จัดการโครงการ ARTSTORY BY AUTISTIC THAI  กล่าวว่า เราต่อยอดจากคลาสศิลปะบำบัดของมูลนิธิออทิสติกไทย ซึ่งใช้ศาสตร์ของศิลปะเข้ามาพัฒนา ค้นหาศักยภาพและสร้างอาชีพให้กับเด็กออทิสติก เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตที่จำเป็นในสังคม และสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ตามความตั้งใจของมูลนิธิฯ ที่จะเดินหน้าสร้างความยั่งยืนให้กับบุคคลออทิสติก และเห็นว่า ผลงานศิลปะของเด็กๆ สามารถนำมาต่อยอดเป็นลวดลายบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แก้วน้ำ เสื้อผ้า หรือกระเป๋า ผลงานได้รับการตอบรับที่ดี ทำให้เด็กๆ มีรายได้จากฝีมือของตัวเอง สำหรับกิจกรรม ARTSTORY EVENT AND “ALEX & THE GANG” SHOW CASE ครั้งนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญของเปิดพื้นที่แห่งโอกาสให้สังคมได้รับรู้ถึงความสามารถของเด็กพิเศษที่ไม่แพ้กับศิลปินมืออาชีพ และให้คุณค่ากับทุกคนอย่างเท่าเทียม ขอบคุณธนาคารออมสิน  รพ. BNHH  อินโดบิก   แรบบิท แคช ดั๊กแฮมส์ เอนเนอยี่  สยามพารากอน และ SCBX Next Tech ที่ให้การสนับสนุน รวมถึงนายแบบ นางแบบกิตติมศักดิ์ที่เชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ร่วมโชว์สินค้าครั้งนี้

ศ.นพ.รณชัย คงสกนต์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล BMHH – Bangkok Mental Health Hospital กล่าวว่า โรคออทิสติก (Autism spectrum disorder: ASD) คือ กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสมองที่ล่าช้า 3 ด้าน คือ ด้านการเข้าสังคม การพูดหรือด้านภาษา และพฤติกรรมมีการสนใจซ้ำ สำคัญที่สุดอย่างแรก คือ ผู้ปกครอง คุณครูหรือผู้ดูแลต้องเปิดรับ เปิดใจ และยอมรับในตัวเขา ลองสังเกตสิ่งที่เขาชอบทำ สิ่งที่เขาถนัดจริง ๆ แล้วค่อยมองหาวิธีพัฒนาทักษะของเขาเพื่อต่อยอด  เช่น ความชอบด้านศิลปะ จุดเด่นของศิลปะแต่ละด้านจะช่วยเสริมพัฒนาการของกลุ่มเด็กพิเศษแตกต่างกันไป  และช่วยทำให้สมองเรียนรู้การเชื่อมโยงเรื่องราว  พร้อมส่งเสริมสมาธิให้ดีขึ้น   BMHH  หนุนกิจกรรมนี้ด้วยผลงานศิลปะสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริง สร้างความยั่งยืนให้เด็กพิเศษสามารถมีรายได้ มีอาชีพผ่านการทำงานศิลปะ สะท้อนให้สังคมเห็นคุณค่าของเด็กพิเศษ  ที่สิ่งสำคัญสร้างความภาคภูมิใจให้กับตัวเด็กเอง 

“ วิธีการรักษาโรคออทิสติกให้มีประสิทธิภาพ คือ การรักษาแบบองค์รวม ผสมผสานร่วมกันกับการบำบัดตามอาการเด่น และยังพิจารณาถึงประเภทของออทิสติกและระดับความรุนแรงในการต้องการความช่วยเหลือสนับสนุน โดยแพทย์จะให้แนวทางการบำบัดโรคออทิสติกทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนกับผู้ปกครอง เน้นการกระตุ้นพัฒนาการ การเพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและการปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ร่วมกันกับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการ การเรียนรู้และการสื่อสาร รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้และลดการพึ่งพา “ ศ.นพ.รณชัย กล่าว

ภายในงาน แม่กบ – โสภี  ฉวีวรรณ แม่ที่มีความน่ารัก อบอุ่นของอเล็ก ชนกรณ์ ครีเอเตอร์ออทิสติกด้านดิจิทัลอาร์ท แชร์ประสบการณ์เลี้ยงลูกออทิสติกว่า  เมื่อลูกอายุประมาณ 5 ขวบ  ลูกพูดผิดปกติ การเรียงลำดับคำไม่เหมือนคนอื่น จนตนเองมีลูกอีกหนึ่งคน ชื่อ น้องเอิน ห่างจากพี่ 4 ปี แต่มีพํมนาการและการพูดที่ปกติ  จึงพาอเล็กตอนนั้นอายุ 7 ขวบ ไปพบแพทย์ คุณหมอบอกว่าเป็นออทิสติก  สามารถทำบัตรพิการได้ กลับไปร้องไห้กับสามีที่บ้าน 4-5 ชั่วโมง แล้วหยุดเศร้า บอกกับสามีว่า เราต้องทำทุกอย่างให้ลูกก้าวผ่านอุปสรรคนี้ พลังครอบครัวเป็นส่วนสำคัญ  ช่วยพัฒนาอเล็ก  

