'นิกร' จ่อถก กมธ.กฎหมายลูก ปมไพรมารีโหวต ชี้เจตนารมณ์ รธน.ไม่มีแต่แรก

10 มี.ค.2565 - ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่…)พ.ศ…. ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าประชุมกมธ. กรณีการทำไพรมารีโหวต ว่า พรรคการเมืองไม่น่ามีปัญหา แต่ฝ่ายส.ว. เห็นแย้ง เพราะขัดกับหลักการ โดยในร่างหลักคือร่างของพรรคร่วมรัฐบาลจะไม่มีการทำไพรมารี แต่จะมีการฟังความเห็นจากตัวแทนสาขาและตัวแทนประจำจังหวัด ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45

นายนิกร กล่าวว่า ส่วนเรื่องตัวแทนประจำจังหวัด ซึ่งเป็นกฎหมายที่มาจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งระหว่างที่ยกร่างอยู่นั้น ไม่มีส.ส.หรือพรรคการเมืองเข้าไปให้ความเห็นจึงมีปัญหา การเลือกตั้งที่ผ่านมา คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ก็ต้องปัดทิ้ง เพราะทำไม่ได้ในเรื่องตัวแทนประจำเขต ร่างของพรรคร่วมรัฐบาลจึงกำหนดให้ใช้ตัวแทนประจำจังหวัดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายลูกที่นายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐ เสนอ เน้นเรื่องคุณสมบัติของการเป็นสมาชิกพรรค ซึ่งตนเห็นด้วย เพราะการเป็นสมาชิกไม่ควรจะต้องมีข้อจำกัดจำนวนมากเหมือนคุณสมบัติการเป็นส.ส. โดยวิธีการพิจารณาจะยึดร่างของพรรคร่วมรัฐบาลเป็นหลักและพิจารณาไปทีละมาตรา ร่างนี้มีจำนวนมาตรามาก ซึ่งความเห็นจะแบ่งออกเป็นฝ่ายส.ว.และส.ส. ซึ่งจะต้องพูดคุยกัน

เมื่อถามว่า หากปรับขั้นตอนไพรมารีโหวตจะถือว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ เพราะตอนยกร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่มีการเสนอมาในวาระแรก นายนิกร กล่าวว่า ตนเตรียมจะเสนอหักล้างอยู่ เพราะสมัยนายมีชัย ฤชุพันธ์ อดีตประธานกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เสนอร่างเข้ามาไม่มีไพรมารี ฉะนั้น หากจะบอกว่าเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญให้มีไพรมารีก็พูดไม่ได้ แต่เป็นการเพิ่มเข้าไปภายหลัง เรื่องนี้ตนเตรียมข้อมูลไว้แล้วว่าจะเอาร่างของกรธ.มาเป็นข้อโต้แย้ง

ถามต่อว่าเมื่อวันที่ 9 มี.ค. ที่ผ่านมา นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ในฐานะประธานกมธ. วางกรอบจะทำกฎหมายลูกให้เสร็จภายในเดือนเม.ย. ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะเสนอให้รัฐสภาเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาในวาระ 2-3 หรือไม่ นายนิกร กล่าวว่า เมื่อวานนี้ตนเป็นคนเสนอให้มีการปรับการพิจารณาจากที่เริ่มประชุมเวลา 10.30 น. เป็นเวลา 09.30 น. เพื่อเร่งเวลา ทั้งนี้ เราไม่ได้เคาะว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ แต่สิ้นเดือนมี.ค. เราจะมาคุยกันอีกครั้งว่าตกลงจะให้เสร็จเมื่อใด หากเราต้องการจะเร่งก็เพิ่มวันประชุมเป็น 4 วันต่อสัปดาห์ก็สามารถทำได้ โดยหลักการขณะนี้คือทำให้เสร็จ เมื่อเปิดประชุมสภาสมัยหน้าก็นำเข้าสภาโดยไม่ต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญ แต่หากต้องมีเหตุจะต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญจะต้องคุยกับประธานรัฐสภา เราเปิดเองไม่ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธรรมรักษ์' เข้าพปชร. ช่วยโซ่ข้อกลาง ก้าวข้ามความขัดแย้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.30 น. พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูล ณ อยุธยา อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สมัยรัฐ

4 พรรคเขาจะรวมกันตั้งรัฐบาลโดยไม่มีรวมไทยสร้างชาติ?

แปลว่าเขาจะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภาผู้แทนกระนั้นหรือ สว. อาจจะช่วยทำให้เป็นรัฐบาลได้ แต่จะไม่ช่วยหลายๆเรื่องที่เป็นกิจการของ สส. นะคะ

'ชัยวุฒิ' ตอบชัดวงกินข้าว ส่งสัญญาณพรรครัฐบาลอยากจับมือร่วมงานกันต่อ

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะรองหัวหน้าพรรค พปชร. ให้สัมภาษณ์ถึงการรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างพรรค พปชร. กับพรรคภูมิใจไทย (ภท.) เมื่อวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา ว่า เป็นเรื่องปกติ

'อัยการธนกฤต' เปิดไทม์ไลน์เลือกตั้ง คาดได้รัฐบาลใหม่กลางเดือนสิงหาคม 66

ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ความเห็นทางกฎหมายผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวถึงขั้นตอนภายหลังมีการประกาศยุบสภา ความว่า พ.ร.ป. ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

"ภูมิใจไทย" เสนอนโยบาย “ภาษีบ้านเกิดเมืองนอน” โดยทุกคนเลือกได้ 30 % ของภาษีที่เสียในแต่ละปี จะนำไปสู่ท้องถิ่นใด

นายทรงศักดิ์ ทองศรี รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการกระจายอำนาจ หน้าที่ และงบประมาณ ไปสู่ท้องถิ่น โดยระบุว่า ท้องถิ่นมั่งคั่ง ประเทศมั่นคง เป็นสัจจะธรรม

'เสธ.อ้าย' มาแล้ว สมัครสมาชิก ปชป. เชื่อมั่น 'จุรินทร์' ตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติ

พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ หรือเสธ.อ้ายเข้าพบนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค จากนั้นได้เข้าพบนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค และนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค