กรมศิลป์พบแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินใหม่ ถ้ำเขาค้อม จ.สตูล

23 พ.ค.2567- นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากมีการสำรวจพบชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ภายในถ้ำเขาค้อม หมู่ที่ 10 ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล จึงมอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ลงพื้นที่ตรวจสอบ ซึ่งได้รับรายงานว่าเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 11 สงขลา ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 พบว่า ถ้ำเขาค้อมตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาหินปูนลูกโดดซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมอ่างเก็บน้ำด้านหลังของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล จากการสำรวจทางโบราณคดี พบหลักฐานที่สำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนโครงกระดูกมนุษย์ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ เปลือกหอยน้ำจืดและเปลือกหอยทะเล เป็นต้น


ผลจากการศึกษาวิเคราะห์โบราณวัตถุในเบื้องต้นกำหนดให้เขาค้อมเป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินใหม่ กำหนดอายุราว 3,000 – 6,000 ปีมาแล้ว อ้างอิงผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีเพิงผาปาโต๊ะโร๊ะ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เมื่อปี พ.ศ.2553 ซึ่งพบโครงกระดูกยุคก่อนประวัติศาสตร์ กำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ราว 3,000 ปีมาแล้ว ผลจากการดำเนินงานทางด้านโบราณคดีที่ผ่านมาพบแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นพื้นที่จังหวัดสตูลเป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทย โดยสำรวจพบแหล่งโบราณคดีอย่างน้อย 46 แหล่ง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพื่อประกาศรายชื่อให้ครอบคลุมทั้งหมด

ถ้ำเขาค้อม


อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า กรมศิลปากรขอขอบคุณหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร่วมกันปกป้องคุ้มครองและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้และท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นการค้นพบที่สำคัญซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีของกรมศิลปากรและการพัฒนางานวิชาการต่อไปในอนาคต

ชิ้นส่วนกระดูก
ชิ้นส่วนกระดูกฟันกราม
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา
เปลือกหอย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปักหมุดเที่ยวงาน'มรดกสยาม 3 สมัย'

14 มิ.ย.2567 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางยุพา  ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดงาน Happy Journey with BEM “มรดกสยาม ๓ สมัย” โดยมีนายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดี

ศิลปากร รุดตรวจสอบโครงกระดูกมนุษย์โบราณพันปี พร้อมภาชนะดินเผา ขุดพบกลางเมืองโคราช

นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ และซากภาชะดินเผา ที่ถูกขุดค้นพบขณะที่ทางเจ้าหน้าที่

'โกลเด้นบอย' โชว์คู่ประติมากรรมสำริด'สุริยวรมันที่ 1'

การกลับสู่มาตุภูมิของประติมากรรมสำริด 2 รายการ ประกอบด้วยประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะ หรือที่รู้จักกันในนาม ‘โกลเด้นบอย’ และประติมากรรมรูปสตรีนั่งชันเข่าพนมมือจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน สหรัฐอเมริกา  โดยประติมากรรมชั้นเยี่ยมทั้งสองรายการประชาชนสามารถเข้าชมได้ที่ห้องลพบุรี

สง่างาม'โกลเด้นบอย' ประติมากรรมชิ้นเอก

เปิดให้เข้าชมแล้ว หลังประติมากรรมสำริดรูปพระศิวะ ”โกลเด้นบอย“ และสตรีพนมมือ เดินทางกลับสู่ประเทศไทยเช้าวันที่ 20 พ.ค.2567 ที่ผ่านมา หลังจากนั้นมีพิธีรับมอบโบราณวัตถุล้ำค่าในช่วงบ่ายวันที่ 21 พ.ค. ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยนางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธาน  พร้อมด้วยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัด วธ. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกร

'โกลเด้นบอย'ถึงไทยแล้ว เปิดให้ชมประติมากรรมล้ำค่าพรุ่งนี้

20 พ.ค.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า กรณีพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน หรือ เดอะ เมท (The Metropolitan Museum of Art หรือ The MET) นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา ว่า จะส่งโบราณวัตถุ 2 ชิ้น

บทสนทนาทรงพลัง'อินสนธิ์ วงค์สาม-ทวี รัชนีกร'

2 ศิลปินระดับชาติวัย 90 ปี สร้างผลงานชั้นเยี่ยมอย่างสม่ำเสมอมาตลอดชีวิต ปัจจุบันยังทำงานศิลปะอย่างจริงจัง แต่ละผลงานสะท้อนถึงวิธีคิด​ที่ชัดเจนและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจผ่านการสร้างงานศิลป์รูปแบบใหม่ๆ ​ด้วยการค้นหาสิ่งใหม่ ดัดแปลงสิ่งเก่า​ ค้นหาแก่นแท้ในผลงานของตัวเอง​