แม่กบ เล่าด้วยว่า อเล็กไม่ได้รู้ตัวว่าชอบงานศิลปะ แต่เขาชอบเล่านิทานและด้วยจินตนาการในหัว  ทำให้เล่าเรื่องที่ไม่สามารารถคาดเดาได้ จนน้องเอินติดใจการเล่านิทานของพี่ สองพี่น้องแอบไปเขียนนิยายบนเว็บไซต์จอยลดา มีรายได้จากนิยาย แม่รู้เมื่อลูกมาขอให้พาไปเปิดบัญชีธนาคาร นิยายที่เขียนต้องมีภาพเปิด อเล็กวาดภาพเองจากจินตนาการ หัดวาด ช่วงโควิดพวกเราทำงานที่บ้าน ก็ได้ใช้ดิจิทัลอาร์ทพัฒนาลูก  จนมาถึงวันนี้

“ เด็กออทิสติกมีสิ่งสำคัญคือความตั้งใจ แน่วแน่ จดจ่อ  และมีจินตนาการมากมาย ในผลงานจะมีตัวอักษร ซึ่งเป็นตัวอักษรในโลกของอเล็ก ตั้งแต่ A-Z เป็นตัวอักษรที่สวยงาม และพูดคุยอย่างมีความสุข ดีใจมากที่อเล็กได้แสดงผลงาน ได้ทำในสิ่งที่เขามีความสุข ไม่เบียดเบียนคนอื่น ศิลปินเด็กออทิสติกแต่ละคนมีลายเส้นไม่เหมือนกัน  ครอบครัวต้องเข้าใจลูกออทิสติก อย่าอายและพาลูกๆ ออกมา บางครอบครัวคิดว่า มันคือ เวรกรรม มันไม่ใช่เวรกรรม มันคือของขวัญชิ้นพิเศษที่ต้องดูแลมากขึ้น  เขามีความเท่าเทียมกับทุกคน “ แม่กบ-โสภี ฝากถึงบ้านที่มีลูกออทิสติก

ขณะที่ อเล็ก – ชนกรณ์  พุกะทรัพย์  ศิลปินออทิสติก เปิดใจว่า  ดีใจและภูมิใจมาก  ตอนนี้ผมมีความสุขกับการวาดภาพและออกแบบงานต่าง ๆ ได้ค้นพบสิ่งที่ชอบและมีโอกาสลงมือทำ แม้ผมจะเป็นออทิสติก แอลดี แต่ผมทำมันได้ ฝากถึงเพื่อนที่เป็นเหมือนกับผมว่า การจะมีความสุขได้ต้องใช้เวลาในการค้นหาตัวเอง ค้นให้พบว่าความสุขของเราคืออะไร และลงมือทำ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องอายเลยครับ You can do it I can do it  อย่ายอมแพ้

ศิลปินออทิสติกกลุ่ม ARTSTORY  เป็นอีกบทพิสูจน์เด็กพิเศษมีเส้นทางสู่อาชีพด้วยงานศิลป์ สร้างชีวิตที่มีคุณค่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครั้งแรกในไทย 'SUMMER SONIC BANGKOK' ศิลปินไทย-อินเตอร์ปังทั้ง 2 วัน!

ระเบิดความสนุกกันแบบจัดเต็มทั้ง 2 วันแบบเต็มอิ่มไปเรียบร้อยแล้ว! สำหรับ “SUMMER SONIC BANGKOK” เฟสติวัลระดับโลก ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศไทยครั้งแรก

'วิน เมธวิน' ตอกย้ำความปัง! ขยายสาขาร้านขนม 'SOURI'

นาทีนี้เปิดโซเชียลคนดังก็ต้องเจอการรีวิวขนมของพระเอกหนุ่มสุดฮ็อต สำหรับ "SOURI" (ซูรี) ร้านขนมสไตล์ Contemporary Patisserie ที่มีมาการองขึ้นชื่อที่ใครๆ ก็ต้องได้ลิ้มลอง ของนักแสดงหนุ่มชื่อดัง "วิน-เมธวิน โอภาสเอี่ยมขจร" และพี่สาวผู้ก่อตั้งแบรนด์ ตั้งใจมอบความสุขและรอยยิ้มให้กับทุกคนผ่านขนม สมกับความหมายของ SOURI ที่แปลว่า "รอยยิ้ม" ในภาษาฝรั่งเศส

วธ.จัดงาน'แพรพัสตรา บรมราชินีนาถ' เฉลิมพระเกียรติ พระพันปีหลวงฯ

1 ส.ค. 2567 ที่หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จัดแถลงข่าวงานแพรพัสตรา บรมราชินีนาถ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2567